“จากที่คิดว่าเราไม่มีอะไรผูกพันกับกาฬสินธุ์ แต่พอได้ย้ายมาทำงานที่นี่ ผ่านมา 25 ปีแล้ว ครูก็แทบไม่มีความคิดจะย้ายไปสอนที่ไหนอีกเลย”

ครูเป็นคนอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ค่ะ อำเภอห้วยเม็กอยู่ด้านตะวันตก ชายขอบสุดของจังหวัด ติดกับอำเภอชื่นชมของจังหวัดมหาสารคาม

ความที่สมัยก่อน รถสาธารณะยังไม่ได้ครอบคลุมเส้นทางเหมือนทุกวันนี้ ครูเลยเลือกเรียนมัธยมที่โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ในอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเดินทางจากบ้านเราไปสะดวกกว่าในตัวอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ก่อนจะไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จึงกลายเป็นว่า แม้เราเกิดที่กาฬสินธุ์ แต่ก็ไม่ได้มีความทรงจำหรือประสบการณ์อะไรเกี่ยวกับเมืองนี้สักเท่าไหร่

อย่างไรก็ตาม หลังเรียนจบ ครูก็ดันสอบบรรจุได้ที่โรงเรียนเทศบาล 2 วัดสว่างคงคา อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ในปี 2541 ซึ่งตอนนั้นก็ไม่ได้มีความคิดอะไรกับเมืองเมืองนี้นัก รู้แค่ว่ามันเงียบสงบ ไม่ค่อยเจริญ และไม่น่ามีอะไรดึงดูดเท่าไหร่ แต่พอย้ายมาอยู่ที่นี่ ผ่านมา 25 ปีแล้ว ครูก็แทบไม่มีความคิดจะย้ายไปสอนที่ไหน

อะไรทำให้เป็นแบบนั้น? ก่อนอื่นเลย ครูสอนวิชาภาษาไทยเป็นหลัก และด้วยธรรมชาติของครูภาษาไทย ทำให้ได้มีโอกาสศึกษาภูมิประวัติศาสตร์ของเมือง คติชนวิทยา รวมถึงศิลปะและวรรณกรรมท้องถิ่น เลยได้รู้ว่ากาฬสินธุ์มี ผญาอีสาน คำสอย (วรรณกรรมมุขปาฐะ) หมอลำ ไปจนถึงวัฒนธรรมภูไท ที่ล้วนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แตกต่างจากเมืองอื่นๆ ในอีสาน ครูสนใจสิ่งเหล่านี้ และพบว่าศาสตร์เหล่านี้กำลังเลือนหายไปจากยุคสมัย ในฐานะครูภาษาไทย ก็เลยอยากมีส่วนอนุรักษ์ไว้ให้เด็กๆ ได้เข้าใจถึงคุณค่า

กับอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน คือกาฬสินธุ์เป็นเมืองที่ผู้คนน่ารัก ไม่ค่อยมีบรรยากาศของการแข่งขัน และค่าครองชีพก็ไม่สูงมาก ครูอยู่ที่นี่แล้วสบายใจ ก็สร้างครอบครัวอยู่ยาวที่นี่เลย

ส่วนบทบาทของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมกาฬสินธุ์ของครู นอกจากคอยสอนและอธิบายให้เห็นถึงคุณค่าและความหมายของสิ่งเหล่านี้ ให้เด็กๆ ได้ซึมซับและเข้าใจ ก็พยายามจะร่วมมือกับโครงการต่างๆ จากหน่วยงานภายนอกที่มีความตั้งใจอยากฟื้นใจเมือง เช่นที่เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์เคยพยายามจัดตั้งกลุ่มมัคคุเทศก์น้อย เพื่อให้พวกเขานำชมนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ ครูก็ส่งเด็กๆ เข้าไปร่วมกิจกรรม โดยช่วงปี 2545-2550 โครงการนี้เฟื่องฟูมาก แต่เสียดาย ด้วยเงื่อนไขหลายอย่าง โครงการจึงไม่ถูกต่อยอด

หรือล่าสุดที่ทางเทศบาลปรับปรุงชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ ให้กลายเป็นหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งจัดแสดงทั้งผลงานศิลปะร่วมสมัย และภาพสามมิติที่บอกเล่าถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในแต่ละอำเภอของจังหวัด แม้พื้นที่นี้จะไม่เกี่ยวกับวิชาที่ครูสอนโดยตรง แต่ครูก็จะชักชวนให้เด็กๆ ได้เข้าไปดู ไปศึกษาเรียนรู้พื้นที่นี้เสมอ เพราะหอศิลป์แห่งนี้มันอยู่ใกล้ๆ เอง เด็กๆ ได้คลุกคลีกับศิลปะบ่อยๆ เข้า มันก็ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาเอง

ในขณะที่เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์หวังให้หอศิลป์ที่เปิดใหม่แห่งนี้ เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวแวะชมทุกครั้ง ก่อนออกเดินทางต่อไปยังพิพิธภัณฑ์สิรินธร เขื่อนลำปาว หรือสะพานเทพสุดาที่อยู่นอกเมือง ครูก็อยากให้เด็กๆ ได้ใช้หอศิลป์ในฐานะจุดนัดพบ หรือพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมการเรียนรู้ตามความสนใจของแต่ละคนด้วย”  

พัชรินทร์ พิมพะจันทร์
รองผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

7 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago