การบูรณะสวนน้ำปิงจะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของตลาดต้นลำไยและตลาดวโรรสให้มีกลับมามีชีวิตชีวา

“กาดต้นลำไยและกาดวโรรส เริ่มต้นในเวลาไม่ห่างกันมากนัก แต่เดิมพื้นที่ของกาดวโรรสหรือ ‘กาดหลวง’ เคยเป็นสุสานเก่าของเจ้านายฝ่ายเหนือ จนปี 2452 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ย้ายสุสานไปไว้ที่วัดสวนดอก เพื่อพัฒนาที่ดินให้กลายเป็นตลาด ส่วนกาดต้นลำไย ความที่อยู่ติดริมน้ำ บริเวณนี้จึงเป็นที่เลี้ยงและอาบน้ำช้างของเจ้าเมืองเชียงใหม่ จนอุตสาหกรรมค้าไม้และการค้าทางเรือบนลำน้ำปิงเฟื่องฟู จากที่เลี้ยงช้างก็ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยห้องแถวเล็กๆ ที่ต่อมากลายมาเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งใหม่ของเมือง

แม้จะตั้งอยู่ใกล้กัน แต่ตลาดทั้งสองแห่งก็ต่างมีรูปแบบเฉพาะที่ต่างกันออกไป ทำให้ไม่เคยแย่งลูกค้ากัน กาดวโรรสจำหน่ายผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้า ของฝาก และสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนกาดต้นลำไยขายพืชผลทางการเกษตร วัตถุดิบประกอบอาหาร และที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือดอกไม้ เพราะอย่างที่ทราบกันว่าที่นี่เป็นตลาดดอกไม้สดที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ถ้ากรุงเทพฯ มีปากคลองตลาดอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เชียงใหม่ก็มีกาดต้นลำไยอยู่ริมแม่น้ำปิง

กล่าวได้ว่าแผงขายดอกไม้ในกาดต้นลำไยเป็นตัวกลางที่ทำให้ดอกไม้เบ่งบานอยู่นอกแปลงหรือนอกกระถางทั่วเมืองเชียงใหม่ แต่ละวันเกษตรกรเจ้าของสวนดอกไม้ทั่วภาคเหนือจะส่งดอกไม้มาที่นี่ เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้านำไปขายปลีกที่แผงในตลาด มะลิจะถูกร้อยเป็นมาลัยนำไปขายตามแผงเล็กๆ เพื่อรอให้คนมาซื้อไปบูชาพระตามวัดทั่วเมือง ส่วนดอกไม้จากแปลงบนดอยบางส่วนจะถูกส่งไปยังร้านรับจัดดอกไม้ หรือบรรจุกล่องส่งต่อไปยังกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ รวมถึงธุรกิจโรงแรมหรือเกสท์เฮ้าส์อีกหลายแห่งในเมืองก็รับดอกไม้จากที่นี่เพื่อไปตบแต่งสถานที่ เป็นต้น

นอกจากนี้ตรงข้ามกับแผงขายดอกไม้ บริเวณฟุตปาธริมแม่น้ำ ยังเป็นจุดจอดรถประจำทางไปยังจังหวัดลำพูน และอำเภอต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่อีกด้วย เรียกได้ว่าย่านตลาดแห่งนี้เป็นเหมือนประตูเข้าออกเมือง หรือจุดเชื่อมของการเดินทางและการขนส่งสินค้า แบบเดียวกับที่มันเคยเป็นในยุคการค้าทางเรือเมื่อศตวรรษก่อนยังไงยังงั้น

นั่นทำให้เมื่อผมทราบว่าจะมีการบูรณะสวนน้ำปิง สวนสาธารณะที่ตั้งอยู่เยื้องตลาดต้นลำไย ตรงข้ามกับศาลเจ้าปุงเถ่ากง ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง จึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างมาก เพราะมันจะสามารถรองรับทั้งคนที่มาเดินตลาด คนที่มาไหว้ศาลเจ้า และคนที่มารอขึ้นรถประจำทางไปพร้อมกัน ยิ่งเมื่อทราบว่าภายในสวนจะจัดให้มีลานกีฬาและกิจกรรม ก็ยิ่งตอบโจทย์คนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้อีกด้วย

ขณะเดียวกันผมมองว่าการบูรณะสวนแห่งนี้ไม่เพียงช่วยเสริมภาพลักษณ์ของย่านตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองแห่งนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวา แต่ถ้าเราทำสวนแห่งนี้สำเร็จ ที่นี่จะเป็นต้นแบบให้ย่านอื่นๆ ของเมือง ให้ผู้คนเห็นว่าการมีสวนสาธารณะที่ดีและใช้งานได้จริง จะทำให้ย่านนั้นๆ มีความน่าอยู่มากขึ้นมาด้วย

และที่สำคัญ ความที่เชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยว สวนแห่งนี้จึงมีความพร้อมจะเชื่อมโยงกิจกรรมทางน้ำอย่างการนั่งเรือหางแมงป่องแบบในอดีต ไปจนถึงพายเรือคายัคชมแม่น้ำ สร้างภาพของความหลากหลายในจุดที่ถือเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของเมือง ที่มีทั้งภาพของธุรกิจการค้า การคมนาคมขนส่ง ความเชื่อความศรัทธา ไปจนถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และนันทนาการ รวมถึงการมีอยู่ของตลาดดอกไม้สดแห่งเดียวในภาคเหนือ ที่นี่จะกลายเป็นย่านที่เปี่ยมเสน่ห์มากๆ ครับ”

///

อดิศร สุจริตรักษ์

ตัวแทนผู้ค้าขายในตลาดต้นลำไย

#WeCitizensTh  #LearningCity  #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago