“ความทรงจำตรงนี้เป็นมรดกชิ้นสุดท้ายที่เตี่ยมอบ พี่ไม่อยากให้มันถูกลืม เลยเขียนเป็นหนังสือไว้”

“เตี่ยพี่แกเคยอยู่ซัวเถา มีวันหนึ่งก็มีเพื่อนบ้านมาบอกว่าจีนกำลังจะมีการปฏิวัติ ถ้าเป็นได้ ให้เดินทางไปเมืองไทยดีกว่า เดี๋ยวจะหนีออกมาไม่ได้ เตี่ยก็เลยนั่งเรือหนีออกมา แกเล่าให้พี่ฟังว่าระหว่างนั่งเรืออยู่ ดันไปเจอพวกทหารญี่ปุ่นบุกยึดเรือ และเอาพวกเตี่ยไปทิ้งที่เกาะไหหลำ เตี่ยกับเพื่อนก็ต้องเดินเท้าจากไหหลำกลับมาตั้งหลักที่ซัวเถา แล้วค่อยวางแผนเดินทางใหม่

จนอายุ 12 แกถึงอพยพมาอยู่เมืองไทยได้ แกเริ่มต้นจากการเป็นลูกจ้างแถวบ้านหม้อที่กรุงเทพฯ ทำได้สักพัก ช่วงนั้นมีสงครามมหาเอเชียบูรพา ก็มีข่าวว่าที่กรุงเทพฯ จะมีระเบิดอีก ก็เลยหนีมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่แก่งคอย โดยมาเริ่มต้นขายน้ำแข็งไสในตลาด แต่ก็ไม่วายมีระเบิดตามมาลงที่แก่งคอยอีก แต่เตี่ยก็รอดชีวิตมาได้ ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือจากอากงของอาหม่อง (นพดล ธรรมวิวัฒน์) ให้เอาของมาขาย จนเปิดร้านขายของชำสำเร็จ

ร้านชำของเตี่ยชื่อเบ๊ย่งเส็ง ตั้งอยู่ถนนหน้าสถานีรถไฟ เยื้องกับตลาดเทศบาล ตอนพี่เกิดนี่มีร้านนี้แล้ว และเตี่ยก็ตั้งตัวได้แล้ว ชีวิตพี่กับพี่ๆ น้องๆ เลยไม่ค่อยลำบากเท่าไหร่ เตี่ยก็ส่งลูกทุกคนเรียนให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ พี่เรียนด้านคณิตศาสตร์ และจบออกมาเป็นอาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ที่พระจอมเกล้าบางมด (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) ทำมาเกือบทั้งชีวิต จนเตี่ยกับแม่อายุมาก พี่ก็เลยเออร์ลี่รีไทร์ออกมาดูแลแกที่แก่งคอย

ช่วงที่พี่กลับมาดูแลเตี่ยก่อนแกจะเสียชีวิตนี่แหละ ที่เตี่ยเล่าเรื่องเก่าๆ ในอดีตให้ฟังเยอะมาก หลายเรื่องพี่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแกเคยลำบากขนาดไหน พี่ฟังแล้วคิดว่าดีจังน่าจะให้พี่ๆ น้องๆ คนอื่นได้รู้ด้วย ไม่อยากให้ถูกหลงลืม ก็เลยจดบันทึกไว้ และเรียบเรียงออกมาเป็นบันทึกความทรงจำเตี่ย คิดว่าความทรงจำตรงนี้เป็นมรดกชิ้นสุดท้ายที่เตี่ยให้เรา เราเลยอยากเก็บไว้ ไม่ให้ถูกลืม
 
พี่ก็เก็บเรื่องราวของเตี่ยมาเรื่อยๆ จนพี่สาวพี่ได้อ่าน เขาก็ชอบ ยุให้พี่รวบรวมเพื่อพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเพื่อให้คนอื่นอ่านด้วย และก็น่าจะเขียนถึงคนเฒ่าคนแก่อื่นๆ ในแก่งคอย เป็นเหมือนบันทึกความทรงจำแก่งคอย เขาเสนอจะออกทุนค่าพิมพ์ให้ หนังสือขายได้เท่าไหร่ก็เอาไปบริจาคให้โรงพยาบาล

พี่ก็เห็นดีด้วย เราเกษียณแล้ว ก็เลยนัดหมายเพื่อนบ้านมานั่งสัมภาษณ์กัน ตอนนี้เขียนได้ 40 กว่าคนแล้ว พี่มีเพื่อนทำงานศึกษาธิการ ก็ส่งต้นฉบับให้เขาช่วยตรวจทานว่าสำนวนพี่พอได้ไหม เพราะจริงๆ เราก็เรียนทางวิทยาศาสตร์ ไม่เคยเขียนหนังสือมาก่อน แต่เพื่อนบอกว่าโอเคเลย พิมพ์ได้ พี่ก็มีกำลังใจ

จนอาหม่อง (นพดล ธรรมวิวัฒน์) เขาทำบริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด และทำโครงการแก่งคอยเมืองแห่งการเรียนรู้ เมื่อปีที่แล้วนี่แหละ เขามาเห็นว่าพี่กำลังเขียนหนังสือเกี่ยวกับคนแก่งคอย ที่รู้เพราะหนึ่งในนั้นพี่เขียนถึงครอบครัวเขาด้วย เนื่องจากอากงเขาเป็นเพื่อนกับเตี่ยพี่ เขาก็เลยเสนอว่าจะให้ทางโครงการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ให้ เพื่อเป็นหลักฐานทางเอกสารที่บ่งบอกถึงที่มาที่ไปของผู้คนในแก่งคอย พี่ตั้งชื่อหนังสือไว้ว่า ‘คนเก่าเล่าอดีต’ โดยในเล่มยังมีเนื้อหาที่รวบรวมภาพถ่ายไว้ ก็ตั้งชื่อส่วนนั้นว่า ‘ภาพเก่าเล่าอดีต’ ตอนนี้น่าอยู่ในกระบวนการปรับปรุงเนื้อหา เพื่อพิมพ์เป็นเล่มออกมา  

พอได้คุยกับคนแก่งคอยมากๆ เลยรู้ว่าชีวิตกว่าจะมาถึงทุกวันนี้มันไม่ง่ายเลยนะ คนที่นี่ส่วนมากเป็นลูกหลานชาวจีนที่อพยพมาจากแผ่นดินเกิด บางคนแอบมากับท้องเรือข้ามทะเลมาเป็นเดือนๆ หลานของแม่พี่กว่าเดินทางออกจากเมืองจีนได้ ตอนเด็กๆ เขาต้องถูกยกให้พ่อแม่บุญธรรม เพราะพ่อแม่จริงๆ ไม่มีปัญญาเลี้ยง จนพวกเขาตั้งตัวได้ ก็ตามหากันจนเจอเมื่อเด็กโตแล้ว

บางครอบครัวก็ได้เห็นมุมมองแปลกใหม่ อย่างเขาไม่อยากให้ลูกหลานลืมรากเหง้าหรือลืมภาษาจีน เขาก็สอนให้ลูกเรียนภาษาจีนผ่านการอ่านวรรณกรรมสามก๊ก เป็นต้น

อย่างชีวิตเตี่ยพี่ดีหน่อย เคยลำบากตอนแรก แต่มาอยู่เมืองไทยก็ได้กัลยาณมิตรคอยช่วยเหลือตลอด ทั้งที่บ้านหม้อและที่แก่งคอย และเพราะเหตุนั้น อาจทำให้เตี่ยพี่เป็นคนชอบช่วยเหลือคนและชอบทำบุญทำทานเป็นนิสัย

ทุกวันนี้ร้านเบ๊ย่งเส็งของเตี่ยไม่เหลือแล้ว ปี 2560 จู่ๆ ก็เกิดไฟไหม้ร้านเรารวมถึงตึกแถวหน้าสถานีรถไฟ ตอนไฟไหม้ พวกเรานอนกันอยู่อีกบ้านที่เยื้องกับสำนักงานอำเภอ ตื่นเช้ามาจะเปิดร้าน ก็มาเห็นว่าตึกแถวตรงนั้นเหลือแต่ซาก นี่เราก็เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ โดยพี่ก็ให้ช่างเขายึดรูปแบบใกล้เคียงกับแบบเดิมให้มากที่สุด โดยยังใช้ประตูไม้บานเฟี้ยมแบบเดิมไว้ เพราะมันเป็นประตูที่ผูกพันกับพวกเรามาตั้งแต่เด็ก”    

สุนีย์ สุวรรณตระกูล
อาจารย์เกษียณและผู้เขียนหนังสือ ‘คนเก่าเล่าอดีตเมืองแก่งคอย’

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

4 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago