ถ้าเชียงใหม่มีสวนสาธารณะให้นั่งพักมากกว่านี้ จะจูงใจให้คนหันมาใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้น รถติดน้อยลง คนขับรถอยู่ได้ และมีรายได้ไปพัฒนาการบริการให้ดีขึ้น

“ผมขับรถสี่ล้อสีเหลืองเส้นทางเชียงใหม่-เวียงป่าเป้า พาผู้โดยสารที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า นักเรียน คนทำงาน นักท่องเที่ยว และพี่น้องชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามเส้นทางเข้า-ออกเมืองเชียงใหม่มาสี่สิบกว่าปีแล้ว ขับมานานจนคนขับรถประจำทางด้วยกันตั้งให้เป็นประธานกรรมการสหกรณ์นครเชียงใหม่เดินรถ จำกัด ติดกันมา 5 วาระ งานของผมคือช่วยประสานงานกับพี่น้องคนขับรถสี่ล้อเหลืองใน 28 เส้นทาง ซึ่งมีอยู่นับพันคันใน 4 จังหวัดภาคเหนือ

คนชอบมองว่ารถประจำทางสี่ล้อมักไม่พัฒนา เป็นมายังไงก็อย่างนั้น แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเรามีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องเงินทุน ยิ่งช่วงโควิดนี่เจอหนัก รายได้แทบไม่มี แล้วมาเจอค่าน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัวอีก เราต้องแบกรับภาระในเรื่องนี้ จะให้ไปขึ้นค่าโดยสารก็กระทบกับลูกค้าอีก เพราะอย่าลืมว่าเราเป็นทางเลือกในการเดินทางระหว่างอำเภอและจังหวัดที่ประหยัดที่สุด ก็ต้องหาวิธีสู้กันไป ให้ได้ประโยชน์ทั้งคนขับและผู้โดยสาร

ผมมองว่ารัฐหรือเทศบาลช่วยเราได้มากนะ ไม่ใช่แค่การชดเชยรายได้ แต่ยังรวมถึงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจูงใจผู้โดยสาร คุณสังเกตดูสิ เรามีรถประจำทางรวมรถสี่ล้อแดงวิ่งเป็นพันๆ คัน แต่ในเมืองเราแทบไม่มีที่นั่งสาธารณะดีๆ ไว้รอรถเลย ผมจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับโครงการปรับปรุงสวนริมน้ำปิงตรงกาดวโรรส เพราะจุดนั้นคือจุดที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่จะมาขึ้นรถประจำทางกลับบ้านไปยังอำเภอต่างๆ แทนที่เขาจะต้องมานั่งรอในรถหรือตามม้านั่งริมถนน ก็ได้มาพักร้อนในสวนร่มๆ ก่อนออกเดินทาง

ส่วนตัวผมคิดว่าถ้าเมืองเรามีสวนมากขึ้น หรือมีที่นั่งพักที่มีร่มเงามากกว่านี้ตามจุดต่างๆ จะช่วยจูงใจให้คนหันมาใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้นด้วยเช่นกัน คนใช้รถสาธารณะมากขึ้น รถก็ติดน้อยลง คนขับรถก็อยู่ได้ แถมยังมีรายได้ไปพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้นในระยะยาวอีกด้วย”

///

ดุสิษฐ์ รัตนาดารา

ประธานกรรมการสหกรณ์นครเชียงใหม่เดินรถ จำกัด

#WeCitizensTh #LearningCity #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

7 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago