“ที่ครูปลื้มใจจริงๆ ไม่ใช่การได้เห็นเด็กๆ สอบเข้าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ แต่คือการได้เห็นเด็กๆ ของเรามีทักษะในการค้นคว้าข้อมูล มีทักษะการจัดการต่างๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องให้ครูมาช่วย และมีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตต่อไปในอนาคต”

“โรงเรียนหลายแห่งในบ้านเราอาจมีพิพิธภัณฑ์ แต่มีโรงเรียนไม่กี่แห่งที่ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีชมรมโบราณคดีที่มีเด็กนักเรียนคอยช่วยดูแลพร้อมกับนำชมพิพิธภัณฑ์ และทำกิจกรรมด้านโบราณคดีในจังหวัด อย่างโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี


ชมรมนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 36 ปีก่อน โดยอาจารย์ธำรง เตียงทอง มีชื่อเดิมว่าชมรมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ท่านมองเห็นว่าราชบุรีเป็นเมืองที่มีพื้นที่สำคัญทั้งในยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ จึงอยากปลูกฝังให้นักเรียนได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของเมือง แล้วอาจารย์ท่านก็เริ่มสะสมวัตถุโบราณต่างๆ พร้อมกับมีชาวบ้าน และหน่วยงานต่างๆ นำมาบริจาคด้วย พออาจารย์ท่านเกษียณ ท่านก็เปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์)

จริงๆ ครูกิ๊ฟ (ผู้พูด) เป็นครูภาษาอังกฤษค่ะ แต่ความที่เด็กๆ ในชมรมเขาต้องทำสคริปต์นำชมพิพิธภัณฑ์เป็นภาษาอังกฤษ พวกเขาก็มาให้ครูช่วยเช็คความถูกต้องให้ ครูก็ช่วยเขาเรื่อยๆ จนผูกพัน ซึ่งพอดีกับครูที่เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาชมรมคนเก่าเขาลาออกไป ครูก็เลยกลายมาเป็นแทน ตอนนี้มีครูที่เป็นทีมงานทั้งหมด 7 ท่าน และมีนักเรียนที่เป็นสมาชิกชมรมประมาณ 140 คน

สมาชิกชมรมทั้งหมดเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลาย เราเป็นชมรมที่ใหญ่ที่สุดในโรงเรียน และความที่มีเด็กๆ อยากเข้าชมรมมาก จึงต้องมีการสอบเข้า ทั้งการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ ปีๆ หนึ่งเราจะรับนักเรียนได้แค่ประมาณ 40 คน พอเข้ามาเราก็มีเสื้อช็อปเป็นเครื่องแบบ จะมีการเข้าค่ายโบราณคดีทุกปี ไปกางเต็นท์ และทำกิจกรรมด้านการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในพื้นที่จริงของราชบุรี ถ้าคนไหนผ่านค่ายแล้วก็จะมีอาร์มประดับเสื้อ สะสมทุกครั้ง คล้ายๆ ลูกเสือ ซึ่งศิษย์เก่าที่จบไปแล้วก็มีสิทธิ์เข้าร่วมค่ายกับเราด้วย การออกค่ายครั้งหนึ่งนี่มีสมาชิกที่เรียนอยู่ครึ่งหนึ่ง และศิษย์เก่าอีกครึ่งหนึ่ง จัดทีครั้งหนึ่งนี่มีคนร่วมประมาณ 300 คนเลยนะคะ คึกคักมากๆ

ส่วนค่าใช้จ่ายในชมรมเราไม่ได้เบิกจากโรงเรียนเลยค่ะ ส่วนหนึ่งเป็นการเก็บออมของนักเรียน ทำกิจกรรมเล่นดนตรีเปิดหมวก หรือเปิดบูทขายของในเทศกาลต่างๆ ของเมือง คือนอกจากชมรมเราจะทำให้เด็กๆ มีความรู้เรื่องโบราณคดีพื้นฐาน สามารถทำทะเบียนจัดเก็บวัตถุโบราณ และนำชมพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนได้ เด็กๆ ทุกคนก็จะมีความรับผิดชอบในการเก็บออม และสามารถทำกิจกรรมเชิงสังคมพร้อมกันด้วย


นอกจากนี้ ความที่พิพิธภัณฑ์ของเราอยู่ในเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลางของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) เด็กๆ จึงได้มีโอกาสไปดูงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งอื่นๆ รวมถึงไปร่วมงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ ขณะเดียวกัน ก็ได้พี่ๆ นักศึกษาโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยศิลปากร มาอบรมเรื่องการทำงานกับโบราณวัตถุให้เรา

เนื่องจากชมรมเราก่อตั้งมาเพราะมองเห็นว่าราชบุรีเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้อยู่แล้ว พอคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เราก็เลยยินดีที่จะร่วมโครงการด้วยอย่างมาก เช่น เขาลงพื้นที่สำรวจเมือง เราก็ส่งเด็กๆ ร่วมด้วยทุกครั้ง มีการจัดเวิร์คช็อป ประกวดออกแบบผังเมือง หรือประกวดออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว เราก็ไปร่วมด้วย ซึ่งเด็กๆ ของเรายังได้รางวัลชนะเลิศมาด้วย ครูกิ๊ฟก็ดีใจ เพราะไม่ใช่ว่าเราได้รับรางวัล แต่ดีใจที่ได้เห็นเด็กๆ ของเรามีความกระตือรือร้น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีมุมมองต่อการพัฒนาเมืองของเรา

ที่ครูปลื้มใจจริงๆ ไม่ใช่การได้เห็นเด็กๆ สอบเข้าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ เพราะแม้จะเป็นชมรมโบราณคดี ความสำเร็จจริงๆ ของชมรม คือการได้เห็นเด็กๆ ของเรามีทักษะในการค้นคว้าข้อมูล มีทักษะการจัดการต่างๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องให้ครูมาช่วย และมีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตต่อไปในอนาคต”

กมลภัทร ตนุเลิศ
ครูที่ปรึกษาชมรมโบราณคดี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
https://www.facebook.com/AclubBJ

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

2 days ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

2 days ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

2 days ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

2 days ago

[The Insider]<br />จักรพงษ์ แสงบุญ

“ไม่ว่าเชียงรายจะพัฒนาสู่เมืองในนิยามใดเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าผู้คนไม่รู้จักเรียนรู้ต้นทุนของเมือง และไม่รู้จักปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง” “เวลาพูดถึงเครื่องมือการพัฒนาเมือง ความยากของเชียงรายคือ เราต้องรับมือกับความท้าทายหลายมิติ และไม่อาจละทิ้งประเด็นใดได้เลย เชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (Brown City) ที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเหมือนหลายเมืองทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับสังคมสูงวัย (Silver City) รวมถึงภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม…

2 days ago

[The Insider]<br />ดร.สุจิรา พุทธวีวรรณ

“เราหวังให้ที่นี่เป็นมากกว่าห้องสมุดแต่เป็นพื้นที่กลางให้ผู้คนทุกช่วงวัยได้มีความสุขร่วมกัน” “ห้องสมุดเสมสิกขาลัย เกิดจากดำริของ ศ. นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นายแพทย์คนสำคัญผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินของท่านซึ่งมอบให้เทศบาลนครเชียงรายนำไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์ห้องสมุดเปิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่าน (เกิดปี 2454…

2 days ago