“การกระตุ้นให้ตลาดคนเยอะตลอดเป็นโจทย์ให้เราต้องแก้ไปเรื่อยๆ อย่างน้อยคนมาเดินไม่เยอะ ของกินต้องเยอะไว้ก่อน ต้องบริหารร้านค้าให้ฟู”

“คอนเซปต์ถนนคนเดิน เขาใหญ่ (Khaoyai Learning Market Walking Street) แตกต่างจากที่อื่นทั่วไป คือเราเป็นถนนคนเดินเกษตรอินทรีย์ เราคัดเลือกสินค้าให้ เป็น Walking Street & Green Market ไปด้วย เดี๋ยวนี้เหมือนเป็นกระแสถนนคนเดิน ปีที่แล้ว (2564-2565) มีเราที่เดียว พอปีนี้ (2565-2566) มีหลายที่ แต่โซนของเราเป็นโซนติดถนน ได้บรรยากาศ

ความตั้งใจทำถนนคนเดิน เขาใหญ่ คืออยากให้คนที่ทำพวกของกิน ของใช้ แฮนด์เมด หรือวิสาหกิจชุมชน เข้ามาขายกัน อยากให้คนในพื้นที่มีแหล่งขาย แล้วคนมาเขาใหญ่ ตอนค่ำๆ จะเข้าแต่ที่พัก อยากออกไปเที่ยวก็ไม่มีที่ เราจัดพื้นที่ตรงนี้ขึ้นมา มีนักดนตรีมาเล่น มีพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่มาขาย เช่น ร้านเครือข่าย EarthSafe ร้านวิสาหกิจชุมชนท่าช้างโป่งตาลอง สระน้ำใส ปูทะเลย์ เป็นวิสาหกิจชุมชนชาวบ้าน บางทีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือมีกรุ๊ปทัวร์มาที่รีสอร์ตและศูนย์เรียนรู้เขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์ม ก็ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้เขามาซื้อของ และก็บอกกลุ่มพี่ๆ คนขายว่าวันนี้เรามีกรุ๊ปนี้ๆ มา พี่เตรียมของมา แจ้งกันเพื่อส่งเสริมให้เขาขายได้

จุดเด่นของการเป็นกรีนมาร์เก็ต เราก็ทำประชาสัมพันธ์เต็มที่ ทั้ง Facebook, TikTok หรือส่งหนังสือเชิญชวนคนมาเที่ยว ฝากท่านนายอำเภอประสานงาน บางทีททท.ก็เข้ามาสนับสนุน การตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีให้ต่อเนื่อง ในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป ก็ต้องผลักดันให้คนรู้จักว่า Khaoyai Learning Market Walking Street เป็นยังไง เราพยายามสร้างสัมพันธภาพกับผู้ประกอบการ ปีหน้ามาเจอกันอีกนะคะ ส่วนกลุ่มที่ต้องมาเพิ่ม เราก็มีทีมไปเลือกร้าน ให้ลูกค้าที่มาเดินแล้วไม่หงอย เรามีดนตรี เล่นถึงสี่ห้าทุ่ม ลูกค้านั่งกินไป ฟังดนตรีไป ไม่มีเก็บค่าใช้จ่าย ร้านค้าก็จะทราบว่าวันศุกร์คนน้อยหน่อย วันเสาร์คนเยอะ วันอาทิตย์คนเริ่มกลับ เป็นวงจรแบบนี้ การกระตุ้นให้ตลาดคนเยอะตลอดเป็นโจทย์ให้เราต้องแก้ไปเรื่อยๆ อย่างน้อยคนมาเดินไม่เยอะ ของกินต้องเยอะไว้ก่อน ต้องบริหารร้านค้าให้ฟู

ถนนคนเดิน เขาใหญ่มีมา 2 ครั้ง เราถอดบทเรียนจากครั้งแรกว่า ไม่สามารถจัดได้ตลอดปี จัดแค่ช่วงปลายปีต่อต้นปี ร้านค้าร้านดังที่เราคาดหวังว่าจะมาประจำ กลายเป็นร้านเก่าแก่ที่พอใจจะขายระหว่างวันนี่แหละ หมดวันก็ปิดร้าน ไม่พร้อมเคลื่อนย้ายไปนอกพื้นที่ เพราะยังไงคนก็เข้ามาอยู่แล้ว แต่ความตั้งใจเราคืออยากให้คนในพื้นที่เอาของอร่อยในตำนานมาขาย ซึ่งยังไม่ไปถึงจุดนั้น ก็เป็นโจทย์ที่เราอยากให้มี เพื่อทุกอย่างจะกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกัน ถ้าร้านในพื้นที่ส่วนใหญ่เปิดใจ มาตั้งกันเยอะๆ จะทำให้มีมาเรื่อยๆ เพราะเดินทางไม่เยอะ ค่าใช้จ่ายไม่มาก มาพบปะกัน ส่วนร้านที่มีคนสนใจขายแต่อยู่นอกพื้นที่ ด้วยความที่มีอาทิตย์ละ 3 ครั้ง การเดินทางมาบ่อยๆ เขาจะประเมินคนมาแต่ละช่วงด้วย เช่นช่วงปีใหม่จองมาขาย แต่หลังปีใหม่เขาอาจจะคิดว่าคนจะเยอะมั้ย ก็จะมีผล มาบ้าง ไม่มาบ้าง แต่ถ้าใครสนใจจองร้านตลอดงาน เราให้สิทธิพิเศษ จองน้อยสุดคือสองสัปดาห์เพื่อให้ติดต่อเนื่อง อย่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทำไมมาทุกสัปดาห์ เพราะเขาอยู่ในพื้นที่ ต้องการที่ขายอยู่แล้ว

อีกปัจจัยคือ การจัดงานถนนคนเดินพร้อมกันในหลายๆ ที่ ในตลาดปากช่อง ก็จะมีต้นเดือน ของเรามีทุกศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ แต่คนเดินไม่เดินหลายตลาด ได้ของกินแล้วก็เข้าที่พัก แต่จุดแข็งของเราคือเราส่งต่อคนให้ร้านค้า เพราะเราอยากให้เขาจำหน่ายได้ เราใช้กลยุทธ์ให้เขาอยู่ได้ โครงการก็ซัพพอร์ตได้ คือร้านค้าที่มาถนนคนเดิน เขาใหญ่ ไม่ใช่แค่มีร้านค้าให้เต็ม ต้องดีด้วยนะ ไม่ใช่สินค้าสะเปะสะปะ แล้วต้องมีไม่ซ้ำกันเกินสองร้านเพื่อให้เขาขายได้ ถ้าเราเปิดกว้างร้านอาจจะเยอะกว่านี้ แต่เราต้องคัดกรอง เพราะหลักๆ ของเราคือ Green Market สนับสนุนคนในพื้นที่ สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจ สนับสนุนสิ่งแวดล้อม ร้านไหนใช้แก้วกระดาษ หลอดกระดาษ เรามีส่วนลดค่าบูทให้ด้วยนะ ช่วงปีใหม่ เก็บแค่ค่าไฟในวันสุดท้าย อยากให้เขาคืนทุน โดยปกติค่าบูทเราคิดถูกอยู่แล้ว ให้เขาอยู่ได้ ไม่ต้องมาจมทุนกับค่าเช่าที่ แล้วเราบริหารโครงการ หวังให้ตลาดติด คนซื้อคนขายก็จะมาเอง”

จิดาภา นาคบุรินทร์

ผู้ประสานงานโครงการ
บริษัท เขาใหญ่ พาโนราม่า วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

5 days ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

6 days ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

6 days ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

7 days ago

[THE CITIZENS] อัญมณี มาตยาบุญ<br />ครีเอทีฟ ไดเรกเตอร์ ลำพูน ซิตี้ แลป

“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…

1 week ago