ถ้าเมืองเราดี หรือมีพื้นที่ที่ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกมีความหวัง พวกเขาจะกลับมาเอง

“ผมเคยเป็นผู้จัดการร้านเหล้าที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นงานที่ทำระหว่างเรียนปริญญาตรีจนกระทั่งเรียนจบ จากนั้นก็ไปลองใช้ชีวิตและทำงานหลายอย่างที่แอลเอ ราว 2 ปี ก่อนกลับมาหางานทำที่เชียงใหม่อีกสักพัก แล้วกลับมาอยู่บ้านที่พะเยาก็ได้รู้จักอาจารย์โป้ง (ปวินท์ ระมิงค์วงศ์) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยพะเยา

อาจารย์โป้งเป็นอีกคนที่ทดลองใช้ชีวิตมาหลายที่ก่อนจะมาปักหลักที่พะเยา ผมกับอาจารย์โป้งเห็นตรงกันว่าพะเยายังขาดพื้นที่สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ เราจึงร่วมหุ้นกันเปิด Junk Yard เป็นทั้งบาร์และอาร์ทสเปซ มีกิจกรรมฉายหนัง แสดงงานศิลปะ และดีเจ นั่นคือเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วครับ ช่วงนั้นสนุกมาก มีคนรุ่นใหม่เข้ามาใช้พื้นที่อย่างหลากหลาย

หลังทำ Junk Yard ผมก็ออกมาเปิดร้านขายเสื้อผ้ามือสอง และเริ่มแบรนด์ผลิตเสื้อผ้าของตัวเองชื่อ Lakeland Life เพราะอยากมีเสื้อผ้าแบบ custom ที่ตอบโจทย์กับการใช้งานของเรา และอีกอย่างคือพะเยายังไม่มีร้านแบบนี้ ที่ตั้งชื่อว่าเลคแลนด์ก็ตามตัวเลยครับ ร้านเราอยู่ริมกว๊านพะเยา และเมืองเราก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกว๊าน คิดไกลๆ ว่าอยากให้แบรนด์นี้มันเป็นแบรนด์ของคนรุ่นใหม่ในเมือง

ซึ่งความเป็นแบรนด์แบบนี้มันก็ต่อยอดได้หลายอย่าง เพราะหลังจากธุรกิจเสื้อผ้าอยู่ตัว ผมก็ทำ Lakeland Store ขายสินค้ามือสอง Lakeland Café เป็นร้านกาแฟและขนมที่ทำร่วมกับแฟน ตามมาด้วย Lakeland Camp ที่เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ ซึ่งอันหลังนี้เพิ่งเปิดได้ไม่นาน


ที่ทำกิจกรรมท่องเที่ยวนี่จะว่าบังเอิญก็ใช่ คือมีเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งเขาทำทัวร์กับเพื่อนที่กรุงเทพฯ แล้วเขาเอาเรือคายัคมาฝากผมไว้ ผมก็เลยยืมเขาเอาไปพายเล่นในกว๊าน ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดมาก่อนว่าที่ผ่านมาในกว๊านเรามีแต่คนพายเรือไปไหว้พระกับหาปลา แต่จริงๆ เราพายคายัคชมวิวชิลๆ ก็ได้ จากนั้นก็มีคนมาถามว่าขอเช่าเรือ หรือให้เราพาเขานั่งเรือเล่นได้ไหม ผมก็บอกว่าได้สิ ส่วนเรื่องเงินแล้วแต่จะให้

ตั้งแต่นั้นก็เลยเหมือนเป็นชมรมพายเรือในกว๊านยามเย็นเลยครับ (หัวเราะ) จากเรือคายัค ก็เป็นแพดเดิ้ลบอร์ด รวมถึงกิจกรรมกลางแจ้งอื่นๆ อย่างเดินขึ้นดอยหนอกและดอยหลวง หรือ trekking ในเส้นทางอื่นๆ รอบกว๊าน ส่วนทีมงานก็ใช้คนรุ่นใหม่ที่รู้จักกันมา กลายเป็นว่าจากตัวเมืองที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จะไปทำกิจกรรมที่ไหน ทุกเย็นเขาก็มาร่วมกับเรา ได้รายได้จากการทำทัวร์อีกต่างหาก

ทุกวันนี้ชีวิตผมค่อนข้างลงตัวนะครับ ไม่ได้ร่ำรวยอะไร แต่รู้ว่าเราชอบอะไร และได้ทำสิ่งที่ชอบที่บ้านเกิดของตัวเอง ขณะเดียวกันก็ได้ทำพื้นที่ที่อย่างน้อยก็อาจช่วยจุดประกายคนรุ่นใหม่ หรือทำให้เมืองมีพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่บ้าง เพราะสุดท้ายถ้าเมืองเราดี หรือมีพื้นที่ที่ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกมีความหวัง พวกเขาจะกลับมาเอง เพื่อหาวิธีจะใช้ชีวิตอยู่ และร่วมขับเคลื่อนให้บ้านเกิดของเขาเป็นที่สำหรับพวกเขาต่อไป”

พันธกานต์ กันต์โฉม
เจ้าของแบรนด์
Lakeland Life และเจ้าของร้าน Lakeland Café

https://www.facebook.com/Lakeland-Cafe-744294436026257

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

7 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago