“พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่มากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ รองจาก กรุงเทพฯ ภูเก็ต และนครสวรรค์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าความเจริญย่านใจกลางเมือง บริเวณหอนาฬิกาเรื่อยไปถึงหน้าศูนย์การค้าท็อปแลนด์ ส่วนหนึ่งก็มาจากการบุกเบิกของลูกหลานชาวจีนที่บรรพบุรุษของพวกเขาเข้ามาตั้งรกรากที่นี่
และเพราะมีลูกหลานชาวจีนอยู่มาก กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในพิษณุโลกจึงก่อตั้งโรงเรียนสิ่นหมิน บนถนนบรมไตรโลกนาถขึ้น โดยแต่เดิมใช้ชื่อว่าโรงเรียนแชมิน เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2465 ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 101 ปี จนทุกวันนี้ โรงเรียนก็ยังเปิดสอนภาษาไทยและจีนควบคู่การเรียนวิชาสามัญ โดยเน้นการบริการการศึกษาแก่ชุมชนเป็นหลัก โดยทำการสอนนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ก่อนที่ต่อมาจะมีการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลประชาราษฎร์ จัดการการศึกษาในระดับอนุบาล ภายใต้การดูแลของสมาคมนักเรียนเก่าสิ่นหมิน
ภายหลังเปิดโรงเรียนสิ่นหมิน ด้วยเห็นว่ายังมีลูกหลานชาวจีนอพยพมาตั้งรกรากในพิษณุโลกอย่างต่อเนื่อง จึงมีการจัดตั้งสมาคมจีนจังหวัดพิษณุโลกขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนชาวจีนในพิษณุโลก เมื่อราว 76 ปีก่อน โดยผู้บริหารโรงเรียนสิ่นหมินจะเป็นคณะกรรมการของสมาคมจีนแห่งนี้ด้วย
นอกจากการช่วยเหลือชาวไทยเชื้อสายจีน รวมถึงชาวจีนที่เข้ามาในจังหวัดพิษณุโลกทั้งด้านการท่องเที่ยวและการลงทุน สมาคมจีนยังสนับสนุนด้านการศึกษาด้วยการมอบทุนการศึกษาแก่ผู้ขาดโอกาส โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีเชื้อสายจีนหรือไม่
ที่สำคัญ เรายังทำงานด้านการบริการสังคมแก่เมืองพิษณุโลก ทั้งการเป็นผู้สนับสนุนจัดงานเทศกาลต่างๆ ของจังหวัด อาทิ เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง งานสมโภชพระพุทธชินราช และอื่นๆ รวมถึงเป็นคณะกรรมการดูแลศาลหลักเมืองพิษณุโลก และงานด้านพัฒนาชุมชนอื่นๆ ด้วยความที่ลูกหลานชาวจีนตระหนักดีว่าการที่ทุกคนมีวันนี้ได้ก็เพราะเมืองพิษณุโลก สมาคมจึงร่วมมีส่วนในการพัฒนาเมืองในภาพรวมด้วย
เช่นในปีที่ผ่านมาที่ทางคณะนักวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้ามาทำโครงการย่านเก่าเล่าเรื่องในพื้นที่ตลาดใต้ ซึ่งเป็นย่านชุมชนเก่าแก่ของคนไทยเชื้อสายจีน สมาคมจีนในฐานะที่เป็นคณะกรรมการดูแลศาลเจ้าพ่อปุ่นเถ่ากง-ม่า ก็เข้าไปร่วมโครงการ ทั้งในฐานะผู้อำนวยความสะดวกด้านสถานที่ และการนำเสนอข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ในพื้นที่
ในทางกลับกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นวันชาติจีน ทางสมาคมของเราก็ขอความอนุเคราะห์จากทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ นำวิดีโอนำเสนอศักยภาพของตลาดใต้ที่ทางโครงการจัดทำไปจัดฉายให้ท่านกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดเชียงใหม่ได้รับชม ในโอกาสที่ท่านมาร่วมงานวันชาติที่โรงแรมท็อปแลนด์ พิษณุโลก โดยในงานนั้นสมาคมจีนเป็นเจ้าภาพในนามสหสมาคมไทย-จีนพิษณุโลก ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสมาคมต่างๆ ของผู้ประกอบการเชื้อสายจีนในจังหวัด
และเพราะความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันมาเช่นนั้น แม้เราจะใช้ชื่อว่าสมาคมจีน แต่เชื้อชาติก็ไม่ใช่ข้อจำกัดหรืออุปสรรคใดๆ ในการทำงานที่ผ่านมา เพราะเอาเข้าจริงคนเชื้อสายจีนก็กลมกลืนเหนียวแน่นกับคนพิษณุโลกพื้นถิ่นมานับศตวรรษ และพวกเขาเหล่านี้ก็เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเมืองพิษณุโลกในปัจจุบัน
สำหรับโอ๋ คิดว่าข้อดีของวัฒนธรรมจีนก็คือ การส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นที่ไม่เฉพาะแค่ด้านการบริหารกิจการของตัวเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบทบาทในงานทางสังคมต่างๆ โดยคนรุ่นก่อนหน้าเขาจะขึ้นไปเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และเปิดทางให้ลูกหลานมาทำงานต่อ นั่นทำให้เครือข่ายสมาคมต่างๆ ที่ทำงานเพื่อสังคมเมือง มีคนรุ่นใหม่มาช่วยสานงานต่ออย่างไม่ขาดช่วง”
ณภัค อยู่เย็นธนภา
เจ้าหน้าที่ประสานงานสมาคมจีน จังหวัดพิษณุโลก
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…