“ราว 30 ปีที่แล้ว ป้าตามลุงโช (โชฎึก คงสมของ) ไปทำงานที่กรุงเทพฯ ลุงโชไปทำงานที่การบินไทย ส่วนป้าขายส้มตำและไก่ย่างด้วยรถเข็นคันเล็กๆ โดยเริ่มจากขายจากหน้าหมู่บ้าน อาศัยป้ายโฆษณาหมู่บ้านอันใหญ่เป็นที่วางรถเข็นและหลบแดด ช่วงแรกขายไม่ดี ท้อใจมาก ร้อนก็ร้อน ก็คิดจะเลิกขายแล้ว แต่พอผ่านไป 6 เดือน ลูกค้าบอกปากต่อปาก ทีนี้เลยมีคนมารุมซื้อเยอะมาก ก็เลยมีกำลังใจทำต่อ
ป้าขายบนรถเข็นจนเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง และก็ไปกู้ธนาคารเพื่อจะซื้อตึกเปิดร้านเป็นหลักแหล่ง พอธนาคารอนุมัติก็ได้เปิดร้าน ป้าตั้งชื่อร้านว่า ‘เฮือนกาฬสินธุ์’ เพราะเราเป็นคนกาฬสินธุ์ เลยใช้ชื่อนั้น ตำรับอาหารก็มาจากบ้านเรา รสชาติเข้มข้นกลมกล่อม นอกจากส้มตำ ลาบเป็น และไก่ย่าง ก็มีแกงหวาย ลาบปลาตะเพียน ไส้กรอกอีสานและปลาร้าก็ทำกันเอง ไม่ใช่สารเจือปน ผลตอบรับดีมาก จนสามารถขยายสาขาได้ ก็ขายมา 20 ปี
จนวันหนึ่งเราสองคนเริ่มมีอายุ ลุงโชก็บอกกับป้าว่าถ้าแกจะตาย แกอยากไปตายที่กาฬสินธุ์บ้านเกิดดีกว่า ป้าก็เลยยกกิจการให้ญาติดูแล และย้ายกลับบ้าน
ที่ดินตรงนี้เราซื้อไว้ระหว่างที่ทำงานที่กรุงเทพฯ น่าจะ 18 ปีแล้ว ตอนนั้นราคาไม่แพง เป็นที่นาโนน แห้งแล้งและปลูกข้าวไม่ขึ้น ลุงโชก็กลับมาขุดบ่อ ขุดสระเอง ปลูกกล้วย ปลูกผัก ก็ค่อยๆ ทำมาเรื่อยๆ โดยยังไม่มีแผนอะไร จนตัดสินใจกลับบ้านนี่แหละ ลุงโชก็ขึ้นอาคารเป็นเรือนอีสานแบบดั้งเดิม ทำเป็นร้านอาหารเฮือนกาฬสินธุ์อีกแห่ง แล้วก็ทำที่พักให้นักท่องเที่ยวมาเช่า รวมถึงพื้นที่จัดกิจกรรม เช่นจัดเลี้ยง งานสัมมนา ไปจนถึงจัดพิธีแต่งงานแบบประเพณีอีสาน
ลูกค้าส่วนใหญ่จะมาจากมหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และรอบๆ ในกาฬสินธุ์ก็มีบ้าง ส่วนใหญ่จะพาแขกมากินข้าว หรือมาจัดงาน ก่อนโควิด-19 นี่ดีมากค่ะ จองล่วงหน้าหลายเดือน มีหน่วยงานราชการต่างๆ มาใช้พื้นที่เราจัดกิจกรรม มีกลุ่มเขยฝรั่งในอีสานมาใช้เราเป็นสถานที่จัดงานแต่งงานหลายครั้งด้วย จนโควิดนี่หนัก ลูกค้าโรงแรมและจัดเลี้ยงไม่มีเลย พออยู่ได้จากร้านอาหาร จนมาช่วงนี้ก็ฟื้นขึ้นมาดีหน่อย สัมมนาเริ่มกลับมา ชมรมผู้สูงอายุในกาฬสินธุ์ก็ใช้สถานที่เราจัดกิจกรรม
จะบอกว่าเป็นบ้านผู้สูงอายุก็ได้ (หัวเราะ) เราสองคนอายุมากกันแล้ว มีคนวัยเดียวกันมาพูดคุยหรือทำกิจกรรมที่นี่ก็เพลินดี ลุงกับป้าไม่มีลูก แต่ก็ดีที่มีหลานมาช่วย เราคิดกันว่าที่นี่คือบ้านหลังสุดท้ายของเราแล้ว ก็อยากแบ่งปันให้คนอื่นๆ มาพักผ่อน หรือให้คนรุ่นใหม่มาใช้ประโยชน์กับพื้นที่ ได้ความรู้และความสุขกลับไป แต่ถึงจะบอกว่าเป็นบ้านหลังสุดท้าย แต่ทุกวันนี้ลุงโชแกก็ยังมีไอเดียจะพัฒนาพื้นที่ตรงนี้อีกเยอะเลยนะ ความที่แกทำและคุมก่อสร้างของแกคนเดียว ท่าจะเหนื่อยน่าดู แต่นั่นล่ะ เห็นแกมีความสุข ป้าก็ดีใจ”
สมพร คงสมของ
เจ้าของร้านเฮือนกาฬสินธุ์ สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์
https://www.facebook.com/cowboylao/?locale=th_TH
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…