“บ้านผมอยู่อีกฝั่งของสถานีรถไฟ ในชุมชนดั้งเดิมก่อนจะมีการสร้างสถานีรถไฟเมื่อเกือบร้อยปีก่อน แต่เดิมหาดใหญ่จะใช้คลองเป็นเส้นแบ่งเมือง แต่พอมีรถไฟ ทางรถไฟก็กลายเป็นเส้นแบ่งความเจริญ
ในฐานะที่ผมเป็นคนหาดใหญ่และสถาปนิกผังเมือง ต้องบอกว่าหาดใหญ่เติบโตแบบไร้ทิศทางมานาน จริงอยู่ที่ผังเมืองในยุคหลังรถไฟนี่มีประสิทธิภาพมาก แต่พอเมืองเจริญขึ้นตามยุคสมัย มีผู้คนต่างถิ่นมาอาศัยอยู่ร่วมกันมากๆ รูปแบบเมืองเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้วจึงไม่ตอบโจทย์
ขณะเดียวกันนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็พยายามลงทุนกับที่ดินใหม่ที่อยู่ชานเมืองซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า จึงเกิดชุมชนเมืองใหม่กระจายตัวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อบวกรวมกับการที่รัฐไม่ได้มีแผนพัฒนามารองรับ เมืองจึงไม่ compact โดยในภาพรวม รัฐก็ต้องเสียค่าสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยายตัว และเมื่อย้อนกลับมาในพื้นที่หนาแน่นใจกลางเมือง เราไม่มีแม้แต่รถประจำทางสาธารณะที่เชื่อมชุมชนเมืองต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยสถานะแบบนี้จึงบีบให้คนหาดใหญ่ต้องใช้รถส่วนตัวเป็นหลัก จนนำมาซึ่งปัญหาการจราจร หาดใหญ่จึงเป็นเมืองที่ดูภายนอกมีความเจริญ แต่กลับขาดไร้โครงสร้างอันแข็งแรงรองรับไว้
ในอีกนัยหนึ่ง โครงการคลองเตยลิงก์จึงเป็นเหมือนการกลับมาทบทวนการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในใจกลางเมืองหาดใหญ่ใหม่ ผ่านการพัฒนาให้เป็นเมืองเดินได้ (Walkable City) ขนส่งสาธารณะ และสวนสาธารณะ รวมถึงการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของผู้คนและสถานที่ และการเผยแพร่ประวัติศาสตร์เมือง ผ่านโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เมืองสักเมืองมีความน่าอยู่อาศัย เป็นมิตรกับทั้งผู้คนท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
ที่ผมสนใจพิเศษคือการเปลี่ยนสถานะของคลองเตย ซึ่งเป็นลำคลองระยะทาง 11 กิโลเมตรตัดผ่านกลางเมืองหาดใหญ่ คลองสายนี้ถูกละเลยจากผู้คนมาตลอด เพราะหน้าที่ของมันคือการระบายน้ำเสีย คนหาดใหญ่หลายคนจึงจำมันในฐานะคลองน้ำเน่า ขณะที่คนในพื้นที่เองก็มองว่ามันเป็นคลองหลังบ้าน การเปลี่ยนจากคลองหลังบ้านที่ถูกละเลย ให้กลายเป็นคลองหน้าบ้านที่ผู้คนในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ในเชิงสันทนาการ และคนจากที่อื่นก็มาใช้ได้ในฐานะทางสัญจร สิ่งนี้มันจึงไม่ใช่แค่การให้กรมโยธาธิการและผังเมืองมาปรับปรุงภูมิทัศน์มัน แต่เราต้องใช้ความร่วมมือจากภาคประชาชนมาร่วมพลิกฟื้นมันด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
อันที่จริงโครงการคลองเตยลิงก์นี่ถูกคิดมาก่อน กทม. จะปรับปรุงคลองโอ่งอ่างอีกนะครับ แถมสภาพเดิมของคลองโอ่งอ่างก็ดูจะหนักหนากว่าคลองเตยของเราอีก คลองโอ่งอ่างเปลี่ยนแปลงได้ ผมก็คิดว่าคนหาดใหญ่ก็เปลี่ยนคลองเตยได้ จากสิ่งที่คนมองว่าเป็น waste เมื่อคลองกลับมามีชีวิต มันยังช่วยเสริมชีวิตชีวา และคุณภาพชีวิตให้คนในย่าน และจะกลายเป็นต้นแบบในการพลิกฟื้นเมืองหาดใหญ่ต่อไปในอนาคต”
สุภกร อักษรสว่าง
สถาปนิกและนักวิจัยโครงการคลองเตยลิงก์
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…