ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย
ในปีพ.ศ.2565-2566 บพท. ได้วางแผนและดำเนินการต่อยอดการสนับสนุนงานวิจัย “การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” โครงการ “การขับเคลื่อนผลงานวิจัยผ่านการสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” จึงมีหน้าที่ในการต่อยอดงานวิจัย โดยการสังเคราะห์และสรุปทเรียนจากการทำงานของนักวิจัย และนักจัดการพัฒนาเมืองจาก 18 เมืองทั่วทุกภูมิภาคที่ได้รับทุนวิจัย และเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อสื่อสารและส่งต่อการเรียนรู้ ประสบการณ์ของนักวิจัยและนักพัฒนาเมืองจาก 18 เมืองไปสู่เมืองต่างๆ ที่กำลังดำเนินงานพัฒนาเมืองในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนองค์ความรู้การวิจัย และนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยต่อไปในอนาคต
เพจ WeCitizens ที่ทุกท่านติดตามอยู่นี้ จึงเป็นสื่อกลางในการสื่อสารเรื่องราวของผู้คนหลากหลายในเมืองแห่งการเรียนรู้ จาก18 เมืองทั่วประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 2 โครงการวิจัย ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองเชียงใหม่
2. จังหวัดลำปาง ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองลำปาง
3. จังหวัดราชบุรี ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองราชบุรี
4. จังหวัดกรุงเทพฯ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ย่านกะดีจีน
5. จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองกาฬสินธุ์
6. จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองปากพูน
7. จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ตลาดใต้ เมืองพิษณุโลก
8. จังหวัดจันทบุรี ดำเนินการวิจัยในพื้นที่อำเภอขลุง
9. จังหวัดพะเยา ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยา
10. จังหวัดปทุมธานี ดำเนินการวิจัยในพื้นที่อำเภอธัญบุรี
11. จังหวัดระยอง ประกอบด้วย 2 โครงการวิจัย ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เทศบาลนครระยอง
12. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ชุมชนพูนสุข เทศบาลเมืองหัวหิน
13. จังหวัดยะลา ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เทศบาลนครยะลา
14. จังหวัดสงขลา ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ย่านเมืองเก่าหาดใหญ่
15. จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวิจัยในพื้นที่รอบเมืองขอนแก่น
16. จังหวัดสระบุรี ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เทศบาลเมืองแก่งคอย
17. จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง
18. จังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ย่านอัจฉริยะเมืองนครสวรรค์
ผู้คนและเมืองในแต่ละภูมิภาคล้วนแต่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ด้วยบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ทำให้ทุกเมืองมีแนวคิด แนวทางในการพัฒนาเมืองของตนเองให้เป็นเมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…