“พี่มีอาชีพหลักเป็นครูโรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีอาชีพเสริมคือขายผ้าพื้นเมืองของชุมชน โดยพี่จะเป็นคนไปหาผ้าทอจากชุมชนต่างๆ เช่น ผ้าขาวม้าและผ้าคลุมไหล่ของตำบลโพนงาม ผ้าทอของอำเภอสามชัย หรือกลุ่มผ้าโทเร เป็นต้น มาขายตามงานต่างๆ ในเมืองกาฬสินธุ์
เวลาใครนึกถึงกาฬสินธุ์ จะคิดถึงผ้าไหมแพรวา ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อ แต่นั่นล่ะ ผ้าไหมแพรวาไม่ได้เป็นผ้าทอชนิดเดียวที่มีในบ้านเรา และอีกอย่างราคาก็ค่อนข้างสูง ไม่ใช่ทุกคนจะซื้อหามาใช้ได้ พี่จึงเลือกผ้าทอชนิดอื่นๆ ที่มีราคาไม่แรงนัก ซึ่งกลุ่มแม่บ้านในกาฬสินธุ์ทอมาขาย เพื่อให้เห็นว่าบ้านเรามีภูมิปัญญาการทอผ้าที่หลากหลายและรุ่มรวยนะ
หลักๆ ก็ขายที่ตลาดสร้างสุขตรงหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี ส่วนงานฟื้นใจเมือง ที่ริมคลองปาวนี้มาขายชั่วคราว เหมือนเป็นการลองตลาดตรงพื้นที่ที่ทางเทศบาลเพิ่งฟื้นฟูใหม่นี้
ถึงจะเป็นคนขายของ และเห็นด้วยว่าเราควรช่วยชาวบ้านให้มีธุรกิจเสริมอย่างการเอาของชุมชนมาขายบนถนนคนเดิน แต่พี่ก็ยังเห็นว่าจะเป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาเมืองก็ดี หรือกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐก็ดี มันไม่ควรเป็นแค่การจัดตลาดแบบชั่วประเดี๋ยวประด๋าว หรือจัดอีเวนท์ขึ้นมา 2-3 วันแล้วก็เลิกกันไป
เพราะมีตัวอย่างหลายครั้งมากที่มีหน่วยงานต่างๆ หรือสถาบันการศึกษาก็ดี มาสนับสนุนให้ชาวบ้านทำนั่นทำนี่ แล้วพอโครงการสิ้นสุด เขาก็ทิ้งชาวบ้านไป ไม่ได้หากลไกมาสานต่อ จากที่เริ่มไว้ดีๆ ชาวบ้านมีความหวัง ก็เหมือนถูกทิ้งไปเสียดื้อๆ ชาวบ้านเขาไม่ได้ลงทุนเพื่อจะได้แต่งตัวสวยๆ เพื่อถ่ายรูปในอีเวนท์ไปวันๆ เพราะหลายคนเขาต้องลงทุนทั้งแรง เวลา และทรัพย์สินเพื่อหาของมาขาย
อย่างตลาดนัดเนี่ย เดี๋ยวหน่วยงานนั้นจัด หน่วยงานนี้ก็จัด กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าก็ตามไปขายในทุกงาน และอย่างที่ทราบกาฬสินธุ์เรามีคนไม่เยอะ คนที่มาเดินก็หมุนวนกัน เขาก็ไม่มีกำลังซื้อในทุกตลาดหรอก ก็ควรต้องคิดกันว่า ถ้ามีงบประมาณมาแล้ว เราจะมีทางเลือกที่ดีกว่าแค่จัดตลาดนัดใหม่อีกหนึ่งตลาด หรือจะทำอย่างไรให้ตลาดมันสามารถไปต่อของมันได้ โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณของโครงการ
คืออย่างพี่ พี่ไม่กังวลหรอก เพราะมีอาชีพหลักอยู่แล้ว แค่อยากขายผ้าพื้นเมืองเป็นอาชีพเสริม จะได้ช่วยส่งเสริมกลุ่มทอผ้าด้วย แต่พ่อค้าแม่ค้าอีกหลายๆ คน เขาถูกชักชวนมาขาย เขาก็หวังว่ามันจะช่วยให้ชีวิตเขาดีขึ้น ถ้าคุณแค่ทำตามทีโออาร์ มันก็ไม่ต่างอะไรกับชวนเขามาเล่นขายของ
ถึงจะบอกแบบนี้ แต่พี่ไม่ได้แอนตี้อะไรตลาดนัดที่จัดอยู่ทั่วเมืองตอนนี้นะ เพียงแต่ก็อยากให้ภาครัฐหรือผู้มีส่วนขับเคลื่อนโครงการต่างๆ คิดถึงชาวบ้านให้มากๆ คุณมีงบประมาณ มีเครือข่าย และมีอำนาจในเชิงนโยบาย ก็อยากให้คิดถึงความยั่งยืนของคนที่คุณชวนให้เขามาร่วมงานด้วย”
อุ่นจิต ทิสา
ครูโรงเรียนกมลาไสย และผู้ประกอบการจำหน่ายผ้าทอพื้นเมืองกาฬสินธุ์
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…