“พี่เรียนจบด้านพลศึกษา ก่อนเรียนจบมีโอกาสได้เรียนทำขนม เราชอบทำ แล้วดันขายดีตอนทำขายเล่นๆ ระหว่างเรียน รายได้โอเคเลย สุดท้ายพอเรียนจบ ก็ไม่ได้ใช้สิ่งที่เรียนมา ขายขนมมาจนถึงทุกวันนี้ (หัวเราะ) จำได้เลยว่าตอนจบมาใหม่ๆ นี่ย่าบ่นมากๆ
ไปเปิดร้านขนมที่สระบุรีก่อน ชื่อร้านแตงโมอยู่หน้าเทศบาลเมืองสระบุรี เปิดมาตั้งแต่ปี 2525 ขายขนมปัง คุกกี้ เบเกอรี่ฝรั่ง แล้วค่อยหันมาทำขนมไทย ก็เรียนรู้สูตรใหม่ไปเรื่อยๆ คิดว่าจะทำตรงนี้สักพัก แล้วหาลู่ทางไปทำธุรกิจที่อื่นต่อ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ลูกไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยบูรพาที่บางแสน ยังคิดจะไปเปิดร้านที่หน้ามหาวิทยาลัยเขาด้วยซ้ำ แต่นั่นล่ะ สุดท้ายไม่ได้เปิด เพราะตอนปี 2548 พี่ดันเจอโรคมะเร็งลำไส้เสียก่อน ซึ่งเป็นระยะที่ 3 เสียด้วย
จากคิดว่าจะทำงาน หาเงิน และไปเที่ยวที่ต่างๆ สุดท้ายต้องมาพักฟื้นที่แก่งคอย บ้านเกิด ก็คิดว่ากลับมารักษาก่อน คิดว่าเอาเถอะ…ชีวิตคนเราเกิดมาก็ต้องตาย ไม่วันนี้ พรุ่งนี้ ก็สักวัน ปรากฏว่าเกือบๆ สองปีผ่านไป ปรากฏว่ารักษาหาย และกลายเป็นว่าเราอยู่ติดบ้านที่แก่งคอยเสียแล้ว
ก็กลับมาทำขนมใหม่ แต่คราวนี้ขายแต่ขนมไทย พี่เปิดร้านเล็กๆ ชื่อว่า อเล็กซ์ข้าวเหนียว อยู่หน้าร้านเชี่ยวชาญ ที่เป็นร้านเครื่องเขียนเจ้าดังของอำเภอ
หลักๆ จะขายข้าวเหนียวมูน ถ้าเป็นหน้ามะม่วง ก็จะขายข้าวเหนียวมะม่วง ถ้านอกฤดูก็จะเป็นข้าวเหนียวหน้ากุ้งแห้งผัดมะพร้าว ข้าวเหนียวมูนกับสังขยา หรือข้าวเหนียวทุเรียน แต่ที่ขายดีที่สุดคือข้าวเหนียวมูนเปล่าๆ เพราะเอาเข้าจริงแก่งคอยผลไม้เยอะ ลูกค้าพี่ก็คนแก่งคอยทั้งนั้น เขาก็ซื้อไปกินกับผลไม้ที่บ้านที่มีอยู่แล้ว มะม่วง ขนุน ทุเรียน หรือกินเปล่าๆ
ที่ลูกค้าติดใจข้าวเหนียวมูนร้านพี่เพราะพี่มูนด้วยกะทิแท้ๆ ขายวันต่อวัน ถ้าสังเกตข้าวเหนียวบางเจ้าในกรุงเทพฯ ที่เงาวับๆ เค้าใช้น้ำมันพืชทาเพื่อลดต้นทุน มันดูดีนะ แต่รสชาติสู้ที่มูนจากกะทิจริงๆ ไม่ได้ ก็จะขายทุกเช้าไปจนถึงตอนบ่ายโมง ถ้าวันไหนเหลือกลับมา ก็เอามาขายที่หน้าบ้านในตลาดลาวประมาณบ่ายสามจนถึงค่ำ ขายลดครึ่งราคาเลย เพราะอยากขายให้หมด ไม่หมดก็แจก สามีพี่เขาเปิดบ้านขายอาหารแมว ลูกค้ามาซื้อ พี่ก็แถมข้าวเหนียวให้เขาไปด้วย เพราะถ้าเหลือค้างคืน เราจะไม่ให้ใครกินทั้งนั้น
ส่วนมะม่วงน้ำดอกไม้นี่มาจากสวนชาวบ้านในแก่งคอยเลย มะม่วงบ้านเราจะติดเปรี้ยว ไม่ได้บ่มแก๊ส แล้วก็เอาผ้าปิดไว้ สุกเมื่อไหร่ ก็ขายลูกที่สุกไป มะม่วงน้ำดอกไม้แก่งคอยอร่อย แต่แนะนำให้กินเฉพาะฤดูกาลของมัน ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี่อร่อยเลย นอกฤดูกาลนี่อย่าไปกิน เขาใช้ยากันเยอะ ชาวสวนบางเจ้าเขาทำส่งออกต่างประเทศนอกฤดูกาลนี่ขายดีนะ แต่พอใช้สารเคมีมากๆ พี่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน ก็แอบกลัวว่าเขาจะไม่ได้อยู่ใช้เงินกัน
เมื่อก่อนขายดี เพราะคนทำงานโรงงานจากรอบๆ เขาเข้ามาซื้อเราหมด ยิ่งหน้าร้อนนี่ข้าวเหนียวมะม่วงขายดีมากๆ พี่เป็นคนที่จดรายรับ-จ่ายตลอด เคยขายได้เดือนนึงแสนกว่าบาทก็มี จนช่วงหลังๆ มาเจอโควิดและโรงงานหลายแห่งก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น รายได้ลดลงมาเยอะ แต่พี่ก็ขายราคาเท่าเดิมมาตลอด ถึงข้าวเหนียวจะราคาสูงขึ้นก็เถอะ อยากให้คนได้กิน พี่ไม่ได้ลำบากอะไร ทำเพราะความสนุก ได้คุยกับลูกค้า เป็นชีวิตประจำวันเราด้วย
อย่างปีนี้ช่วงนี้เริ่มมีขนุน ขายข้าวเหนียวมูนวันนึงได้ 3 กิโลกรัมนี่ก็หรูแล้ว ก็ขายให้พอมีกำไรใส่กระเป๋าไว้กินไว้จ่ายก็พอ ไม่หวังเอามากมาย และทำแล้วไม่เหลือทิ้ง จริงๆ วันหนึ่งอยากทำแค่หนึ่งกิโลฯ ด้วยซ้ำ แบบให้แย่งกันซื้อ เพราะเราไม่เหนื่อยดี แต่พอขายหมดเร็ว ลูกค้าประจำบางคนไม่ได้กิน เขาก็ผิดหวัง เลยทำเผื่อนิดหน่อยให้พอเหลือ
ที่ใช้ชื่ออเล็กซ์ข้าวเหนียว เพราะพี่ชื่อเล่นชื่อเล็ก ก็อยากให้ลูกค้าสงสัยว่าทำไมร้านมีชื่อฝรั่ง พี่เห็นว่าร้านขนมเขาใช้ชื่อแม่นำหน้ากันเยอะ แม่นู้น แม่นี้ พี่ใช้อาขึ้นดีกว่า แต่เป็นอาฝรั่งด้วย คนแก่งคอยเขาก็จดจำไปแล้ว ข้าวเหนียวอเล็กซ์หน้าร้านเชี่ยวชาญ ขาย 7 โมงครึ่งถึงบ่ายโมง”
ชุติมา วุฒิสุข
เจ้าของร้านอเล็กซ์ข้าวเหนียว
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…