“สมัยก่อนถ้าเป็นคนที่อื่นมาอยู่สระบุรี จะภาคเหนือหรืออีสาน เขาก็จะเรียกว่าคนลาวหมดครับ พอเมืองสระบุรีเริ่มเติบโตเพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้ง คนจากที่อื่นก็ย้ายมาทำงานที่นี่กันเยอะ
อย่างตลาดที่ผมขายของอยู่ทุกวันนี้ในเทศบาลเมืองแก่งคอย ก็เป็นตลาดที่ขยายมาจากตลาดเทศบาลฝั่งตรงข้าม ก็มีพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่มาตั้งแผงขายบนถนน จนเทศบาลเขาก็ผ่อนผันให้เป็นตลาดชั่วคราว โดยให้ขายแค่ช่วงเย็น ความที่คนต่างถิ่นมาขายตรงนี้เยอะ เลยเรียกต่อๆ กันว่าตลาดลาวมาจนถึงวันนี้
ก่อนหน้านี้ ผมทำงานบริษัทบริษัทผลิตสุขภัณฑ์ของแบรนด์ต่างประเทศที่มาเปิดโรงงานในแก่งคอย ผมเจอแฟนที่บริษัท แม่ของแฟนขายขนมไทยอยู่ตลาดลาวนี่ ขายมา 50 ปีแล้ว มีขนมชั้น ขนมหม้อแกง ขนมวุ้น และข้าวเหนียวมะม่วงตามฤดูกาล รวมถึงกระยาสารท แล้วแฟนก็ลาออกมาช่วยขาย รวมถึงทำกับข้าวใส่ถุงมาขายข้างๆ ร้านของแม่ ขายมา 20-30 ปีแล้ว
พอผมเออร์ลี่รีไทร์จากบริษัท ก็มาช่วยแฟนขายกับข้าว บางวันก็เอากับข้าวและขนมจากแม่ยายบางส่วนไปขายที่ตลาดโต้รุ่งด้วย เพราะต้องยอมรับว่าช่วงหลังๆ มันมีตลาดเกิดขึ้นเยอะ คอยดักคนที่ทำงานโรงงานรอบๆ แถมหาที่จอดรถง่ายกว่า เขาก็เข้ามาซื้อในตัวเมืองแก่งคอยน้อยลง เราก็เลยเอาของที่เราทำไปหาลูกค้าบ้าง ส่วนในตัวเมืองนี้ก็มีกำลังซื้อจากคนที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่ รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มาไหว้พระวัดแก่งคอย โดยเฉพาะเสาร์-อาทิตย์นี้ รถติดยาวบนถนนหน้าวัด ตลาดเราที่ขายตั้งแต่บ่ายสามโมงลงมาก็ได้อานิสงส์ไปด้วย
ควบคู่ไปกับการช่วยแฟนขายกับข้าว ผมก็ทำงานสังคมโดยเป็นประธานชุมชนสันติสุข ชุมชนที่ตลาดแห่งนี้และวัดแก่งคอยตั้งอยู่ด้วย และความที่ทำงานตำแหน่งนี้ เลยได้ร่วมกับทาง บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ทำโครงการวิจัยบ้าง รวมถึงโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้นี้ด้วย
ก็ไปร่วมอบรม ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทุกคนมีโจทย์เดียวกันคือต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำยังไงให้ย่านการค้าเก่าแก่ในเขตเทศบาลมันฟื้น รวมถึงหาวิธีดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานคนแก่งคอยกลับมาทำงานที่บ้าน เพื่อทำให้เมืองมีชีวิตชีวา
ก็มองกันหลายวิธี แต่ส่วนตัวผมนะ ผมว่าถ้าเราทำแก่งคอยให้ดึงดูดการท่องเที่ยวได้ ก็น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เยอะ เพราะเรามีถนนมิตรภาพตัดผ่าน ใครจะเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเขาใหญ่ หรือไปภาคอีสานต้องผ่านเราหมด จะทำยังไงไม่ให้เขาผ่านไปเฉยๆ แวะเข้ามาไหว้พระ มาเดินตลาด หรือมาเดินถนนคนเดินบ้างอะไรแบบนี้
ซึ่งก็มีแนวโน้มที่ดีนะครับ เพราะวัดแก่งคอยเขาก็พยายามสร้างจุดดึงดูดตลอด มีถ้ำพระยานาค มีพระธาตุอินทร์แขวนจำลอง มีเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อลาเป็นจุดขาย คนก็เริ่มมาเยอะ แต่ก็คิดกันว่าน่าจะมีแม่เหล็กเพิ่มขึ้น หรือกิจกรรมสักอย่างที่ทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจแวะพักสักหนึ่งคืน คือแก่งคอยก็มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติไม่น้อยนะครับ เป็นจุดปีนเขาและกีฬากลางแจ้งที่ได้รับความนิยม เพียงแต่มันยังเฉพาะทางอยู่ ถ้ามีอะไรเพิ่มกว่านี้ก็คงดี
ถามว่าแก่งคอยมีอะไรที่นักท่องเที่ยวอาจจะยังไม่รู้อีก จริงๆ แล้ว เมืองเรานี่อาหารอร่อยเยอะนะครับ สามารถทำเส้นทางตระเวนกินยังได้ มีร้านโรงสีกาแฟที่เขาทำคาเฟ่ในโรงสีเก่า ร้านราดหน้า ร้านข้าวมันไก่นี่ก็ดัง ส่วนตลาดโต้รุ่งที่ขายตอนเย็น ก็มีร้านอร่อยๆ เยอะ
ส่วนตลาดลาวนี้ก็ด้วยครับ ร้านแม่ยายผมเอง ‘ขนมหวานแม่อนงค์’ ใครมาก็ต้องแวะซื้อขนมกลับไป ไม่ได้แนะนำเพราะเป็นร้านแม่ยายหรอกนะครับ ร้านนี้เขาขึ้นชื่อจริงๆ (หัวเราะ)”
จิระวัฒน์ ตั้งใจ
ประธานชุมชนสันติสุข เทศบาลเมืองแก่งคอย
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…