“พื้นเพครอบครัวผมทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลในตำบลปากพูน และส่งขายให้พ่อค้าคนกลางในตัวเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนหน้านี้ ผมไม่ได้มีความคิดจะกลับมาทำตรงนี้เลย ผมจบมาทางด้านการจัดการธุรกิจที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และทำงานบริษัทอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร
กระทั่งภรรยาผมเสียชีวิต เหลือผมกับลูก จึงตัดสินใจลาออก กลับมาช่วยธุรกิจที่บ้าน เพราะจะได้มีคนช่วยเลี้ยงลูก และเตี่ยก็อยากให้ผมกลับมาสานต่อธุรกิจอยู่แล้วด้วย
หลังจากทำงานที่บ้านได้ไม่นาน ผมก็พบปัญหาว่าหากมีช่วงเวลาไหนที่ปูล้นตลาด พ่อค้าคนกลางจะไม่รับซื้อปูจากฟาร์มผมและชาวบ้านคนอื่นๆ พวกเราเลยไม่มีรายได้ ก็ปรึกษากับเตี่ยว่า เอางี้ไหม ผมเคยทำงานที่มหาชัยและพอรู้ว่าที่นั่นมีแหล่งรับซื้อปู เราน่าจะไปขายเขาได้ เลยตัดสินใจแพ็คปูใส่กล่องขึ้นรถทัวร์ไปหาคนรับซื้อเอง สมัยนั้นคือเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ยังไม่มีช่องทางขายออนไลน์แบบทุกวันนี้ ไปถึงก็เดินเร่ขาย จนเจอคนรับซื้อ ก็คุยกันว่าเขาต้องการอาหารทะเลอะไรบ้าง บรรจุส่งอย่างไร และช่วงเวลาใด ก็ทดลองส่งอยู่สักพัก จนเขาพอใจในคุณภาพก็เลยผูกปิ่นโตกันเรื่อยมา จากนั้นผมก็นั่งรถทัวร์ไปหาตลาดต่อ ทั้งในแม่กลอง ปทุมธานี ชลบุรี ไปจนถึงภัตตาคารที่เยาวราช
หมู่บ้านที่ผมอยู่นี่ติดคลองท่าแพที่ไหลออกสู่อ่าวไทยครับ ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่นี่เลี้ยงชีพด้วยการทำประมง ไม่ถึงกับต้องออกเรือไปทะเล ลำพังแค่คลองหน้าบ้านก็มีปลาให้จับแล้ว พอผมได้ช่องทางการขายที่มากพอ ก็เลยชวนชาวบ้านนำอาหารทะเลมาขายกับผม โดยรับซื้อในราคาเป็นธรรม และจัดส่งต่อไปยังภาคกลางทุกวัน ทำแบบนี้มา 20 กว่าปีแล้วครับ
จนโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเข้ามาในพื้นที่ ผมเห็นถึงประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้ร่วมกัน จึงยินดีแบ่งพื้นที่ที่ผมใช้รับซื้อปลาจากชาวบ้านครึ่งหนึ่งให้ทางทีมงานไปทำ ‘ตลาดความสุขชาวเล’ เป็นพื้นที่กลางให้ชาวบ้านได้นำสินค้าชุมชนมาขาย ขณะเดียวกันก็รองรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลด้วย
ที่ผ่านมา เวลาชาวประมงออกไปจับปลา พวกอวนลอยปูและกุ้งมักจะมีสัตว์น้ำขนาดเล็กที่ไม่ใช่ลูกปลาติดมาด้วย สัตว์น้ำพวกนี้ส่วนใหญ่ถ้าไม่สะบัดทิ้ง ก็จะเอามาขายเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งไม่ได้ราคา กลุ่มแม่บ้านเราก็เล็งเห็นว่าตรงนี้สามารถที่จะนำมาแปรรูปเป็นปลาหวาน ปลาเส้น หรือกุ้งแห้งได้ ทางชุมชนก็เลยใช้พื้นที่ตรงนี้สำหรับแปรรูป โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมประมง ทำโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ให้ด้านหลัง และเราก็ตั้งทั้งหน้าร้านและสำนักงานร่วมกันตรงนี้ เปิดให้คนเข้ามาซื้อ หรือจะสั่งออนไลน์ เราก็จัดส่งให้
และก็เพราะว่าเราหากินกับลำคลองและทะเลหน้าบ้านตรงนี้ ทางชุมชนก็เลยร่วมกันตั้งกลุ่มอนุรักษ์ขึ้น เพราะเราเห็นได้ชัดว่าพอมีการใช้เครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมาย บางชนิดทำลายทรัพยากรหน้าดิน บางชนิดก็จับลูกปลาไปด้วย สัตว์น้ำจึงไม่มีโอกาสขยายพันธุ์ ปลาที่เราจับก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เลยร่วมกับทางประมงและผู้ใหญ่บ้าน รณรงค์ให้ปากพูนเป็นพื้นที่ปลอดเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย และเราก็ทำความเข้าใจกับชาวบ้านร่วมกันว่า ถ้าขืนเป็นแบบนี้ต่อไป บ้านเราก็จะไม่เหลือปลาให้ได้จับ ทุกคนก็เข้าใจตรงกัน จากนั้นทางผมก็ทำธนาคารปูสำหรับอนุบาลปู และฝากชาวประมงที่เขานำปลามาขายที่ผม ไปปล่อยปูที่โตได้ที่ให้เติบโตต่อไปในทะเล
จริงๆ ถ้าผมไปปล่อยเองก็ปล่อยได้ แต่ว่าต้องการให้ชาวประมงที่จะทำการหากินที่นอกทะเลให้เขามีจิตใจที่ร่วมอนุรักษ์กับเรา แรกๆ เขาก็อิดออดแหละครับ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเขา แต่พอหลังๆ พอเขาเอาไปปล่อยแล้วพบว่ามีปูให้จับเพิ่มมากขึ้น เขาก็ยินดี เขาทำด้วยตัวเอง ก็พบผลประโยชน์เอง บางทีก็มาแวะถามว่ามีปูให้เขาออกเรือไปปล่อยไหม ส่วนแม่ปูที่เขาจับได้ในบางครั้ง เขาก็เอามาฝากเลย ผมไม่ได้รับซื้อเขา เขาเอามาให้เราเพาะเลี้ยงให้แม่ปูได้ออกลูกในธนาคารของเราต่อ
จะว่าไปก็เหมือนธุรกิจประมงแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยน่ะครับ ชาวบ้านได้ขายปลา ผมได้ซื้อไปขายต่อ กลุ่มแม่บ้านมีรายได้จากการทำอาหารแปรรูป และพอเราทำธนาคารปูและการอนุรักษ์ ทรัพยากรสัตว์น้ำก็ได้หมุนเวียนอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจในชุมชนดี ทุกคนก็มีความสุข และพอทุกคนเข้าใจและได้ประโยชน์ร่วมกัน พอจะมีการพัฒนาชุมชนอะไร ทุกคนก็พร้อมจะร่วมมือกันอย่างราบรื่น”
ทักษิณ แสนเสนาะ
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านปากพูน
และรองประธานตลาดความสุขชาวเล
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…