น้ำลูกยอ สูตรสมเด็จนวมฯ คือคุณปู่ (เชย ศรีวิทย์) ได้สูตรมาทำตอนที่บวชเรียนกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสโรมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดอนงคารามตอนนั้น พอคุณพ่อเข้าปีหนึ่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นช่วงสงครามโลกที่สอง คุณพ่อก็เป็นเสรีไทย ตกเย็นก็ฝึกอาวุธฝึกอะไรกันตรงใต้ถุนโดมริมน้ำ กลับบ้าน คุณปู่ก็ตักน้ำลูกยอจากโหล 1 ช้อนคาว ให้กินก่อนนอนทุกวัน เพราะสรรพคุณคือ เป็นยาอายุวัฒนะ ซ่อมแซมส่วนต่างๆ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ยิ่งเรามีสูตรที่รวมคุณประโยชน์ทั้งหลายด้วย
วิธีทำคือ เอาลูกยอที่เก็บตอนช่วงผลแข็งขาวๆ พร้อมสุก ประมาณ 25-30 ลูก ล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง แล้วเอามาบุบให้ลูกแตก ที่เขาเรียกว่า “ตำให้ช้ำย้ำให้ทั่ว” นำใส่โหลแก้ว แล้วใส่น้ำผึ้งจนเต็มโหล ประมาณขวดลิตร 4 ขวด น้ำตาลทรายแดง 1 กิโล พริกไทยประมาณ 300 กรัม ใส่ไปไม่ต้องคนอะไร ปิดฝาผนึกไว้ ไม่ต้องเปิดชมว่าไปถึงไหนแล้วนะ พอ 30 วัน ก็กรองกากออก ได้เป็นน้ำลูกยอเข้มข้นประมาณครึ่งโหล พร้อมกิน อยู่ในโหลที่อุณหภูมิห้องได้เป็นปีเลย บางคนกินวันละหนึ่งช้อน บางคนเอาไปต้มดื่ม ต้มน้ำลูกยอเข้มข้น 1 ต่อ 4 อยากได้ความหวานนิดนึง ก็ใส่น้ำตาลทรายแดงเพิ่ม แต่พริกไทยไม่ต้องละ เพราะกลมกล่อมแล้ว พริกไทยจะมีรสชาติเข้าปลายลิ้น ถ้าผสมน้ำลูกยออยู่ในตู้เย็นได้ 15 วัน บางคนชอบแบบร้อน ต้มแล้วเทใส่แก้วดื่มเป็นน้ำชาเลย แล้วแต่ความชอบ ดื่มไม่ยาก เด็กๆ ก็กินได้ แต่คือห้ามคนที่เป็นโรคไตกับสตรีมีครรภ์ เพราะยอมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก นี่คุณปู่เขียนไว้ในหนังสือเลย เพราะนอกจากท่านเป็นข้าราชการสมัยนั้นเรียกกระทรวงเศรษฐการ คือกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน ยังมีความรู้ด้านภาษาบาลี ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย มีตำราอยู่ที่วัดอนงค์ แล้วก็ทำด้านตั้งศาลพระภูมิ สะเดาะเคราะห์ทางพราหมณ์ เวลามีงานประจำปีคุณปู่ก็ต้องไปสวดที่โบสถ์พราหมณ์ถึงเช้าเลย
น้ำสมุนไพรลูกยอ บ้านคุณปู่ เกิดขึ้นมา ตอนหลวงพ่อพระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรฯ จัดฉลองเจดีย์ได้รางวัลยูเนสโก (รางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 (Award of Excellence) ปี พ.ศ. 2556 โครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ จากการประกวดโครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก) ในย่านกะดีจีนเรามี 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ 6 ชุมชน มีชุมชนวัดประยุรวงศ์ ชุมชนวัดบุปผาราม ชุมชนวัดกัลยาณ์ ชุมชนกุฎีขาว ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนโรงคราม แล้วก็มีพระ ศาลเจ้า คริสต์ มุสลิม อยู่ร่วมกันได้ นี่คือเหตุผลสำคัญด้วยที่ยูเนสโกเขาเล็งเห็นเพราะทั่วโลกนี่หายากแล้ว รางวัลนี้อาจารย์แดง (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง – UddC) ก็เป็นส่วนสำคัญนะ ก็ร่วมกันจัดงานฉลอง ให้บ้านใครมีอะไรดีก็เอาออกมา อย่างพี่น้อยหมูกระดาษก็มาร่วมด้วยกันนี่แหละ แต่ของเราเคยทำกินกันเอง ไม่เคยทำออกจำหน่าย ก็เลยเอาน้ำสมุนไพร น้ำลูกยอไป สมัยก่อนคุณปู่ต้มน้ำมะตูมด้วย ต้องคัดแหล่งที่ดี หรือตรอกมะตูมแถวบ้านเรา มะตูมแห้งแล้ว ใครคิดว่าต้องตากแดดอีกหนึ่งแดด นั่นคือสูตรคุณปู่ ตากอีกหนึ่งแดดแล้วน้ำในเนื้อมะตูมจะฉ่ำออกมา ต้มแล้วอบจะหอมมาก เราก็ทำน้ำมะตูม เก๊กฮวย อัญชัน ของพื้นบ้านพื้นฐานที่เราทำเป็น ออกไปขายงานวัดมาเรื่อยตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบัน ปีหนึ่งก็ 3 หน งานสมโภชวัดประยุรฯ เดือนมกราคม งานสงกรานต์ และงานลอยกระทง เวลาออกร้านสาวออฟฟิศจะชอบมาก เพราะน้ำลูกยอแก้กรดไหลย้อนได้ ลดน้ำหนัก ระบบเผาผลาญดี
เราอยู่บ้านนี้มาตั้งแต่เด็ก ก็ผูกพัน คนในละแวกนี้ก็รู้จักกันหมด การมีพื้นที่เรียนรู้ในย่านก็ดี เราอยากโชว์อยู่แล้ว แต่ไม่มีช่องทางที่ใครจะมาเปิด ยังพูดเสมอว่าอาจารย์แดงเหมือนดึงเรากับพี่น้อยออกจากบ้านให้คนอื่นได้เห็น ได้รู้จัก เหมือนเปิดประตูบ้านให้เรา เพราะเราก็อยู่ของเราในนี้แหละ ทำกินก็ไม่ได้ขาย แจกด้วย พอมาออกงานวัด ก็เออ ดีนะ ได้สตางค์ด้วย แต่ก็ออกแค่ปีละ 3 หนนะ มากินได้ที่งาน หรือโทรมาสั่ง ตอนนี้เราก็เข้าไปอยู่ในกลุ่มสตาร์ตอัปผู้สูงอายุ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เขาก็จะทำสติกเกอร์มาให้ติดที่ขวด อาจารย์พรศิริ (ดร.พรศิริ กองนวล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี) ให้ขวดแก้วมาใส่น้ำลูกยอเข้มข้น แนะนำว่าจะได้ดูดีขึ้น เมื่อก่อนจะน้ำลูกยอเข้มข้นหรือน้ำลูกยอก็ใส่ขวดพลาสติกแบบเดียวกันหมด
ต่อไปน้ำลูกยอสูตรคุณปู่ก็คงจะหมด แต่หลานก็ทำเป็น เขาชอบ เวลาเราทำเขาก็มาดู แต่เขาก็มีกิจการอะไรของเขา เราเองก็มีความคิดอยากทำบ้านเปิดเป็นร้านน้ำสมุนไพร ตั้งโต๊ะเล็กๆ ที่นั่งสัก 10 คน ตกแต่งจุ๊กจิ๊กแบบที่เราชอบ ใครเข้ามาก็รู้สึกดี หรือทุกวันนี้มีเด็กนักศึกษาโทรมาให้เราสอนทำน้ำลูกยอ เราก็ทำให้ดู บอกเขาถ้าอยากทำ ก็ไปทำเลย อย่างน้อยถ้าหมดเรา หลานเรา หรือไม่มีใคร ก็ยังมีคนที่รู้พวกนี้อยู่ก็ทำกันต่อไปได้ถึงจะไม่ใช่ญาติเราก็ไม่เป็นไร มันก็เป็นสิ่งที่ไม่ตาย เราก็รู้สึกชื่นใจนะ…
อุทัยวรรณ ศรีวิทย์
เจ้าของน้ำลูกยอ สูตรสมเด็จนวมฯ
ชุมชนวัดประยุรวงศ์
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…