“ผมเป็นคนในหมู่บ้าน จริงๆ ดั้งเดิมเป็นชื่อหมู่บ้านโรงไม้ หรือหมู่บ้านปากน้ำเวฬุ ศาลเจ้าตรงนี้เขาเรียกศาลเจ้าปากน้ำเวฬุ พอมีโฮมสเตย์เขาเลยเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านไร้แผ่นดิน เพราะว่าบ้าน สะพาน ปลูกในน้ำหมด อยู่กัน 200 กว่าหลังคาเรือน อีกฝั่งแม่น้ำก็เป็นพื้นที่เดียวกัน แต่อยู่บ้านนากุ้ง ฝั่งนี้อยู่หมู่ 2 บ้านโรงไม้ ตำบลบางชัน ประชากรก็มีเป็นพันได้นะครับ ทั้งเด็ก คนแก่ คนโต อยู่กันเหมือนพี่ๆ น้องๆ รู้จักกันหมด บางทีบ้านนู้นบ้านนี้ก็ไปกินข้าวได้
ผมทำอาชีพประมง พอหมู่บ้านทำโฮมสเตย์ ก็มารับจ้างขับเรือเป็นอาชีพเสริม ส่วนใหญ่คนที่ทำโฮมสเตย์ก็เป็นคนในหมู่บ้าน เขาอยากทำ แต่บ้านผมไม่ได้ทำ รับจ้างขับเรือก็เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับแขกที่มา ตอนนี้ถ้าทำประมงอย่างเดียว ถามว่า อยู่ได้มั้ย ก็อยู่ได้นะ พอกินพอใช้ จริงๆ ก็จับปลากินได้ ไม่ต้องซื้อ การประมงไม่ได้ทำทุกวัน ขึ้นอยู่กับจังหวะของน้ำ น้ำนึงทำประมาณ 7-8 วัน เดือนนึงก็ทำ 10 กว่าวันเอง แล้วก็หยุด มีเวลาว่าง เราก็วิ่งเรือ ถ้าเป็นแต่ก่อนไม่มีโฮมสเตย์ ก็พักผ่อนอยู่บ้าน เวลานักท่องเที่ยวเข้ามาก็ไม่ได้วุ่นวาย กิจกรรมท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน เขามาโฮมสเตย์ไหน ก็พักที่โฮมสเตย์นั้น มากินข้าวกลางวัน ไปเดินเที่ยว อาจจะช่วยชาวบ้านซื้อของฝากอะไรบ้าง บางคนอยากไหว้เจ้าก็มีคนพาไปส่ง พอถึงเวลาเขาก็ลงแพออกไปเล่นน้ำ ดูเหยี่ยว กลับมากินอาหารเย็น เป็นปู อาหารทะเลล้วนๆ ถึงตอนเช้าก็ข้าวต้มทะเล กาแฟ แล้วก็นั่งเรือกลับ
ที่อยู่ตอนนี้ก็ดี แต่ที่คับข้องใจคือเรื่องน้ำ ถ้ามีน้ำประปาเข้าถึงได้ก็ดี แต่ทีนี้มันก็ไม่ได้ง่ายๆ ใช้งบประมาณเยอะ เวลาหมดหน้าฝน ชาวบ้านไปซื้อน้ำแพงมาก เรือไปเอาจากฝั่งมา ช่วงที่แพงๆ แทงก์นึงประมาณ 350 บาท ปกติประมาณ 170 บาท ขึ้นไปเท่าตัว ชาวบ้านก็ใช้น้ำประหยัดๆ ก็เก็บน้ำในโอ่งอยู่ แต่นานๆ ก็ไม่พอ บางบ้านอยู่กัน 6-7 คน เพราะเวลาหน้าแล้ง 3-4 เดือนฝนไม่ตกเลย หลังจากพฤศจิกายน ก็แล้งยาวถึงมีนาคมเลยนะ สภาพสิ่งแวดล้อม การประมงก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาล อย่างกุ้งกุลาดำมีเฉพาะช่วงหน้าหนาว หน้าอื่นก็ไม่มีอยู่แล้ว ก็น้อยลงกว่าเมื่อก่อน สมัยก่อนหาได้เยอะ สมัยนี้หาได้น้อยลงกว่าเก่า แต่ดีที่ได้ราคาเพิ่มขึ้น อย่างเมื่อก่อนเคยขาย สมมติ กิโลละ 100 ตอนนี้อาจจะได้ 150-160 บาท มันทดแทนกัน ที่นี้หมู่บ้านก็จะลำบากเรื่องเดินทาง ต้องใช้เรืออย่างเดียว แล้วน้ำมันก็แพง ค่าครองชีพขึ้น ไปกลับท่าเรือปลายจันท์-ขลุง ก็ประมาณเกือบ 40 กิโลเมตร ไกลนะ ขานึงเกือบ 20 กิโล ดีที่ทุกบ้านมีเรือประมงของตัวเอง แล้วก็มีเรือรับจ้าง คนในหมู่บ้านก็เดินทางกันแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร”
ชยพล สืบวงษ์ชัย
ชาวประมง-คนขับเรือ หมู่บ้านไร้แผ่นดิน
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…