“หนังสือ “สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ” บันทึกไว้ว่าพื้นที่บริเวณนี้มีชาวจีนมาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ก่อนการขุดคลองลัดบางกอก ทีนี้พอคนจีนมาอยู่ ก็มีศาสนสถาน มีภิกษุจีนมาพำนักอยู่ในกุฎีหรือกุฏิ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็บอกนี่แหละ ที่เรียกว่ากุฎีจีน ก็เป็นที่มาของคำว่า กุฎีจีน คือเป็นกุฎีที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่
ชาวจีนที่เข้ามาตอนนั้นผสมกัน ไม่ได้แยกว่าเป็นจีนใด แต่พอสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้พระยาวิไชเยนทร์สร้างป้อมวิไชยเยนทร์ เรือที่จะขึ้นไปค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาก็ผ่านป้อมวิไชยเยนทร์เพื่อให้มีการตรวจตรา ว่ามีสิ่งผิดกฎหมายอะไรมั้ย มีอาวุธที่จะขึ้นไปให้เราเสียเอกราชหรือเปล่า ทำให้มีคนหลายชาติ หลายภาษา รวมทั้งชาวจีนมาอยู่ตรงนี้เพิ่มมากขึ้น ต่อมาสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากโปรดให้ชาวจีนที่ช่วยกอบกู้เอกราชมาอยู่ตรงนี้ ชาวโปรตุเกสก็อยู่ตรงวัดซางตาครู้ส ทีนี้ชาวจีนที่มาอยู่ในช่วงนั้นเห็นตัวศาสนสถานชำรุดไปตั้งแต่อยุธยา มีบันทึกจากคุณหมอชาวเยอรมันและเป็นนักพฤกษศาสตร์ด้วย ว่ามีอาคารศาลเจ้าสองหลัง มีทางเดินอยู่ตรงกลาง พอสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมืองหลวงย้ายไปอยู่ฝั่งพระนคร ชาวจีนที่อยู่ตรงนี้ก็ติดตามไปอยู่สำเพ็ง เยาวราช ตลาดน้อย ศาลเจ้าตรงนี้ก็ชำรุดทรุดโทรม ทีนี้บรรพบุรุษผมทำมาค้าขาย มีตัวเรือนแพอยู่ข้างหน้าศาลเจ้าตรงนี้ กราบไหว้ทำนุบำรุงศาลเจ้ามาแต่เดิมอยู่แล้วล่ะ แต่เห็นชำรุดมาก ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยานฤบดินทร์สร้างวัดกัลยาณมิตร ทางนี้ก็เลยไปรวบรวมเงินญาติพี่น้องที่อยู่ที่เจียงจิว โชจิว มณฑลฮกเกี้ยน มารื้อศาลแล้วสร้างใหม่เป็นอาคารที่เห็นอยู่นี้ แต่กว่าจะเสร็จก็กินเวลานาน เพราะไม่ได้เป็นเงินมาทั้งก้อนทีเดียว บรรพบุรุษชาวฮกเกี้ยนเรารวบรวมเงินกันมา จากนั้นอัญเชิญองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือคนจีนเรียก พระโพธิสัตว์กวนอิม ชาวบ้านทั่วไปเรียก เจ้าแม่กวนอิม องค์ท่านเป็นไม้ แกะจากไม้หอม อยู่ในชุดพระจีน ปิดทองทั้งองค์ ในรูปลักษณ์ที่มีความสวยงาม เป็นองค์ดั้งเดิมเลย
ตัวงานแกะสลักที่โถงด้านหน้า และภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นฝีมือช่างจากประเทศจีน ซึ่งได้รับการยืนยันจากหลายอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของจีน รวมทั้งกรมศิลปากรเองที่บอกว่าไม่ใช่ช่างจีนในประเทศไทย ภาพจิตรกรรมวาดเป็นเรื่องสามก๊ก ตอนแรกคือคำสาบานในสวนท้อ แล้วก็ไล่ไปเป็นตอนๆ ในภาพก็จะบอกชื่อตอน ชื่อจิตรกรที่วาด ช่องไหนมีผู้ถวายทำบุญก็จะระบุชื่อไว้ด้วย แล้วจิตรกรรมนี้เป็นเอกลักษณ์ เพราะในกรุงเทพฯ มีที่เดียวที่วาดเป็นสีเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ แบบนี้ ส่วนงานไม้แกะบนโถงเพดานด้านบนตรงกลาง เป็นเรื่องสามก๊ก ตอนขงเบ้งนั่งตีขิมอยู่บนกำแพงเมืองที่เหล่าทัพสุมาอี้ ในส่วนบานประตู ทวารบาล ก็ได้รับการยืนยันจากอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ อาจารย์น. ณ ปากน้ำ ว่าเป็นศิลปินเอกวาดประชันกัน ไม่ใช่คนเดียววาดสองบาน แต่ที่นี่ประตูศาลเจ้าจะสูงใหญ่ ถ้าไปที่อื่น ประตูจะเตี้ยเล็กกว่า ฉะนั้นตรงนี้ทวารบาลค่อนข้างน่าเกรงขาม ทางเราเน้นการอนุรักษ์ ยังเป็นสีธรรมชาติ โบราณ ไม่เติมสีวิทยาศาสตร์ มันก็จะอยู่ลักษณะนี้ และศาลเจ้าได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2551 ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทางกรมศิลปากรก็เห็นความสำคัญว่ามีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ มีงานที่ควรอนุรักษ์ จึงขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทำให้ทุกคนได้เข้ามาดู กราบไหว้ ศึกษา มาเห็นความงดงาม เราไม่ได้หวังจะเก็บไว้ของเราคนเดียว ถ้าคนชอบแบบโบราณก็โอเค บางคนก็บอก ลื้อไม่ทำอะไรเลยเหรอ บางคนปรารถนาดี ร้านขายสีจะเอาสีมาทาใหม่ให้สีแดงๆ ซึ่งมันไม่ใช่ ถ้าทำมันจะเสียไป หรือดูว่าตรงไหนที่มันจะทองกว่านี้ เราก็อย่าดีกว่า ไม่อยากให้เป็นแบบโบสถ์ทองทั้งหลังแล้วกรมศิลป์ฯ ต้องไปนั่งลอกออก อีกอย่างคือเราไม่ได้เน้นพาณิชย์ ใครจะไหว้ยังไงก็ได้ ไหว้มือเปล่าก็ไหว้ แล้วแต่เลย ไม่ได้จะมาขายเวียนธูป ชุดใหญ่ชุดเล็กอะไร ที่นี่ก็มีแค่ธูป อะไรนิดหน่อย ศาลเจ้าก็จะเงียบๆ ประมาณนี้
คนในตระกูลดูแลศาลเจ้าสืบทอดกันมา เวลาคนมาเราก็เป็นคนบรรยาย เราตั้งใจ เรายินดี เพราะเป็นคนดูแล เห็นมาตั้งแต่แรก มีทายาทที่จะดูแลต่อ ถ้าหมดจากสายสิมะเสถียร ก็มีสายอื่นสืบทอด ถ้าไม่มีความผูกพัน บางครั้งการดูแลรักษาก็อาจจะด้อยกว่าการมีความผูกพันความรู้สึก และอาจจะโชคดีด้วยว่าการคมนาคมไม่สะดวก ทำให้ไม่มีใครอยากมาแย่งชิงมาก ถ้าถามในฐานะที่เราเกิดที่นี่และอยู่มาตั้งแต่แรก ในปัจจุบัน คนโบราณที่อยู่ต่อกันมาในชุมชนวัดกัลยาณ์มีน้อย ไม่เหมือนชุมชนกุฎีจีนที่ส่วนมากเป็นญาติอยู่กันมาแล้วสามรุ่นห้ารุ่น แต่ตรงนี้มาแล้วการเข้าออกไม่สะดวก เขาก็อาจจะไปอยู่ที่อื่น เอาบ้านให้คนเช่าหรือขายไป คนที่มาอยู่ใหม่ๆ อาจจะไม่ได้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ เพราะก็ไม่เคยเห็นว่าเดิมที่อยู่ๆ กันมาเป็นยังไง ก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เพราะเราก็ไม่รู้ว่าเขามาเขาจะเข้าใจความเป็นอยู่ตั้งแต่อดีตมาหรือเปล่า บางทีคนในชุมชนเองยังไม่รู้เลยว่ามีศาลเจ้าตรงนี้
โครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสานและต่อยอดโครงการขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสาน สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ทำให้คนภายนอกเข้ามา ย่านคึกคัก คนในชุมชนเองก็ได้รู้ว่ามีอะไร เช่นมีกิจกรรมในย่านที่โครงการฯ จัด ทางกุฎีจีนส่งระบำโปรตุเกสมาแสดง ทางจีนก็เล่นเครื่องดนตรีกู่เจิ้ง อย่างที่บอก คริสต์อาจจะไม่เคยมา คนแถวนี้อาจจะไม่กล้า บางคนกลัว ไม่มีโอกาส อยู่ดีๆ จะเดินมาก็เขิน ก็ได้งานแสดงนั้น หรือบางคนเขาเกิดมาเห็นแต่หลังคาศาลเจ้าข้างนอก ไม่ได้เคยเข้ามา วันหนึ่งโผล่มาหน้าประตู เพราะเห็นจากรายการโทรทัศน์ ช่องยูทูบ ก็เข้ามาดู เราเองก็เคยคิดว่าสมมติทำเป็นวิดีโอเล่าประวัติศาลเจ้า เป็นพื้นที่เรียนรู้ที่ใครมาสามารถเปิดดูหรือเปิดอยู่ตลอด หรืออาจจะต้องมีคิวอาร์โคดให้สแกนแต่การทำโคดก็มีระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำและการดูแลเหมือนกัน”
บุณยนิธย์ สิมะเสถียร
ผู้ดูแลศาลเจ้าเกียนอันเกง
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…