“ก่อนหน้านี้ผมขับรถส่งของให้ห้างค้าปลีกแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ทำมาสิบกว่าปีแล้วรู้สึกอิ่มตัว ก็พอได้ข่าวว่าใกล้ๆ บ้านแม่กา บ้านเกิดผมที่จังหวัดพะเยา กำลังจะมีมหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งขึ้น (ชื่อสมัยนั้น ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพะเยา – ผู้เรียบเรียง) ผมจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เอาเงินที่เก็บมาส่วนหนึ่งไปซื้อรถตู้
จริงๆ ความคิดเรื่องขับรถตู้รับจ้างไม่เคยอยู่ในหัวผมมาก่อน เพราะพะเยาเป็นเมืองเล็กๆ ใครจะจ้างรถตู้กัน แต่พอรู้ว่ามีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น คนก็น่าจะมาอยู่กันมากขึ้น เศรษฐกิจก็น่าจะดีขึ้นตาม
หลายคนมักคิดว่าการมีมหาวิทยาลัยทำให้เด็กๆ ได้เรียนหนังสือ แต่ในอีกทางชาวบ้านรอบๆ ก็มีโอกาสได้ทำงานมากขึ้น อย่างภรรยาผมก็ได้งานเป็นแม่บ้านอยู่รีสอร์ท เพื่อนๆ อีกหลายคนขับรถตู้ประจำคณะในมหาวิทยาลัย เป็นเจ้าหน้าที่ บ้างไปเป็นยาม หรือถ้ามีเงินทุนหน่อยก็เปิดร้านค้า ทำร้านอาหาร หรือทำหอพักแถวหน้ามหาวิทยาลัย เศรษฐกิจในละแวกนี้ดีมากๆ
ผมเคยขับรถประจำในมหาวิทยาลัยอยู่พักหนึ่งเหมือนกัน แต่พอหมดสัญญา ก็ประมูลต่อไม่ได้ จึงออกมารับจ้างขับรถตู้อิสระ แต่ก็ได้อาจารย์และนักวิจัยหลายท่านเรียกใช้อยู่ เช่นถ้าคณะไหนรถตู้ไม่พอ เขาก็โทรศัพท์เรียกผม เลยได้งานข้างนอกกับงานมหาวิทยาลัยไปพร้อมกัน
อย่างช่วงโควิด-19 มา ไม่มีนักท่องเที่ยวเลย แต่ที่รอดมาได้คือหลังจากที่เขาเปิดให้เดินทาง อาจารย์ก็เรียกใช้ผมพาเขาลงพื้นที่วิจัยด้วย แต่เอาเข้าจริงก็อยากทำประจำที่นั่นเลยมากกว่า เพราะการันตีรายได้ประจำ (หัวเราะ)
ที่เคยวิ่งไกลสุดคือการส่งนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ไปแข่งกีฬาที่สงขลาครับ ตอนนั้นขับจากพะเยามาแวะค้างคืนที่ปราณบุรี จากนั้นก็ขับต่อไปพักสุราษฎร์ธานี ก่อนจะถึงสงขลาในอีกวัน เที่ยวนั้นแวะซื้อของที่ปาดังเบซาร์ด้วย ผมชอบขับรถล่องใต้นะ ขับสบายดี ปกติอยู่แต่กับถนนบนภูเขาในภาคเหนือซึ่งขับรถเหนื่อยกว่า (ยิ้ม)
ผมอายุห้าสิบกว่าแล้ว ก็พยายามรักษาสุขภาพ เพราะคิดว่าจะขับรถต่อไปจนกว่าร่างกายจะไม่ไหว ส่วนหลังจากนั้นจะทำยังไงต่อ ให้เป็นเรื่องของอนาคตครับ”
เด่น สุวรรณ
คนขับรถตู้รับจ้างอิสระ
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…