การมีนักท่องเที่ยวหรือใครเข้าไปทำให้หลายอย่างดีขึ้น บางที่มีของกินของดีแล้วหายไปเนื่องจากช่วงโควิดที่ผ่านมา ถ้ามีนักท่องเที่ยวเข้าไป เขาก็จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาให้เห็น อันไหนที่ซบเซาไปก็จะเรียกคนกลับมา

“เดิมผมเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตธนบุรี เพิ่งย้ายมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองสาน เมื่อเดือนตุลาคม 2565 นี้เอง ผมก็เข้ามาเรียนรู้ว่าเขตคลองสานมีอะไรดี จะทำอะไรได้บ้าง ตอนผมอยู่ธนบุรี มีย่านกะดีจีน ซึ่งต่อเนื่องไปเป็นฝั่งคลองสาน สามารถทำเส้นทางท่องเที่ยวได้ยาวต่อเนื่องเลย เริ่มตั้งแต่บางกอกน้อย มาบางกอกใหญ่ ข้ามมาธนบุรีคือวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ย่านกะดีจีน วิ่งลอดใต้สะพานพุทธ ก็เข้าเขตคลองสาน ซึ่งมีสถานที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่ศาลเจ้ากวนอู สวนสมเด็จย่า (อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) วัดอนงคาราม วัดทองนพคุณ ซึ่งผมเพิ่งได้พบเจ้าอาวาส ท่านแจ้งว่ามีโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย

ผมมองดูว่า ถ้าทำเส้นทางจักรยานด้วย ไม่น่าอันตรายเท่าไหร่ เพราะเป็นการวิ่งลัดเลาะอยู่ข้างใน เราสามารถทำเส้นทางยาวๆ หรือสั้นๆ ได้เลยทันที ถามว่าคนอยากมามั้ย ตอนนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติปั่นจักรยานข้ามมาตั้งแต่สะพานพุทธฯ เขาวิ่งดูตามวัดประยุรฯ วัดกัลยาฯ ถ้าเราคุยกับทางไกด์เขา ให้เบนมาอีกฟากคือคลองสาน ก็น่าจะทำได้ แต่ตรงนี้เราก็ต้องมองว่าเรามีอะไรให้เขามาดู อยู่ที่เราจะเสนออะไร เราต้องคุยกับประชาชน ซึ่งเขายินดีให้ความร่วมมืออยู่แล้ว อย่างเจ้าหน้าที่อุทยานสมเด็จย่าก็ยินดีให้ความร่วมมือกับเราอยู่แล้ว เพราะการมีนักท่องเที่ยวหรือใครเข้าไปทำให้หลายอย่างดีขึ้น บางที่มีของกินของดีแล้วหายไปเนื่องจากช่วงโควิดที่ผ่านมา ถ้ามีนักท่องเที่ยวเข้าไป เขาก็จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาให้เห็น อันไหนที่ซบเซาไปก็จะเรียกคนกลับมา

ในพื้นที่ประมาณสองไร่ข้างโรงเกลือแหลมทอง ทางสำนักสิ่งแวดล้อมได้งบประมาณเข้าไปปรับปรุง ก็อาจจะมีกิจกรรมที่ต้องไปลงอีกพอสมควร รวมทั้งชุมชนที่อยู่รอบข้าง อุทยานสมเด็จย่า มัสยิดกูวติล เราต้องไปเชิญชวนเขามา อาจทำเป็นแผนว่า ตรงนั้นมีกี่ศาลเจ้า กี่มัสยิด น่าจะทำกิจกรรมได้เดือนละครั้ง ที่เขตเคยจัดถนนคนเดินตรอกดิลกจันทร์ครั้งหนึ่ง ถึงวันนั้นฝนตก แต่คนก็ให้ความร่วมมือ ทางเขตก็มองว่าเดี๋ยวอาจจะจัดอีก แล้วพยายามจัดให้ต่อเนื่อง แต่ความสำคัญคือ ผมอยากให้มันเกิดขึ้นจากชุมชน อย่างกิจกรรมตลาดพลูตอนผมอยู่เขตธนบุรี คนตลาดพลูเป็นคนเริ่ม เพราะเขาบอกว่าเขามีของดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะของกิน เราไม่ต้องไปทำอะไรเลย แค่ประสานงานให้พื้นที่สะอาดเรียบร้อย เขาจัดของเขาเอง ดูแลของเขาเอง แล้วก็ทราบว่าพอผมมานี่ ผอ.เดชาธร (ว่าที่ร้อยตรี เดชาธร แสงอำนาจ) ซึ่งเป็นผู้ช่วยผอ.เขตขึ้นมาเป็นผอ. สำนักงานเขตธนบุรี ทางชุมชนตรงนั้นก็ให้ความร่วมมือจัด นี่คือความต่อเนื่อง และดำเนินการโดยชุมชน ถ้าคลองสานจัดงานโดยชุมชน เขตหรือหน่วยงานราชการสนับสนุน จะมีความยั่งยืน รายได้อาจจะไม่ได้พุ่ง แต่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ค่อยๆ เป็นที่รู้จัก แล้วถ้านักท่องเที่ยวมา เราทำได้ดีจริง เขาก็ช่วยประชาสัมพันธ์ให้เรา”

ว่าที่ร้อยตรี สรวุฒิ วิเศษสงวน
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองสาน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago