ถ้ารวมกันแบบนี้ได้ อาชีพประมงรวมไปถึงเกษตรกรจะกลายเป็นอาชีพที่มั่นคงและน่าภูมิใจ ลูกหลานก็อยากกลับบ้านมาสานต่อ

“กลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลปากพูนเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของบทเรียนที่ว่า หากทุกคนหันหน้าเข้าหากัน และคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ต่อให้มีวิกฤต เราก็จะเจอโอกาส

ผมเข้ารับราชการประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี 2561 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ทางตำบลปากพูน และอีกหลายชุมชนที่ทำประมงพื้นบ้านในจังหวัด ประสบปัญหาทรัพยากรสัตว์น้ำขาดแคลนจากการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย

เลยมีการรณรงค์ให้เลิกทั้งหมด โดยทางหมู่ 4 ตำบลปากพูน ที่เป็นชุมชนเลียบคลองที่เชื่อมไปถึงปากอ่าวปากพูน เป็นตัวตั้งตัวตีในการยกเลิกอย่างจริงจัง


จำได้เลยว่าช่วงสามเดือนแรก ชาวประมงที่นี่เขาก็แทบจะยอมแพ้กัน จนเข้าเดือนที่ 4 เท่านั้นแหละ พอพวกลูกปลาเจริญวัย ชาวบ้านก็มีให้จับเต็มไปหมด รายได้พวกเขาก็กลับมาดีเหมือนเดิม

พอเลิกใช้เครื่องมือพร้อมกันได้ ชุมชนนี้ก็เป็นตัวอย่างให้ที่อื่นๆ ทำตาม ซึ่งต้องยกย่องผู้นำชุมชนเขาด้วย เพราะเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการรณรงค์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการทำกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้าน และการก่อตั้งอาสาสมัครเฝ้าระวังเครื่องมือผิดกฎหมาย

ส่วนคำถามที่ว่าอยากให้ชาวประมงพื้นบ้านเรียนรู้อะไรเป็นพิเศษ ผมขอตอบแทนทั้งชาวประมงและเกษตรกรด้านอื่นๆ ในนครล่ะกัน อยากให้พวกเขาเรียนรู้ในการขายของครับ

ทุกวันนี้เทคโนโลยีมันช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้เยอะ จนคุณไม่จำเป็นต้องพึ่งพา ‘ล้งหรือพ่อค้าคนกลาง’ ในการจำหน่ายสินค้าแค่ช่องทางเดียวอีกต่อไป

ดูอย่างที่กลุ่มวิสาหกิจอาหารทะเลแปรรูปของปากพูนทำก็ได้ เขามีเพจเฟซบุ๊คขายของเขาเอง จับอาหารทะเลมาแปรรูป พักไว้ที่กลุ่มแป๊บเดียว ก็มีออร์เดอร์มาเต็มไปหมด

ซึ่งเอาจริงๆ กุ้งแห้งที่ปากพูนมีราคาสูงกว่าท้องตลาดนะครับ แต่ก็เพราะคุณภาพของผลิตภัณฑ์และมาตรฐานการผลิต คุณกินกุ้งแห้งที่ปากพูน คุณก็จะไม่อยากไปกินกุ้งแห้งที่ไหนอีก”

พรศักดิ์ ศักดิ์ธานี
ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช 

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

4 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago