“โยมเห็นไหมว่าเจดีย์วัดชมพูนี่เหมือนพระธาตุดอยสุเทพเลย เจดีย์นี้สร้างสมัยเดียวกับบนดอยสุเทพนั่นแหละ หลังจากพระเจ้ากือนาสร้างพระธาตุดอยสุเทพ ท่านก็อยากให้พระมารดาได้สักการะด้วย แต่สมัยก่อนไม่มีถนน ขึ้นไปไหว้พระบนดอยนี่ลำบาก ท่านเลยโปรดให้สร้างเจดีย์รูปแบบเดียวกันตรงนี้แทน และตั้งชื่อว่าวัดใหม่พิมพา ตามชื่อพระมารดาพระนางพิมพาเทวี จนภายหลังมาเปลี่ยนเป็นชื่อวัดชมพู ตามครูบาชมพูที่เคยมาพำนักสมัยพระเจ้ากาวิละ เจดีย์วัดชมพูเลยเป็นคู่แฝดของพระธาตุดอยสุเทพมาจนทุกวันนี้ ญาติโยมคนไหนไม่สะดวกขึ้นดอยสุเทพ ก็มาสักการะที่นี่ได้
หลวงพ่อย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ตอน พ.ศ. 2509 ต่อจากครูบาแก้ว สุคันโธ สมัยนั้นครูบาแก้วท่านสมถะ อยู่กุฎิไม้ง่ายๆ ไม่สะดวกสบายเท่าไหร่ หลวงพ่อก็ค่อยๆ พัฒนาไป ซึ่งก็พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของชุมชนช้างม่อยละแวกนี้จากเรือนแถวไม้ไปเป็นตึกคอนกรีต
สมัยก่อนนั้นวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนอย่างแท้จริง ญาติโยมมาร่ำเรียน ทำบุญ สังสรรค์ หรือเจรจาแก้ปัญหาภายในชุมชน กระทั่งวัยรุ่นทะเลาะวิวาท ก็ยังมาทะเลาะกันในวัดอีก เพราะช่วงที่หลวงพ่อมาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ วัยรุ่นเชียงใหม่ตีกันทุกวัน บ้านนั้นตีบ้านนี้ จากแม่โจ้ขนคนเข้ามาตีคนที่พวกแต้มหรือช้างม่อยบ้าง บางคนถูกไล่ตีหนีเข้ามาในวัด ก็ยังโดนตามเข้ามาทำร้ายต่อถึงในนี้
ดีที่เจ้าคุณศรีธรรมนิเทศก์ และพระครูศรี ธรรมคุณ (กมล โชติมนโต) วัดสันป่าข่อย ท่านคิดแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยการก่อตั้งกลุ่มหนุ่มสาวจังหวัดเชียงใหม่ สลายความขัดแย้งระหว่างชุมชน ด้วยการให้แต่ละชุมชนส่งตัวแทนมาร่วมฟังเทศน์ และมีกิจกรรมรถด่วนขบวนพิเศษ ให้วัดในชุมชนต่างๆ หมุนเวียนกันจัดกัณฑ์เทศน์ตลอดช่วงเข้าพรรษา อาตมาก็ร่วมด้วย ถ้าจับฉลากได้เลขไหน อาตมาก็ต้องไปเทศน์ที่วัดตามหมายเลขนั้น นอกจากนี้ ยังมีการแข่งกันตอบปัญหาธรรมะ และประกวดขบวนผ้าป่า ถ้าจำไม่ผิดญาติโยมวัดชมพูทำพาเหรดผ้าป่าโดยเอารูปแบบมาจากเรื่องเบนเฮอร์ (Ben Hur) หนังดังในสมัยนั้น ผู้คนฮือฮาจนชนะได้ที่สอง ส่วนที่หนึ่งครั้งนั้นคือวัดสันป่าข่อย
จากการแก้ปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่น กลายเป็นว่าหลังจากนั้นกลายเป็นยุคทองของการจัดงานบุญแฝงด้วยงานรื่นเริงในวัด อย่างงานกวนข้าวมาธุปายาสหรือข้าวยาคู้ ที่เป็นพิธีกรรมอ้างอิงมาจากพุทธประวัติ ก็เป็นหนึ่งในงานของวัดเราที่คึกคักมากๆ โดยทุกคืนวัน 14 ค่ำเดือน 12 ก่อนวันยี่เป็งของทุกปี ชาวบ้านช้างม่อยจะรวมตัวกันกวนข้าว เพื่อให้หลวงพ่อสวดมนต์เป็นข้าวทิพย์ ก่อนแจกจ่ายกลับคืนสู่ชาวบ้านเป็นสิริมงคล ยุคนั้นคนหนุ่มสาวมาร่วมงานกันเสียเป็นส่วนใหญ่ สนุกสนาน เฮฮา ต่างจากหลายปีหลังมานี้ที่มีแต่คนเฒ่าซึ่งเป็นกลุ่มหนุ่มสาวในสมัยนั้น กวนกันจะไม่ค่อยไหวแล้ว (หัวเราะ)
นั่นจึงทำให้อาตมารู้สึกเหมือนได้เห็นภาพของวันเก่าๆ ที่ไม่คิดว่าจะได้เห็นอีกแล้ว เพราะเมื่อช่วงปีสองปีหลังมานี้ มีหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่มีกำลังวังชามาร่วมจัดงานกวนข้าวกับชาวชุมชนด้วย มีการจัดกาดหมั้ว ทำขนมเส้น ฉายหนังกลางแปลง ก่อนเริ่มกวนข้าว ทำให้วัดของพวกเรากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ก็อยากให้เป็นแบบนี้ต่อไป การกวนข้าวต้องอาศัยกำลังของคนรุ่นใหม่ ส่วนคนเฒ่าก็ช่วยสนับสนุน นำความรู้ นำประสบการณ์มาแบ่งปัน
การสืบต่อพุทธศาสนาก็เหมือนกัน อาตมาอยากให้คนรุ่นใหม่มาเข้าวัดฟังธรรมกันเยอะๆ หรือแค่แวะมานั่งคุยกันเฉยๆ ก็ได้ อยากหารือหรือปรึกษาอะไร อาตมาก็ยินดี ไม่ฟังธรรมก็ไม่เป็นไร”
///
พระครูพิพัฒน์สมาจาร (มานัส ธมฺมวุฑฺโฒ)
เจ้าอาวาสวัดชมพู
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…