“คุณทราบไหมว่าสาเหตุที่รัฐตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวรไว้ที่จังหวัดพะเยา ซึ่งมีทำเลค่อนข้างห่างไกลกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจค้าบริการ
ในอดีต พื้นที่หนึ่งในจังหวัดพะเยา ขึ้นชื่อเรื่องการที่ผู้หญิงท้องถิ่นออกจากหมู่บ้านเพื่อเข้าทำงานค้าบริการในเมืองใหญ่ๆ จะเป็นเพราะถูกหลอก สมัครใจด้วยตนเอง หรือพ่อแม่เป็นคนตัดสินใจก็ตาม แต่จำนวนผู้หญิงที่เข้าสู่ธุรกิจที่มากเป็นพิเศษนี้ ทำให้มีหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าเพราะผู้คนในพื้นที่ยังเข้าไม่ถึงการศึกษา ทำให้ผู้หญิงหลายคนตัดสินใจดำเนินชีวิตด้วยรูปแบบนี้
และในเมื่อเราต้องการให้ผู้คนในพื้นที่เข้าถึงการศึกษา เราก็จำเป็นต้องมีพื้นที่การศึกษา จึงมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นนั่นเอง
แม้เรื่องที่เล่ามานี้จะไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา หรือที่ต่อมาจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยพะเยา นับตั้งแต่การก่อตั้งจนถึงทุกวันนี้ คือนำความรู้มาให้บริการและพัฒนาชุมชน ตลอดเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยจึงมีโครงการหรือหน่วยงานที่ช่วยยกระดับชุมชนมากเป็นพิเศษ และโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ที่เราได้รับทุนจาก บพท. ก็คือหนึ่งในนั้น
พะเยามีแหล่งทรัพยากรที่ยังมีบทบาทในฐานะแลนด์มาร์คสำคัญของเมืองอย่างกว๊านพะเยา โดยพื้นที่รอบๆ กว๊านยังมีทรัพยากรที่ชาวบ้านแปลงเป็นสินค้า ไปจนถึงการพัฒนาเป็นพื้นที่การเรียนรู้ โครงการของเราจึงมีแต้มต่อไม่น้อย แต่โจทย์สำคัญของโครงการหาใช่การนำเสนอพื้นที่เหล่านั้น แต่เป็นการเชื่อมโยงผู้มีความรู้ในพื้นที่ต่างๆ มาให้บริการชุมชน ช่วยฝึกอาชีพแก่ผู้ที่ด้อยโอกาส และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
เหตุนี้ จุดเด่นของโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ที่น่าจะต่างจากเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่คือ กลไกในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ไม่ได้มาจากพวกเราในฐานะคณะนักวิจัย แต่เป็นชาวบ้านในพะเยาที่เป็นวิทยากรให้ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นรูปแบบของชาวบ้านสอนชาวบ้าน ชุมชนหนึ่งสอนอีกชุมชนหนึ่ง แลกเปลี่ยนศาสตร์ความรู้ซึ่งกันและกัน และเผยแพร่ไปสู่ผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง
นักวิจัยในโครงการนี้มีหน้าที่เพียงเชื่อมต่อวิทยากรเข้ากับผู้เรียน ไปจนถึงเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจรวมถึงอาจารย์จากมหาวิทยาลัยพะเยาเอง ไปเป็นโค้ชช่วยเหลือผู้ประกอบการในการยกระดับผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน การทำเครดิตแบงค์ หรือการให้ผู้เรียนที่สามารถเก็บหน่วยกิตไปใช้กับมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างเป็นทางการได้ ก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง
ถามว่าคนมาเรียนหลายคนเป็นผู้ใหญ่ที่ทำงานทำการกันหมดแล้วหรือกลุ่มผู้สูงอายุ พวกเขาจะใช้คะแนนสะสมจากมหาวิทยาลัยไปทำอะไร ก็ต้องบอกอย่างนี้ครับ สิ่งนี้สร้างความภูมิใจแก่ผู้เรียนได้ว่าอย่างน้อยก็มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เพราะเมื่อเรานำเครดิตแบงค์มาใช้ เราก็จำเป็นต้องทำการสอบวัดผลผู้เรียนเพื่อให้ได้หน่วยกิต จึงช่วยจูงใจให้พวกเขามีความตั้งใจเรียน ขณะเดียวกันผู้ทำการสอนก็ต้องหาวิธีทำให้ผู้เรียนเข้าใจ หรือสนุกไปกับบทเรียน
มีตัวอย่างที่ชัดเจนคือกลุ่มบ้านดินคำปู้จู้ ที่สอนงานปั้นดิน ทางกลุ่มใช้กุศโลบายทางความเชื่อ ด้วยการให้ผู้เรียนใช้ดินปั้นบล็อคพระเครื่อง คนที่เรียนก็รู้สึกว่ามีแรงจูงใจ เพราะถ้าทำเสร็จก็จะมีพระเครื่องเป็นของที่ระลึก หรือจะเอาไปปลุกเสกก็ยังได้ จึงตั้งใจในบทเรียนและพิถีพิถันกับการทำงานเป็นพิเศษ
ขณะเดียวกัน หน่วยกิตที่สะสมนี้ ผู้เรียนยังสามารถนำไปใช้เป็นต้นทุนหนึ่งในการยื่นขอประกาศนียบัตรรับรองจากคณะต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัย รวมถึงองค์กรอื่นๆ ว่าได้ผ่านการเรียนรู้หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้อีกด้วย เช่นคุณเรียนรู้การแปรรูปอาหารมาแล้ว คุณต้องการนำไปพัฒนาเป็นอาชีพต่อ คุณก็นำหน่วยกิตที่ได้มาเป็นองค์ประกอบเพื่อยื่นขอรับประกาศนียบัตรรับรองความชำนาญได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้ว ตัวชี้วัดจริงๆ ของเรา คือการที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถต่อยอดความรู้ของตัวเองให้เป็นมูลค่าได้ ทุกคนสละเวลามาเรียน เพราะรู้ว่าจะได้ประโยชน์กลับไป ได้ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าเอาไปขายได้ และเมื่อโครงการนี้สิ้นสุดลง หากผู้ร่วมโครงการยังคงต่อยอดสิ่งที่เรียนมาเพื่อเป็นอาชีพต่อโดยไม่มีพวกเรา นั่นหมายถึงโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของเรา ประสบความสำเร็จ”
ศ.ดร.เสมอ ถาน้อย
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…