การถอดวิชาล้านนาศึกษาหรือท้องถิ่นศึกษาออก ส่งผลกระทบให้การรับรู้ทางประวัติศาสตร์ของเด็กค่อยๆ เลือนหายไป

“ผมเรียนมัธยมที่นี่ พอเรียนจบมหาวิทยาลัย ด้วยความอยากเป็นครู ก็เลยกลับมาสมัครทำงานที่โรงเรียน จนทุกวันนี้เราเป็นครูสอนสังคมศึกษาโรงเรียนดาราวิทยาลัยมาได้ 10 ปีแล้ว

ตอนสอนใหม่ๆ หลักสูตรวิชาสังคมของโรงเรียนในเชียงใหม่ยังมีวิชาล้านนาศึกษา หรือท้องถิ่นศึกษาอยู่ จนราว 4-5 ปีที่แล้วที่รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายให้ถอดวิชานี้ออก และแทนที่ด้วยวิชาหน้าที่พลเมือง การเรียนการสอนให้เด็กๆ เข้าใจด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงค่อยๆ เลือนหายไป ผลลัพธ์เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีหลายครั้งที่ครูสั่งการบ้านเด็กๆ ให้กลับไปค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับของดีประจำชุมชนของนักเรียนมาส่ง ปรากฏว่าเด็กๆ พากันกลับไปเสิร์ชกูเกิ้ลชื่อคาเฟ่หรือร้านกาแฟแถวบ้านมาส่ง สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าความเป็นท้องถิ่นมันไม่เชื่อมโยงกับเด็กๆ พวกเขาไม่ได้มองว่าประวัติศาสตร์หรือภูมิปัญญาที่อยู่ในวิถีชุมชนเป็นของที่มีคุณค่าสำหรับพวกเขาต่อไปอีกแล้ว

จนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่อาจารย์แนน (อัมพิกา ชุมมัธยา) จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ช. ส่งจดหมายมาให้ครูคัดเลือกเด็กๆ ชั้นมัธยมต้นและปลาย ระดับละห้าคนมาร่วมกิจกรรมลงพื้นที่สำรวจชุมชนควรค่าม้า และชุมชนป่าห้า ครูก็ยินดีให้เด็กๆ เข้าร่วม เพราะแม้โรงเรียนเราจะมีทัศนศึกษานอกสถานที่อย่างไปวัดหรือพิพิธภัณฑ์สำคัญๆ ของเมือง แต่ด้วยข้อจำกัดหลายประการ จึงไม่เคยมีการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยการลงพื้นที่ชุมชนเลยสักครั้ง

การได้ลงชุมชนครั้งนั้นเปิดโลกกับเด็กๆ มาก เพราะถึงแม้หลายสิ่งที่ผู้ใหญ่อย่างเราคุ้นชินแล้ว เช่น ศาลผี ลำเหมือง หรือกระทั่งการใช้แผนที่กระดาษ แต่เด็กๆ กลับรู้สึกแปลกใจ และบางคนเพิ่งเห็นเป็นครั้งแรก อาจเพราะพวกเขาส่วนมากอยู่ในสังคมสมัยใหม่กันเกือบหมด จึงไม่รู้ว่าทำไมคนเฒ่าคนแก่ต้องตั้งศาลผี หรือไม่เข้าใจว่าทำไมต้องดูแผนที่กระดาษ ในเมื่อเรามี Google Map สิ่งนี้ทำให้ครูกลับมาย้อนคิดถึงทิศทางการสอนของตัวเองเหมือนกัน เพราะแม้จะเข้าใจว่ายุคสมัยเปลี่ยน และเด็กๆ หลายคนก็ไม่เห็นคุณค่าว่าทำไมพวกเขาต้องศึกษาเรื่องราวเก่าๆ ของชุมชนที่อาจไม่เกี่ยวอะไรกับความสนใจส่วนตัว หรือแนวทางการประกอบอาชีพในอนาคตของพวกเขา แต่ขณะเดียวกัน ครูก็มองว่ามันน่าเสียดายมากที่เราไม่ได้ทำให้พวกเขาเข้าถึงหรือเข้าใจในคุณค่าของสิ่งเหล่านี้

ครูจึงคิดว่าเป็นเรื่องดีที่ยังมีความพยายามในการเชื่อมร้อยองค์ความรู้เก่าๆ กับคนรุ่นใหม่โดยคนรุ่นกลางอย่างพวกเราอยู่ แต่ในฐานะคนทำงานในสถานศึกษาที่หลักสูตรไม่เอื้ออำนวยให้เกิดสิ่งนี้ นี่จึงเป็นโจทย์อันท้าทายในการสอดแทรกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชุมชนเข้ากับบทเรียนในแต่ละวันของเด็กๆ เพราะแน่นอน การจะพานักเรียนที่ห้องเรียนหนึ่งมีประมาณ 40-50 คน หรือมีชั้นเรียนละประมาณ 500 คน ลงไปศึกษาจากพ่อครูภูมิปัญญาในหมู่บ้านก็เป็นเรื่องที่จัดการได้ยากมาก

ครูจึงคิดว่าน่าจะดี ถ้าต่อไป เราอาจเปลี่ยนมุมของกิจกรรมให้พ่อครูแม่ครูมาเป็นอาจารย์พิเศษ หรือแขกรับเชิญสอนเด็กๆ ในห้องเรียนบ้าง รวมถึงการออกแบบสื่อทางเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้เด็กๆ ได้เข้าถึงข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และพอจะเห็นวิธีในการประยุกต์ชุดความรู้เหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะอย่างน้อยที่สุด ทักษะที่จำเป็นอย่างการรู้จักสังเกต ตั้งคำถาม วิเคราะห์หลักฐาน ไปจนถึงการบอกเล่าเรื่องราวซึ่งได้มาจากการใส่ใจเรียนรู้เรื่องใกล้บ้านใกล้ตัว ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อการทำงาน ไม่ว่าโตขึ้นไปพวกเขาเหล่านั้นจะประกอบอาชีพอะไร”

///
ประดิษฐ์ ญานะ
ครูสอนสังคม โรงเรียนดาราวิทยาลัย

#WeCitizensTh#LearningCity#ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

6 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago