“ตอนหนุ่มๆ ผมเป็นช่างกลึงในอู่ซ่อมรถ แต่มีความฝันมาตลอดว่าอยากขับรถม้า พอเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งเลยซื้อม้ามาเลี้ยงก่อน จำได้ว่าซื้อมาตัวละ 900 บาท สมัยสัก 50 ปีก่อน ลำปางยังมีรถไม่เยอะ เลยมีคนเอาม้ามาขี่เล่นกลางถนน ผมก็เอามาขี่เล่นด้วย ทำความคุ้นเคยกับมันไป จากนั้นก็ไปเรียนวิธีการขับรถม้าจากคนที่ขับมาก่อน จนลูกชายขึ้น ม.1 ผมจึงตัดสินใจลาออก แล้วหันมาขับรถม้าเต็มตัว
สมัยนั้นรถม้าในลำปางเป็นที่นิยมมาก มีคนขับในเมือง 300 กว่าคัน ช่วงที่ผมหัดขี่ม้าใหม่ๆ คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ เปิดเมืองโบราณที่สมุทรปราการในปี 2515 เธอก็มากว้านซื้อรถม้าไปที่นั่น 200 กว่าคัน ไปทั้งรถ ทั้งม้า และสารถี พอรถม้าหายไปเยอะ ก็เลยเป็นโอกาสให้คนขับรถม้ารุ่นใหม่ๆ มาแทนที่ ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น วันๆ นึงผมวิ่งได้ 4 รอบ รอบใหญ่จะได้เงิน 30 บาท เฉลี่ยได้ประมาณ 120-150 บาท ซึ่งดีเลยนะตอนนั้น ก็ขับรถม้าเลี้ยงครอบครัวและส่งลูกเรียนหนังสือได้
พอขับนานๆ ไป ผมก็เลยคุ้นเคยกับนิสัยของม้า เหมือนเป็นไปเองแล้ว ผมมักใช้เวลาไม่นานในการทำความเข้าใจบุคลิกของม้าแต่ละตัว นั่นทำให้ผมได้งานรับฝึกม้าก็เริ่มฝึกให้คนในลำปางก่อน จากนั้นมีเศรษฐีคนหนึ่งอยู่มาเลเซียเขาซื้อม้าพันธุ์ดีมาตัวหนึ่ง แต่มันพยศมาก เขาพยายามจะเอารถไปเทียม มันถีบพังหมด เขาก็จ้างผมไปอยู่ที่มาเลเซีย ผมก็ค่อยๆ ฝึกไป ใช้เวลาเดือนเศษๆ ก็เข้าที่
ม้าจะมีอายุเฉลี่ย 25-30 ปี เราจะเริ่มฝึกขี่ม้าตอนเขาอายุ 2 ปี จากนั้นพออายุราว 2 ปีครึ่งก็ค่อยฝึกกับรถม้า ถ้าเทียบกับอายุคนก็คูน 4 เข้าไป จะเท่ากับเด็กอายุ 8 ขวบ ถ้าฝึกให้มาขับรถม้า ก็จะพาเขาไปขี่ในเส้นทางในเมือง ให้เขาจดจำเส้นทาง และดูว่าม้าแต่ละตัวมีบุคลิกยังไง บางตัวไม่ยอมเข้าทางแคบ บางตัวก็กลัวเสียงพลุ หรือบางตัวไม่วิ่งกลางคืนเลย เพราะตกใจที่มีแสงลอดใต้เท้าทำให้เขาเห็นเงาตัวเอง ปกติจะใช้เวลาฝึกอย่างน้อยหนึ่งปี แต่ผมจะรับฝึกอยู่ที่ประมาณหนึ่งเดือน จากนั้นก็ให้เจ้าของมาทดลองขับต่อ ก็เหมือนขับรถล่ะครับ คุณมาเรียนที่โรงเรียนสอนขับรถประมาณหนึ่งเดือนเพื่อเรียนรู้ทักษะเบื้องต้น หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่าจะขับรถคันนี้ยังไง
ผมขับรถม้ามาสามสิบกว่าปีแล้ว ผ่านม้ามาเกือบ 100 ตัว เจออุบัติเหตุมาแทบทุกรูปแบบ เคยเจอกระทั่งคนเมาขับรถมาชนม้าเราตาย ซึ่งผมเสียใจมากๆ ผมเคยเลี้ยงพร้อมกันมากสุดประมาณ 10 ตัว แต่ตอนนี้มีอยู่ 4 ตัว ชื่อจูมง รัษฎา สงกรานต์ และใหม่ ช่วงปี 2560 จู่ๆ ผมก็มีอาการเส้นเลือดในสมองแตก ร่างกายครึ่งซีกขยับไม่ได้ บั้ม (สุพจน์ ใจรวมกูล) ลูกชายต้องออกจากงานมาช่วยดูแล และมาขับรถม้าแทน ก็ได้เขานี่แหละที่พาผมไปหาหมอ และใช้เจ้าจูมงที่เป็นม้าที่คุ้นเคยกับผมมากที่สุดมาเป็นหมอทำอาชาบำบัด เขารู้ว่าผมรักม้า เลยคิดว่าการรักษาด้วยวิธีการนี้น่าจะได้ผล ซึ่งก็ได้ผลจริงๆ ร่างกายผมค่อยๆ ฟื้นฟูจนกลับมาขับรถม้าได้อีกครั้ง บั้มเสียสละมากทีเดียว ซึ่งทุกวันนี้เขาก็กลายเป็นกำลังหลักของครอบครัว ขับรถม้า และทำกิจกรรมนั่นนี่เกี่ยวกับม้าเพื่อหาเงินเข้าบ้าน
ทำไมผมจึงรักม้าหรอครับ ไม่รู้เหมือนกัน อาจเพราะเป็นคนลำปางและเห็นม้ามาตั้งแต่เด็กเลยผูกพัน อย่างวันไหนว่างๆ ไม่ได้ขับรถม้า ผมก็จะนั่งเล่นบนรถม้า หรือตอนที่ป่วยหนักๆ ผมก็ขอให้บั้มพาผมไปให้อาหารพวกมัน ตัวเองก็ป่วยนะ แต่อดห่วงไม่ได้ ม้าคือชีวิตของผม ไม่มีม้า ผมก็อาจไม่มีอาชีพ ไม่มีครอบครัวที่ดีอย่างวันนี้”
ประจักษ์ ใจรวมกูล
คนขับรถม้าอาวุโสชาวลำปาง
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…