“ดิฉันเห็นว่ากองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองพะเยา กับโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยพะเยา มีปลายทางเดียวกัน นั่นคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งในที่นี้หมายถึงประชาชนชาวพะเยาของเรานี่เอง
เพราะไม่ว่าเราจะออกแบบกิจกรรมด้วยการดึงต้นทุนของเมืองพะเยาด้วยวิธีการไหน การชวนกันทำบ้านดินริมกว๊านเอย เพ้นท์ผ้าจากใบไม้เอย ทำขนมเอย หรือส่งเสริมให้เกิดวิชาชีพใดๆ สุดท้ายผลลัพธ์ที่เรามองตรงกันคือการทำให้ชาวบ้านที่ด้อยโอกาสกลับมามีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง นักเรียนมีทักษะทางวิชาชีพใหม่ๆ ที่มากกว่าสิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียน และผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ช่วยสร้างคุณค่าและความภูมิใจให้เขาเอง
อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึ่ง การได้ร่วมงานกับทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดเทศบาลได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อันหลากหลายด้วย ทั้งจากกิจกรรมการเรียนรู้ที่โครงการส่งเสริมชาวบ้าน และการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันกับคณาจารย์และนักวิจัย โดยเฉพาะเรียนรู้กระบวนการสร้างเครือข่ายและดึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อเสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน ไปจนถึงการต่อยอดและขยายขอบเขตการทำงาน เช่นที่ในปีล่าสุดโครงการได้ร่วมกับ อบจ. ขยายพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ออกไปทั่วจังหวัด ขยายโอกาสการฝึกทักษะวิชาชีพใหม่ๆ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่อื่น
ปี 2565 นี้ถือเป็นปีที่สามที่เทศบาลร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยาขับเคลื่อนโครงการนี้ต่อ โดยเราได้วางคอนเซปต์ร่วมกันไว้ที่ ‘กินอิ่ม อบอุ่นใจ มีกำไร หนี้ลด’ และอย่างที่บอกว่า การเรียนรู้เป็นแค่กระบวนการเท่านั้น เพราะปลายทางที่เราวางไว้ คือจะทำอย่างไรให้คนพะเยามีความสุข อิ่มท้อง และค้าขายมีกำไร โดยเราก็อยู่ระหว่างการออกแบบกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมาย
ส่วนในฐานะกองสวัสดิการสังคมที่เรามีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เป็นพื้นที่แนวร่วมของโครงการอยู่แล้ว เราไม่เพียงใช้ศูนย์แห่งนี้ขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยความที่เราพบข้อจำกัดในการเดินทางของผู้สูงอายุในชุมชนต่างๆ เราจึงจัดศูนย์เรียนรู้ย่อยตามวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้บ้านของผู้สูงอายุ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดรับกับความต้องการของคนในพื้นที่ และนัดหมายให้ผู้สูงอายุเข้าไปร่วมเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นไปกับวิถีชีวิตและเกิดขึ้นได้ทุกที่อย่างไม่มีข้อจำกัด
ดร.สุรีพร โกมลธง
ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองพะเยา
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…