“แต่ก่อนผมเป็นลูกศิษย์อาจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน ที่ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สมัยเป็นนักศึกษาเคยช่วยอาจารย์ทำงานวิจัยอยู่หลายโครงการ จึงคุ้นเคยกัน พอเรียนจบ ผมก็ไปทำงานที่สมุทรสาครก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่อาจารย์จิระพันธ์ ทำวิจัยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่กาฬสินธุ์ จนนำมาสู่นวัตกรรมด้านอาหารของจังหวัด
จุดเริ่มต้นมาจากที่เกษตรกรชาวกาฬสินธุ์เขาเลี้ยงปลาดุกสายพันธุ์รัสเซีย ซึ่งกำลังประสบภาวะล้นตลาด เพราะขนาดของมันใหญ่เกินไป ผู้คนไม่นิยมบริโภค อาจารย์ก็เลยคิดถึงการแปรรูปปลาสายพันธุ์นี้เป็นอาหารประเภทอื่น ก่อนมาลงตัวที่ไส้กรอกปลาด้วยกระบวนการอิมัลชั่น (emulsion)
อาจารย์ได้ร่วมมือกับท่านนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ จารุวัฒน์ บุญเพิ่ม ทดลองทำไส้กรอกกินเองในหมู่เพื่อนฝูงก่อน แล้วพบว่าทุกคนชอบ ลงความเห็นว่าทำขายได้ จึงมีการก่อตั้งโรงงานผลิตไส้กรอกปลาจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ตั้งชื่อแบรนด์ว่า ‘ไส้กรอกปลากาฬสินธุ์’
พอตัดสินใจว่าจะทำโรงงาน อาจารย์ก็เลยชวนให้ผมมาทำงาน ผมจึงกลับมาเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตที่นี่ตั้งแต่ปี 2541 โดยโรงงานที่ผมดูแลแห่งนี้ถือเป็นผู้ผลิตไส้กรอกปลาเจ้าแรกของประเทศไทย
จากนั้นนายกจารุวัฒน์ท่านก็ไปทำการตลาด ไปประสานกับร้านอาหารและโรงแรมในกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียงให้ลองนำผลิตภัณฑ์เราไปใช้ พร้อมด้วยนำไส้กรอกปลาไปออกบูธตามอีเวนท์ต่างๆ และความที่เราใช้แบรนด์ว่าไส้กรอกปลากาฬสินธุ์ด้วย สมาคมหรือหน่วยงานต่างๆ จึงช่วยส่งเสริมจนกลายเป็นของฝากประจำจังหวัด
ก่อนจะมีไส้กรอกปลา กาฬสินธุ์มีของฝากประเภทอาหารขึ้นชื่อคือหมูทุบกับหมูเค็มกรอบของกลุ่มแม่บ้านตำบลนาจารย์ครับ นายกฯ ก็อยากให้เมืองเรามีของฝากด้านอาหารมากขึ้น เลยเปิดให้ผู้ที่สนใจอยากทำไส้กรอกปลามาเรียนรู้กับโรงงานเราโดยตรง เราก็ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โดยไม่หวงความรู้ รวมถึงให้ไปเปิดแบรนด์ไส้กรอกปลาเป็นของตัวเองด้วย ทุกวันนี้เราก็เลยมีผู้จำหน่ายไส้กรอกปลาแบรนด์อื่นๆ ด้วย
เรามีไส้กรอกให้เลือก 3 รส คือรสดั้งเดิม รสพริกไทยดำ และพริกไทยสด จะผลิตจากโรงงานเราตรงนี้ที่เดียวครับ เพราะเราจะสามารถควบคุมความสด และการทำอิมัลชั่นให้เนื้อมันนุ่มและเหนียวพอดี รวมถึงรสชาติที่กลมกล่อม
ทุกวันนี้โรงงานเราจะผลิตส่งตัวแทนไปกระจายสินค้าเป็นหลัก แต่ลูกค้าก็สามารถมาซื้อกับเราที่โรงงานในย่านเมืองเก่าได้โดยตรง แต่ถ้าเป็นร้านอื่นๆ รวมถึงร้านค้าออนไลน์ จะมีตัวแทนจำหน่าย ซึ่งพร้อมจัดส่งทั่วประเทศ มีวางขายตามร้านค้าปลีกรวมถึงโมเดิร์นเทรดหลายจังหวัดในภาคกลางที่เป็นตลาดใหญ่ ภาคอีสานก็ด้วย แต่ไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด
อย่างอุบลราชธานีเคยไปวางแล้ว ยอดไม่ดีเท่าไหร่ มารู้ทีหลังว่าคนอุบลเขาชอบกินหมูยอบ้านเขามากกว่า ไส้กรอกปลากาฬสินธุ์เลยตีตลาดหมูยอเขาไม่ได้ (หัวเราะ) แต่กับอีกหลายจังหวัด ก็มีลูกค้าประจำติดกันเยอะครับ
ซึ่งทุกวันนี้ ผมก็ดีใจที่เห็นคนติดรสชาติเราไปแล้ว หรือใครแวะเวียนมาเที่ยวกาฬสินธุ์ก็จะซื้อไส้กรอกปลากลับไปเป็นของฝาก จนกลายเป็นภาพจำที่ทุกคนคุ้นเคย ถ้านึกถึงไส้กรอกปลา ต้องที่กาฬสินธุ์”
อานุภาพ ภูชาคำผู้จัดการฝ่ายผลิ
ตไส้กรอกปลากาฬสินธุ์
https://www.facebook.com/K.FishSausage/
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…