คุณต้องรู้วิถีชีวิตว่าเราอยู่ยังไง เวลาอาบน้ำ เราใช้การอาบน้ำเป็นขันนะ อาบน้ำสามขันได้มั้ย เพราะเป็นประเด็นใหญ่

“พื้นที่หมู่ 2 ตำบลบางชัน มี 3 หมู่บ้านย่อย บ้านเลนตัก บ้านแหลมหญ้า และบ้านโรงไม้ ตรงนี้ใช้ 3 ชื่อ ชื่อภาษาราชการคือ บ้านปากน้ำเวฬุ เพราะตั้งอยู่ปากแม่น้ำเวฬุ ชื่อภาษาถิ่น เรียก บ้านโรงไม้ มาจากคนจีนที่อพยพมา เก่งเรื่องค้าขาย ใช้เรือสำเภาขนสินค้าประมง สินค้าทางเกษตร พวกพืชสมุนไพร เครื่องเทศ พริกไทย ผลไม้ และไม้โกงกาง สมัยรัชกาลที่ 4-5 มีสัมปทานป่าไม้ถูกต้อง มีด่านป่าไม้ ที่นี่เป็นแหล่งที่มีกองไม้ขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านตัดไม้โกงกางมากองรวมกัน เรียกคำภาษาจีนว่า ชะล้ง แปลเป็น โรงไม้

ส่วนชื่อที่ 3 หมู่บ้านไร้แผ่นดิน มากับการท่องเที่ยวสัก 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่เราเป็นป่าชายเลน เกี่ยวข้องกับ 3 หน่วยราชการคือ กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เวลาที่ป่าไม้ออกตรวจพื้นที่จะใช้ภาพถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์บินมา ทีนี้นายอำเภอท่านเห็น เลยเอาภาพนี้ไปติดที่งานทุเรียนโลก คนถามว่าหมู่บ้านนี้อยู่ตรงไหน อยากมาเที่ยว สวยจัง นายอำเภอมาเล่าให้ฟังในการประชุม นายกฯ ก็ลากแผนที่จากเมืองขลุงมาจะเจอหมู่ 3 ก่อน แล้วเจอหมู่ 4 บ้านท่าขาหย่าง เจอหมู่ 2 ตรงเรานี่ แล้วเวียนเข้าคลองบางชันใหญ่ ก็จะเจอหมู่ 5 หมู่ 6 แล้วตัดทะลุมาหมู่ 3 ภาพทางน้ำเหมือนตัว P ใหญ่คว่ำหัวลง ซึ่งหมู่ 3-4-2 เป็นพื้นที่ที่น่าจะเก่าแก่และใหญ่ที่สุด ประชากรก็มาก มีจุดสำคัญคือโรงเรียน วัด ศาลเจ้า อนามัย น่าจะขับเคลื่อนเรื่องการท่องเที่ยว ทำให้เศรษฐกิจหมู่บ้านดีขึ้นได้ แต่ตอนแรกชาวบ้านมองว่าเป็นไปได้ยาก หนึ่ง. จะเอาเงินทุนมาจากไหน สอง. เอาอาหารที่ไหนมาเลี้ยง สาม. ทำยังไงคนภายนอกถึงจะมา ต้องบอกว่าเป็นการเรียนรู้ ผู้นำทำให้ดู คือนายกฯ พยายามทำให้เห็น โดยเอาบ้านรองนายกฯ เป็นที่พัก พาคนมา 10 คน 20 คน 30 คน จนกระทั่งเป็น 100 คน ชาวบ้านที่เคยประกอบอาชีพวางกุ้งหอยปูปลาไว้ทำเพื่อหากิน แปรรูปขาย นักท่องเที่ยวที่มาก็เริ่มขอซื้อนั่นนี่ บวกกับที่พักไม่พอ ทำให้คนกลุ่มนึงมองว่าน่าจะพอทำได้ ก็เริ่มขยับทำเป็นร้านอาหารกลางทะเลก่อน เป็นแพ ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะนักท่องเที่ยวของนายกฯ เกินกำลังของบ้านท่านรองฯ คนในหมู่บ้านก็เริ่มเข้ามาทำเป็นที่พักแห่งที่ 2 ที่ 3 เพิ่มขึ้นๆ ทำให้การท่องเที่ยวเริ่มชัดขึ้น

การตั้งชื่อเป็นโอกาสให้เราสื่อถึงคนภายนอกด้วย คำว่า ไร้แผ่นดิน สื่อว่าเราอยู่กับน้ำ ถึงเวลาหน้าน้ำ ตุลาคมถึงมกราคม น้ำโตเต็มตลิ่ง อาจจะแตะพื้นทางเท้าเลย มองไปทางไหนก็เจอแต่น้ำ สวย. อันนี้คือเรื่องภูมิประเทศ แต่ปัญหาหนึ่งของเราคือ เราอยู่มาร้อยกว่าปี มีบันทึกของฝรั่งเศสเขียนไว้ในปี 2401 สมัยรัชกาลที่ 4 ค้นพบหมู่บ้านปากน้ำเวฬุ โดยมีชุมชนจีนตั้งอาศัยอยู่ เราเป็นคนไทย ถึงจะเชื้อสายจีนหรือเชื้อสายอะไร ทำไมถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์เสียที มีแค่บัตรประชาชนกับสำเนาทะเบียนบ้าน อันนี้ก็สื่อถึงภาครัฐกลายๆ ว่าชั้นคนไทยคนหนึ่งเหมือนกัน คือที่นี่มีปัญหาหลักๆ อยู่ 7 เรื่อง หนึ่ง. ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่อยู่ที่ทำกิน สอง. เครื่องมือทำกินผิดกฎหมาย สาม. บุกรุกป่าสงวน สี่. ขาดน้ำดื่มน้ำใช้ ห้า. การกัดเซาะชายฝั่ง หก. รุกล้ำลำน้ำ เจ็ด. บ้านเลนตักไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ด้วยความที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เขตชุ่มลุ่มน้ำนานาชาติ พื้นที่แบบนี้โอกาสปักเสาพาดสายไม่ต้องพูดถึง แต่ด้วยฝ่ายปกครอง ฝ่ายบริหาร ร่วมกับที่เรามีหลักฐานชิ้นสำคัญคือ ใบวิสุงคามสีมา สมัยรัชกาลที่ 5 ปี 2441 บอกว่าชาวบ้านอยู่มาก่อนการประกาศป่ากระทรวงทบวงกรม จึงได้มีมติครม.ออกมาปี 2546 เราจึงสามารถปักเสาพาดสายได้ ปัญหาพวกนี้ระดับจังหวัดยากมากที่จะแก้ ต้องมติครม.

ปัญหาใหญ่ๆ ของบางชันที่ข้องเกี่ยวกับคนจำนวนมากคือน้ำ รายจ่ายที่เราต้องจ่าย วิถีชีวิตที่เราต้องอยู่ เราได้น้ำจากเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นต้องซื้อน้ำมาใช้ วิ่งเรือจากฝั่งบ้านเราไปฝั่งจังหวัดตราด ใช้เวลาไปกลับประมาณชั่วโมงครึ่ง ในปริมาตรน้ำ 1,400 ลิตร ในครัวเรือนอยู่กัน 5 คน ใช้ได้ประมาณ 5 วัน เริ่มต้นสองเดือนแรก พฤศจิกายน ธันวาคม ราคาน้ำ 150 บาท เฉลี่ยวันละ 30 บาทต่อวัน/ต่อครัวเรือน มกราคม กุมภาพันธ์ แหล่งน้ำที่ 1 แห้ง ต้องวิ่งรถออกไป ใส่รถมาอีกต่อ น้ำเขยิบไป 250 บาท วันละ 50 บาทต่อครัวเรือน มีนาคมถึงพฤษภาคม บางทีวิ่งไปไกลเป็นสิบกว่ากิโล ปีที่ผ่านมา น้ำขยับไป 400 บาท เฉลี่ยวันละ 80-90 บาทต่อวัน/ต่อครัวเรือน ฉะนั้น ผมจะสื่อสารกับนักท่องเที่ยวว่า เวลาคุณมา คุณต้องรู้ว่าวิถีชีวิตเราอยู่ยังไง เวลาอาบน้ำ เราใช้การอาบน้ำเป็นขันนะ บางทีอาจจะพูดเล่นๆ กับเขาเนอะ อาบน้ำสามขันได้มั้ย เพราะเป็นประเด็นใหญ่ คนในพื้นที่ก็ยังไม่พอใช้ แหล่งท่องเที่ยวเองก็ยังไม่พอใช้ รวมถึงต้องใช้น้ำในราคาสูง ตอนนี้ก็มีข่าวดีเล็กๆ พยายามไปผลักดัน ทุกครั้งที่มีเรื่องโครงการเขื่อนคลองขลุง ชาวตำบลบางชันจะไปเยอะมากกว่าคนพื้นที่อื่น โครงการนี้อนุมัติประมาณปี 2542 แต่โครงการไม่เคลื่อน หน่วยงานภาครัฐไม่ได้ประสานกัน แล้วก็มีโครงการโรงเรียนน้ำแดง เด็กในโรงเรียนไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ ลงมาแล้วให้กรมชลประทานวางท่อน้ำดิบจากเขื่อนคลองขลุงมาถึงบางชันแล้ว มีแหล่งน้ำแต่น้ำยังไม่มา

คนที่นี่เชื่อมั่นในภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมาหลายรุ่น มองว่าการท่องเที่ยวน่าจะส่งผลให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น เริ่มรู้ว่า ถ้าคนมา เราสามารถเอาสิ่งที่เคยทำไว้กินเอง สิ่งที่มองไม่เป็นประโยชน์ มาแปรรูป กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง มาวางขายได้ ทำให้หมู่บ้านเรามีจุดแข็งการท่องเที่ยว อากาศดี อาหารดี เพราะเป็นอาหารพื้นถิ่นที่ชาวบ้านประกอบอาชีพในแม่น้ำเวฬุ เรามีวิถีชีวิตชุมชน แต่ต้องบอกว่าเราใช้เครื่องมือโบราณในการประกอบอาชีพ ตกปู ตกปลา วางลอบ ลอยอวน นากุ้ง ยกปลากระบอก คันธง หลักเคย แล้วเมื่อก่อนเราขนสินค้าไปขายที่ขลุง ที่จันท์ เดี๋ยวนี้ไม่ต้องละ ขายในโฮมสเตย์ ทำให้เราลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้โดยอัตโนมัติ เศรษฐกิจดีขึ้น อันนี้เป็นเรื่องของการเรียนรู้ทำให้คนเริ่มปรับตัวมากขึ้นในการที่จะพัฒนาเรื่องผลิตภัณฑ์หรืออะไรต่างๆ ที่สามารถรองรับการท่องเที่ยว

ผมมองภาพการพัฒนาเมืองที่จิตสำนึกคน ทุกอย่างอยู่ที่ใจ ถ้าเรารู้จักคำว่าพอเพียงตามในหลวงว่า บางคนถามทำไมผมไม่ทำโฮมสเตย์ ผมมองว่า เราเป็นผู้ใหญ่บ้าน เรามีร้านค้าใหญ่พอสมควร คนในพื้นที่หลายเปอร์เซ็นต์มาอาศัยบ้านผมในเรื่องของการค้าขาย เราผลักให้ชาวบ้านที่เขายังไม่มีเครื่องมือประกอบอาชีพหรือคนที่มีโอกาสมากกว่าให้เขาทำไป เราสนับสนุน ถ้าทุกคนหันไปทำโฮมสเตย์กันหมด แล้วร้านค้าไม่มี ถามว่าเป็นปัญหามั้ย ขาดของใช้ เป้าหมายผมคือการค้าขายคนในบ้านนะ แล้วในมุมมองผม ด้วยพื้นที่ที่จำกัดด้วยการเดินทางโดยเรือ สองมีข้อกฎหมายคุมพื้นที่ โอกาสที่จะโตไปกว่านี้ยากละ นักท่องเที่ยวตอนนี้ไม่มากเกิน กำลังดี เป็นที่รองรับของชุมชน พอดีกับทรัพยากร คนอยู่ร่วมกัน การท่องเที่ยวในหมู่บ้านมีคนที่ได้ผลประโยชน์ 9 กลุ่ม หนึ่ง. โฮมสเตย์ สอง. นั่งเรือมา แต่ก่อนมีเรือโดยสารแค่ 2 ลำ ตอนนี้มีเรือรับนักท่องเที่ยวประมาณ 50 ลำ สาม. สิ่งก่อสร้างที่เห็นอยู่ ใช้คนในหมู่บ้านก่อสร้างหมด เพราะที่อื่นเอาวิศวกรมาอาจจะไม่ได้ผล แต่ที่นี่ค่าแรงแพงมาก คนแบกหินแบกทราย ไม่มีค้อนไม่มีตะปู วันละ 5-600 บาท หัวหน้าช่างวันละ 1,000-1,200 บาท สี่. แม่บ้าน ที่หลังจากทำในบ้านเสร็จก็ไปรับจ้างทำความสะอาดต่อ ห้า. ประกอบอาชีพประมงมาขายโฮมสเตย์ หก. แปรรูปกะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง เจ็ด ตอนเย็นมีการล่องแพ เรือที่ลากแพไปได้ผลประโยชน์ แปด. เด็กดูแลความปลอดภัย เก้า. โรงเรียน ศาลเจ้า วัด ชุมชน ได้ทั้งหมด สร้างรายได้ให้หมู่บ้านพอสมควร เฉลี่ยๆ กันไป”

ไพริน โอฬารไพบูลย์
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 ตำบลบางชัน (หมู่บ้านไร้แผ่นดิน)

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago