จากที่มองพะเยาเป็นเมืองเล็กๆ ที่ดูไม่มีอะไร ทุกวันนี้เราพบแต่โอกาสที่ทำให้เมืทองเป็นในแบบที่พวกเราอยากให้เป็น

“เราเรียนมาทางดุริยางคศิลป์ หลังจากเรียนจบก็เป็นครูสอนดนตรี และเล่นดนตรีกลางคืนอยู่เชียงใหม่อยู่พักใหญ่ๆ จนประมาณ 5 ปีที่แล้ว เราอกหัก ตอนนั้นเป็นอารมณ์ชั่ววูบเหมือนกัน ตัดสินใจขับรถกลับบ้านที่พะเยา แม่ก็เปิดประตูบ้านรับ หลังจากนั้นก็ไม่ให้ไปไหนเลย (หัวเราะ)

ตอนแรกก็ไม่รู้จะทำอาชีพอะไรหรอก พ่อแม่เราเป็นข้าราชการเกษียณ พี่ชายขายก๋วยเตี๋ยวเป็ด ส่วน ค่าจ้างนักดนตรีของที่นี่ก็ถูกกว่าเชียงใหม่เกือบครึ่ง ทำเป็นอาชีพแทบไม่ได้ ที่สำคัญเราพบว่าพะเยาเงียบมากๆ คือในแง่การใช้ชีวิตอยู่ มันก็สงบและสะดวกสบายดีหรอก แต่ถ้าเทียบกับเชียงใหม่ที่เราอยู่มา บ้านเกิดเราก็แทบไม่มีสีสันอะไร

จนพี่แตง (บงกช กาญจนรัตนากร) เจ้าของร้านนิทานบ้านต้นไม้ ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านเรามาตั้งแต่เด็ก มาชวนเราไปทำตลาดเช้า คือหลังร้านพี่แตงมีสวนเล็กๆ ร่มรื่น พี่แกก็ชวนคนรุ่นราวคราวเดียวกันมาขายของ  พวกงานแฮนด์เมดบ้าง ของแต่งบ้าน เสื้อผ้ามือสองบ้าง เราก็ไปช่วยพี่แตง และก็เล่นดนตรีในสวนให้คนมาตลาดได้ฟัง

ตรงนี้แหละที่จุดประกายเรามาก เหมือนงานแบบนี้มันดึงดูดคนที่มีความสนใจแบบเดียวกับเรามาเจอกัน เพราะที่ผ่านมาพะเยาไม่มีพื้นที่ประมาณนี้เลยนะ ก็ได้รู้จักคนทำกาแฟ ครูสอนวาดรูปสีน้ำ หรือนักออกแบบที่ย้ายกลับมาอยู่พะเยา และอีกหลายอาชีพ ก็กลายเป็นเพื่อนกัน อีกอย่างพอทำตลาดเช้าก็มีเด็กๆ หน้าใหม่ๆ มาร่วมงานเสมอ ก็ทำให้ได้คิดว่า เราอยากอยู่เมืองแบบไหน ก็ควรช่วยกันทำให้เมืองเป็นแบบนั้น ก็เลยร่วมกันจัดอีเวนท์แนวสร้างสรรค์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เราตั้งชื่อกลุ่มว่า Phayao Lovers เพราะจะได้เห็นว่านี่เป็นกลุ่มก้อนของคนรุ่นใหม่ในพะเยาที่รักพะเยา และพร้อมจะทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อทำให้เมืองเราน่าอยู่ ก็เริ่มจากในสวนร้านพี่แตงก่อน มีมินิคอนเสิร์ตการกุศลที่เรากับศิลปินในพะเยาจัดการแสดง มีชวนคนนั้นคนนี้มาจัดเวิร์คช็อปทำงานศิลปะ ทำขนม และงานหัตถกรรม รวมถึงตลาดนัดในธีมต่างๆ

จนพอคนมาร่วมงานมากขึ้น สวนในร้านเอาไม่อยู่แล้ว ก็เลยขออนุญาตเทศบาลจัดตลาดนัดตรงถนนราชวงศ์ซึ่งอยู่หน้าร้านทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน และจากถนนหน้าร้าน ต่อมาเราก็ได้งานที่ริมกว๊านพะเยา ก็ร่วมกับหอการค้าจังหวัด และกลุ่มคนทำกาแฟในเมืองจัดงาน Phayao Coffee & Tea Lovers เป็นเทศกาลกาแฟครั้งแรกของเมือง

พอทำหลายๆ งานเข้า ผู้ใหญ่เขาก็เริ่มเห็นศักยภาพของพวกเรา หลังงานกาแฟ เขาก็เลยให้เราจัดงานลอยกระทงของเมืองไปเลย

ตอนนั้นโควิดเพิ่งซา คนก็ยังกล้าๆ กลัวๆ จะออกมาข้างนอก เขาก็คงคิดกันว่าควรจะใช้งานนี้ปลุกเมือง โปรเจกต์ ล้า’ ลา’ ลอย คอยเธอที่ริมกว๊าน จึงเกิดขึ้น เป็นงานลอยกระทงแนวเรโทรจัดที่ข่วงนกยูง ริมกว๊านพะเยา เราหาจุดร่วมของงานที่ผู้ใหญ่และคนรุ่นใหม่สนุกไปด้วยกันได้ เลยจัดงานที่มีเดรสโค้ด เป็นชุดย้อนยุคแบบเรโทร มีงานบอลรูม รำวงย้อนยุค เต้นลีลาศ มีคอนเสิร์ตของวงดนตรีบาร์ขาว ซึ่งเป็นวงดนตรีรุ่นเดอะของเมืองที่กลับมารวมตัวกันครั้งแรกในรอบ 50 ปี ขณะเดียวกันก็มีการแสดงดนตรีของคนรุ่นใหม่ มีการประกวดดนตรีและวาดรูป ตอนนั้นจัด 3 วัน (30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2563) ได้รับเสียงตอบรับดีมาก หลังจากนั้นก็ได้จัดงานนั่นนี่ต่อเนื่องมาถึงทุกวันนี้

จะบอกว่าเป็นบริษัทอีเวนท์ก็ไม่ได้เป็นทางการขนาดนั้นค่ะ เราไม่ได้มองในระดับของการทำเป็นอาชีพ แต่อย่างที่บอกว่าถ้าเราอยากเห็นเมืองเป็นแบบไหน เราพอมีพลัง ก็จะขับเคลื่อนให้เมืองมันใกล้เคียงกับภาพนั้น

ทุกวันนี้ก็ยังเล่นดนตรีอยู่ค่ะ เราเล่นประจำที่บาร์บนดาดฟ้าของโรงแรม M2 Waterside ช่วงสุดสัปดาห์ บางครั้งก็ไปเล่นในอีเวนท์ของเมือง อย่างงานวัฒนธรรมที่ต้องการมือสะล้อซอซึง เราก็เล่นนะ (หัวเราะ)

ย้อนกลับไปคิดก็รู้สึกตลกดี จากที่กลับมาอยู่บ้านใหม่ๆ แล้วงงๆ ไม่รู้จะใช้ชีวิตในเมืองนี้อย่างไร หรือจะทำงานอะไร จากที่มองพะเยาเป็นเมืองเล็กๆ ที่ดูไม่มีอะไร ทุกวันนี้เราพบแต่โอกาสที่ทำให้เมืองเป็นในแบบที่พวกเราอยากให้เป็น”

เพ็ญพิศุทธิ์ พวงสุวรรณ
นักดนตรีอิสระ เจ้าของร้านบ้านบ่อเลคแคมป์
“บ้านบ่อครูไท”
และตัวแทนจาก Phayao Lovers
https://www.facebook.com/PhayaoLovers/

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago