“ผมมีบ้านอยู่ที่นี่ครับ แต่ไปทำงานที่อื่น ไม่ได้อยู่ขอนแก่นมา 17 ปีแล้ว คือ พึ่งกลับมาได้ไม่นาน พอมาถึงก็รู้สึกแปลกใจพอสมควร เพราะขอนแก่นเปลี่ยนไปเยอะมาก พัฒนาขึ้นมีอะไร ๆ ที่เหมือนเมืองใหญ่ ๆ มี ผมจึงมาเริ่มทำร้านกาแฟ ตอนแรกก็คิดอยู่ว่า คนจะกินกันเยอะไหมนะ คนจะอินรึเปล่า แบบที่เราเห็นเทรนด์ในเมืองอื่น ๆ ไปมา ๆ ช่วงที่ 5 ปีที่ผ่านมาร้านกาแฟกลายเป็นแฟชั่นของคนเมืองขอนแก่น คนพากันมาถ่ายรูปซะส่วนใหญ่ มาดื่มกาแฟจริงจังก็พอมี ไม่เยอะ แต่ดูแนวโน้มแล้วดีขึ้นครับ เหมือนคนเริ่มเข้าใจ ซึ่งก็ตรงกับที่เราคิดไว้ตอนเปิดร้านว่ากลุ่มลูกค้าของเรา คือ คนที่ชอบกาแฟ รักการดื่มกาแฟ และจริงจังกับมัน
ร้านของเราเปิดแต่เช้าครับ 7 โมงครึ่ง คือ เปิดแต่ไม่ค่อยมีลูกค้า เราก็หวังว่าคนมาวิ่งที่บึงน่าจะแวะมาบ้าง แต่ก็ยังไม่มาก เมื่อก่อนเคยเปิด 9 โมง ตอนนี้เปลี่ยนมาเปิดเช้าขึ้นเพราะต้องเลี้ยงลูก เลยปรับเวลาเป็นเปิดแต่เช้าตรู่แล้วปิดร้านเร็วหน่อยจะได้มีเวลาดูแลเขา
ถ้าให้พูดถึงขอนแก่น ผมคงมองไม่ได้ลึกซึ้งเท่าคนในตลาด หรือคนที่เขาอยู่ในเมืองมานาน ๆ แบบไม่ย้ายไปไหน อย่างที่บอกว่าผมแปลกใจที่เมืองพัฒนาไปมาก มากแบบมีทุกอย่าง มีห้าง มีโรงแรม ย่านธุรกิจ แต่สิ่งที่ขาดและจำเป็นมาก ๆ คือ ขนส่งสาธารณะ แบบวิ่งวนรอบเมืองและเชื่อมไปอำเภอรอบนอก จริงอยู่ว่าเดี๋ยวนี้ในเมืองมี Grab แต่มันก็ไม่ใช่ของพื้นฐานอย่างรถประจำทาง ยิ่งพอจะออกจากเมืองเชื่อมไปอำเภอรอบ ๆ ก็เริ่มลำบากละ การอยู่ขอนแก่นจึงต้องมีรถ ส่วนข้อดีของการพัฒนาอย่างเรื่องสวนสาธารณะขอนแก่นมีสวนและบึงอยู่กระจายรอบเมือง เป็นที่โล่ง มีต้นไม้ เป็นสวนที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์การกระจายตัวของเมือง และบริการคนที่อยู่รอบ ๆ ได้ดีทีเดียว ใกล้ที่ไหนไปที่นั้น
ส่วนเรื่องรถรางเบา ผมมองว่าถ้าทำได้จริง ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ ผมยังไม่ได้ตามอ่านข้อมูลมากนัก เลยไม่รู้ว่าตกลงตอนนี้โครงการเขาเดินหน้าไปถึงไหนกันแล้ว แต่มองว่ามันน่าจะตอบโจทย์เรื่องการขนส่งภายในเมืองขอนแก่นได้แน่ ๆ ถ้ามีขึ้นจริง ๆ อาจจะมีช่วงแรก ๆ ที่น่าจะมีปัญหาเรื่องการจราจรนิดหนึ่ง เพราะคนน่าจะยังไม่ชิน ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องประชาสัมพันธ์เยอะขึ้น เพราะอย่างตอนนี้ พูดตรง ๆ นะครับ ผมก็ยังแทบจะไม่ค่อย หรือได้รับรู้เรื่องข่าวผ่านการประชาสัมพันธ์แบบจริงจัง ได้ยินข่าวคนเขาคุยกันมาเฉย ๆ ยังไม่เห็นรูปร่าง ไม่รู้ว่าจะเริ่มสร้างสถานีตรงไหน หรือใช้ถนนเส้นไหนในการเดินรถ แต่ถ้าถามว่ารอคอยไหม ก็อยากให้มีคนทำ อยากให้เมืองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น”
พิณยพงศ์ ชลหาญ
เจ้าของร้านกาแฟ prodigy
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…