ต้องไม่ลืมว่าขอนแก่นเองก็มีโครงการมากมาย และการเชื่อมร้อยทำความเข้าใจร่วมกันก็เป็นสิ่งสำคัญ Learning City เข้ามาเติมเต็มกลไกตรงนี้

Start
327 views
11 mins read

จริง ๆ การทำงานขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ขอนแก่น เข้ามาเติมเต็มให้กับขอนแก่นโมเดลในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นให้กับผู้คน คือต้องเรียนตามตรงว่า ตัวขอนแก่นโมเดลที่ผ่านมาขับเคลื่อนในลักษณะองค์กร ภาคเอกชน วิชาการ ภาครัฐต่าง ๆ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามก็อาจจะงง ๆ อยู่ว่ามันคืออะไร แต่พอมีโครงการ Learning City ขึ้นมา โครงการทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม และเติมเรื่องการมีส่วนร่วมการรับรู้ของคนเพิ่มเข้าไป ผนวกกับ Learning City มีเป้าหมายอีกด้านหนึ่งคือเรื่องของการช่วยเหลือปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่ด้วย การเข้าถึงการเรียนรู้ของคนซึ่งหมายรวมไปถึงคนพิการ คนด้อยโอกาส คนจน และในงาน Learning City Phase 2 เราจึง Focus ในเรื่อง Public space ซึ่งตัวมันเองช่วยลด Boundary ของรวยคนจนอยู่แล้ว เราจะทำยังไงให้ไปสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้มากขึ้น

ย้อนกลับไปงาน Phase แรกผมไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากเท่าไหร่ แต่ก็พอทราบว่ามีการดำเนินการเรื่องใดบ้าง เรื่องแรกที่ดำเนินการคือการสร้างการรับรู้กับองค์กรในเรื่องแนวทางของ UNESCO มีการทำ MOU ระหว่างหน่วยงาน มีการจัดเวทีเพื่อเสวนาทั้งหารือกรอบแนวคิด Learning City และสรุปการทำงานการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองของคนขอนแก่นให้ออกมาเป็นเรื่องราวที่ส่งต่อเรียนรู้ได้ โดยกลุ่มเป้าหมายก็เป็นคนในเมืองขอนแก่นเอง โดยเฉพาะคนในพื้นที่เทศบาลโดยรอบ ต้องไม่ลืมว่าขอนแก่นเองก็มีโครงการมากมาย และการเชื่อมร้อยทำความเข้าใจร่วมกันก็เป็นสิ่งสำคัญ Learning City เข้ามาเติมเต็มกลไกตรงนี้ เพราะธรรมชาติของงาน Learning City สามารถที่จะไป join กับทุกโครงการได้หมด และมองว่าเมื่อ Goal ของทุกคนคืองานพัฒนาเมืองขอนแก่นเช่นเดียวกัน ขอยกตัวอย่างโครงการ Low-carbon City คณะทำงานที่ดูแลโครงการ และเชื่อมความร่วมมือกัน ก็ได้ประสานและร่วมมือกับ Learning City เพราะเห็นว่าการเรียนรู้คือหัวใจสำคัญ คนต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่อง Low-carbon เรื่องการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานสะอาด แม้กระทั่งเรื่องของ Wellness เรื่องสุขภาพ ก็ต้องยืนอยู่บนฐานการส่งเสริมให้คนเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเด็ก วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ

ในเฟส 2 ของ Learning City ขอนแก่นเราโฟกัสโครงการย่อยอยู่ 2 ตัว หนึ่งคือ KGO เป็นการสร้างเรื่องของนวัตกรรมเทคโนโลยี และอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของพิพิธภัณฑ์มีชีวิต หรือว่า Life museum ถ้าพูดถึงMuseum ก็จะนึกถึงอาคารที่มีของจัดแสดงอยู่ข้างใน แต่คำว่าLife museum คือใครก็ได้ที่มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ Learning City เรามองไปถึงปราชญ์ชาวบ้าน หมอยา หมอดิน ตอนนี้ที่เรากำลังทำเรื่องการนวดแผนโบราณเรียกว่าการนวดขิดแบบอีสาน ปราชญ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ถือว่าเป็นที่มาและโอกาสการสร้างรายได้ได้ด้วย ทั้งผ่านการให้บริการ และถ่ายทอดต่อให้กับคนที่อยากเรียนรู้ แล้วอีกส่วนที่Life museum กำลังจะทำคือเกี่ยวกับเรื่องการใช้พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่การเรียนรู้ ในขอนแก่นเราคนที่ชอบวิ่ง ชอบปั่นจักรยาน ชอบเต้นเอโรบิก ชอบพาสัตว์ไปสวนสาธารณะ เรากำลังพยายามเชื่อมต่อกับคนเหล่านี้เพื่อที่จะสร้าง Community กับกลุ่มคนอยากสอน โดยเข้าไปหนุนเสริมให้เกิดความต่อเนื่อง ทำให้เป็นการให้องค์ความรู้ที่เป็นระบบ และเป็น Community ที่ดูแลกันไปด้วย เพียงเท่านี้ก็จะเกิดกระบวนการใช้พื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ของเมืองที่มีหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น บึงแก่นนคร บึงทุ่งสร้าง และบึงสีฐาน จริง ๆ มีบึงหนองโคตร เป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับคนในเมืองที่มาใช้พื้นที่สาธารณะ ปลายทางเราหวังว่า Community แห่งการเรียนรู้นี้จะเป็นข้อมูลความคิดเห็นทางตรง ที่สามารถรวบรวมไปเป็นข้อเสนอแนะ ส่งให้กับผู้บริหารท้องถิ่นไปใช้จัดทำแบบนโยบายต่อไป”

ดร. ณรงค์เดช มหาศิริกุล
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและการตลาด วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นักวิจัยโครงการ Khon Kaen Learning City  

กองบรรณาธิการ

ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย