“ตอนนี้ที่ไม่แฮปปี้คือถนนธนะรัชต์ที่ทำแบริเออร์ตรงเกาะกลาง น่าจะทำประชาพิจารณ์ซักหน่อย ชาวบ้านบอกว่า มาทำประชาพิจารณ์เหมือนกัน แต่มาทำวันนี้แล้วก็เจาะวันนี้เลย”

“เราตั้งใจทำโรงแรมแกรนด์สิริ รีสอร์ท เขาใหญ่ให้เป็นบ้านหลังที่ 2 ของทุกคนที่มา ถึงจะระดับ 3 ดาวก็พยายามปรับปรุงอยู่ตลอด เราเองไม่ได้มีความรู้เรื่องโรงแรม ตอนแรกทำเป็นบ้านพักตากอากาศ พื้นที่โซนด้านหน้าส่วนที่เป็นล็อบบี้ตอนนี้คือบ้านที่เราจะอยู่กันเอง แล้วบ้านทางซ้ายมือทำเป็นบ้านพักเวลาเพื่อนคุณพ่อมา ความที่ท่านอยู่องค์กรโรตารีด้วย เพื่อนก็เยอะ ยิ่งมายิ่งเยอะ บ้านพักไม่พอ เลยสร้างตึกทำห้องพัก 17 ห้อง ช่วงสองปีแรกก็รับรองเพื่อนป่าป๊ามากกว่า เปิดรับแค่คืนวันเสาร์ วันศุกร์ดึกๆ เราก็มากับแม่บ้านที่บ้าน 2 คน ที่นี่มีอยู่ 4-5 คน ทำกันแค่นี้ วันอาทิตย์ก็กลับบ้านกรุงเทพฯ

เราไม่ได้คิดทำตึก 17 ห้องเป็นโรงแรม นึกว่าคนกันเองมาพัก ความรู้เรื่องโรงแรมไม่มี ก็ลำบากค่ะ เช่น ในห้องพักก็ไม่ได้ต่อโทรศัพท์ไว้ ผ้าปูเตียงก็ไม่ได้สไตล์โรงแรม พอเริ่มสร้างตึกใหม่ 25 ห้อง คิดทำจริงจังให้เต็มรูปแบบ เรามีความรู้พื้นฐานมาจากตึกโน้นว่าถ้าจะรองรับลูกค้า ทำสีอย่างนั้นไม่ได้นะ ทำสไตล์อย่างนั้นไม่ได้ ก็จ้างอินทีเรียร์มาออกแบบ ตึกนี้เลยดูเป็นรูปเป็นร่าง เป็นโรงแรมสามดาวบวก รวมทั้งหมดที่นี่ 70 ห้อง ลูกค้าก็พวกประชุม สัมมนา เป็นครอบครัวมากันง่ายๆ ราคาไม่แพง ตอนหลังก็ปากต่อปาก เริ่มทยอยมากันเองค่ะ เราไม่ได้โฆษณาอะไร จุดเด่นคือห้องพักใหญ่ กว้าง สบายตา ธุรกิจของสามีคือทำที่นอนมา 40 กว่าปี ก็พูดๆ คอนเซปต์ว่า “หลับสบาย ขยายครอบครัว” ลูกค้าบอกที่นี่ฟูกดูดวิญญาณ นอนหลับรวดเดียวถึงเช้า (ยิ้ม) แล้วพื้นที่เราเยอะ ขี่จักรยานได้ ทำกิจกรรมได้ มีสนามบาส ซึ่งในเขาใหญ่เราไม่แน่ใจว่าใครมีสนามบาสเกตบอลมาตรฐาน ติดไฟจริงจัง สามารถแข่งกันได้เลย เพราะป่าป๊าชอบ เคยเป็นนักกีฬาทีมชาติจีนโพ้นทะเล ตอนนี้อายุเยอะ ได้แค่วิ่งเหยาะๆ แต่เขาได้ดูคนมาเล่นกันก็แฮปปี้ แล้วที่นี่ก็อากาศดี จากถนนใหญ่เข้ามาไม่ลึกมาก ออกไปก็ร้านอาหารครัวเขาใหญ่ ไปทางซ้ายก็มีแหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ำผุด ไปข้างหลังก็ไม่เกิน 10 นาทีถึงสวนสัตว์โบนันซ่า ถ้าเป็นเทศกาลดอกทานตะวันก็ไปแค่ 5 นาที สะดวกสบายนะ

เราไม่ได้เป็นคนมาใหม่นะคะ ชาวบ้านรู้จักมานานแล้วว่าบ้านเราอยู่ตรงนี้ เรามาตั้งแต่เด็ก อยู่มา 30 กว่าปีแล้ว ป่าป๊ามาปลูกดาวเรืองเจ้าแรกในเขาใหญ่ แล้วก็ขายเม็ดให้ชาวบ้าน สมัยก่อนมีรถจากปากคลองวิ่งมารับซื้อ หรือบางทีชาวบ้านไปส่งเอง ได้ดอกละบาทเลยนะ ที่นี่ดินดีอยู่แล้ว ทำอยู่ 5 ปี ก็ราคาลง แล้วดาวเรือง เมล็ดต้องซื้อที่มหาวิทยาลัยเกษตรเท่านั้น เพราะเขาจำกัดพันธุ์ไว้ คุณไปซื้อที่อื่นก็ปลูกไม่ได้ ชาวบ้านเขาก็รู้แล้ว ไปซื้อปลูกเองได้ เราเริ่มตลาดให้ เขาต่อยอดไปได้ เรามาอยู่เป็นเพื่อนบ้านกัน ไม่ใช่แบบคนกรุงเทพฯ มา แล้วเราก็อุดหนุนผักชาวบ้าน สนับสนุนชุมชนแถวนี้ เวลามีกรุ๊ปใหญ่ๆ ก็ให้ชาวบ้านมาขายของตอนเช้าวันอาทิตย์ มากัน 5-6 ร้าน ลูกค้ามาก็แฮปปี้ เพราะของไม่แพง จับต้องได้ เป็นชาวบ้านจริงๆ เราคัดกรอง ถ้ารู้ว่าชาวบ้านไปรับผลไม้ที่อื่นมา ไม่ใช่ของชุมชน คราวหน้าก็กระซิบๆ กันไม่เอา เราเองอยากให้ชุมชนขายของชุมชน ช่วยเหลือกัน ผลิตภัณฑ์ไม่ต้องไปเลียนแบบที่อื่น เราทำของเราได้ อย่างเขาใหญ่ ทำไมไม่ทำน้ำพริกหมูโคราช เพราะเป็นเมนูดั้งเดิมของโคราช ก็เคยคิดกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้ศูนย์อาหารที่โคราชมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงทำผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นมา

เราเข้าร่วมสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ เลยได้รู้จักชุมชน ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ พอรู้จักมันต่อยอดไปได้เรื่อยๆ สร้างเครือข่าย ร่วมกันทำโครงการต่างๆ เช่น โครงการเขาใหญ่พัฒนาเมือง โครงการหุบเขาแห่งความสุข ที่ผู้ประกอบการทั้งหมดมาจอยกัน เพราะต้องบอกว่า ผู้ประกอบการโรงแรมร้านอาหารในเขาใหญ่ 90% มาจากกรุงเทพฯ ก็ได้สัมพันธไมตรี เหมือนเราเหงาๆ กันมา พอมาอยู่ มาเจอเพื่อน แล้วมีความสุข วันนี้มีกรุ๊ป ทำอาหารไม่ทัน เอ้า มาช่วยกัน ห้องไม่พอ ทำยังไง ส่งต่อกัน ชาวบ้านจริงๆ ที่ทำก็อย่างมาก 10 ห้อง 20 ห้อง เล็กๆ เวลามาเจอกัน คนเขาใหญ่น่ารักนะ ไม่ได้แย่งกันทำมาค้าขาย ทุกคนเกื้อกูลกัน มาแล้ว อุ้ย ไว้ใจได้หรือเปล่า แต่พอสัมผัส ไม่ใช่เลย เราช่วยกัน ชาวบ้านน่ารัก ขอความช่วยเหลือก็ได้หมด อยู่มา 20-30 ปีขโมยขโจรก็ไม่มีนะ จะมีปัญหาเรื่องเสียงดังบ้าง เราจะบอกแขกว่าสี่ทุ่มครึ่งนะ เพราะตรงนี้เป็นเขตอุทยานฯ คนเวลามาเที่ยวเขาสนุกไง บอกให้เบา เบาได้แป๊บเดียว แล้วประตูต้องปิดนะคะ เสียงจะได้ไม่ออก ก็เปิดประตูห้องประชุมไว้ เวลากลางคืน เสียงมันลอยไกล เราอยู่ในห้องประชุมว่าเสียงไม่ดัง ชาวบ้านก็แจ้งตำรวจ ตำรวจก็เข้ามา เราก็ให้ลูกค้าได้เห็นว่าตำรวจเข้ามาจริง บางเคสก็เอาไม่อยู่ เราก็เข้าใจ แต่เราก็จะบอกชาวบ้านอยู่เรื่อยๆ ผู้ใหญ่บ้านก็บ้านอยู่ข้างหน้านี้เอง เวลามีงานบุญ มีให้ความช่วยเหลืออะไร เราเต็มที่อยู่แล้ว ช่วยเท่าที่ความสามารถเราจะช่วยได้ วันเด็ก เราก็ส่งของเล่น ขนมไปทางผู้ใหญ่บ้าน หรือบางทีมีกรุ๊ปผู้ใหญ่ ก็ไปนิมนต์พระมาให้ใส่บาตรตอนเช้า วัดก็ได้เชื่อมโยงกับเรา แล้วเราก็แนะนำลูกค้าให้ใส่บาตรอาหารแห้ง ทางวัดจะได้เก็บได้ เพราะถ้าใส่อาหารสด พระมีไม่ถึง 10 คน ก็ไม่หมดอยู่แล้ว นี่เราก็เชื่อมโยงกันอย่างนี้

ตอนนี้ ที่ไม่แฮปปี้ คือถนนธนะรัชต์ที่ทำแบริเออร์ตรงเกาะกลาง เราเคยขับมาแล้วมันสบายตา ตอนนี้รู้สึกถนนแคบ เห็นแล้วอึดอัดตา แหม น่าจะทำประชาพิจารณ์ซักหน่อย ชาวบ้านตรงถนนบอกว่า มาทำประชาพิจารณ์เหมือนกัน แต่มาทำวันนี้แล้วก็เจาะวันนี้ แต่เราก็มองอีกว่า ทำไมชาวบ้านถึงเคยคัดค้านไม่ให้ถนนสี่เลน คือคุณจะมาเยอะไม่เป็นไร แต่อยากให้คงความเป็นเขาใหญ่ไว้ เพราะเคยข้ามไปหากันได้ พอสี่เลนก็ข้ามลำบาก ไม่ได้ส่งข้าวส่งน้ำเหมือนสมัยก่อน ก็เลยทำแค่ช่วงเดียว แต่แบริเออร์คงจะหยุดไม่ได้ละ เห็นบอกจะทำถึงกม.10 แต่จริงๆ ชีวิตความเป็นอยู่ที่เขาใหญ่ ถ้าบอกว่าเรามาจากกรุงเทพฯ ค่าใช้จ่ายที่นี่สูงนิดนึง เพราะเรามา 2-3 คืน ไม่ได้ทำอาหารไงคะ ต้องไปกินอาหารข้างนอก ถึงจะถูกจะแพง มาบ่อยๆ ก็เบื่อ แต่คิดว่าอนาคต ในบั้นปลาย ถ้าเรามาอยู่ที่นี่ คงต้องทำครัวเอง ตอนนี้ยังไปๆ มาๆ เพราะลูกยังเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ

ลูกเราทุกคนก็มาทำงานกับชุมชนที่นี่ ช่วยงานตลอดอยู่แล้ว ชุมชนก็รู้จักลูกเราทุกคน ลูกคนโตใกล้จะเรียนจบ เขาก็แพลนว่าจบแล้วอยากมาทำที่นี่ซักปีนึง คือที่นี่ก็มีโครงการตั้งหกปีที่แล้ว คือเอาเด็กรุ่นใหม่ หมายถึงทายาท พามารู้จักกัน เพื่อที่จะมาต่อยอดกัน สร้างชุมชนของเขา ก็จะมีกลุ่มเด็กๆ ประมาณ 10 กว่าคน รู้จักกัน ช่วยงานกัน เพราะเด็กรุ่นใหม่บางคน พ่อแม่ปล่อยแล้วนะ ไม่ว่าจะเป็นร้านหมากม่วง ไร่กรานมอนเต้ เดอะเปียโนรีสอร์ท ก็เป็นทายาทรุ่นต่อไปมาช่วยบริหารแล้ว เราหวังว่าเด็กกลุ่มนี้ก็จะไปต่อ จะได้เป็นแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเรา ก็บอกลูกอยู่เสมอว่า ที่นี่ไปได้นะ อาจจะไม่ได้รวย แต่ประคองตัวได้ แล้วไปพัฒนาเอา ตรงไหนที่คิดว่าไม่ใช่ ก็ปรับตามกำลัง แต่ ณ วันนี้ อย่างตุ๊กตาที่เห็นประดับอยู่ตามสวน อาจจะดูสะเปะสะปะ เพราะอากงชอบแบบนี้ ก็ต้องตามใจ อากงมาแล้วสบายใจ ก็ปล่อยเขา บางจุดเขาอาจจะให้เราทำ บางจุดอาจไม่ให้เราทำ อย่างเข้ามาเห็นคิงคอง บางทีเราก็จะบอกลูกค้าว่าโรงแรมที่มีคิงคอง เพราะที่อื่นไม่มี ใกล้ตัวคิงคองก็มีต้นเบาบับใหญ่มาก เวลาออกดอกสวยมาก เขาบอกว่าปลูกยาก เป็นของเก่าแก่ ก็บอกลูกค้าว่าที่อื่นยากนะที่จะเห็นต้นใหญ่แบบนี้ จะถามลูกค้าว่าเอาห้องพักตรงหน้าต้นเบาบับมั้ย แล้วที่นี่เคยขุดบ่อใส่น้ำ เพราะน้ำไม่พอ แต่ขุดไปไม่ลึกมากเจอหินอ่อน ก็เลยไม่ขุดต่อ ปล่อยกองหินอ่อนไว้ ก็มีแขกสูงอายุคนนึงจองห้องเดิมตลอดที่ตึกแรกเพื่อมาดูหินกองนั้น เขามาแล้วเขามีความสุข”

ประไพพิศ จารุวดีรัตนา
โรงแรมแกรนด์สิริ รีสอร์ท เขาใหญ่

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago