“ผมเป็นเกษตรกรโดยตรงเลย ทำสวนส้มมาก่อน แถวนี้เดิมก็สวนส้มทั้งนั้น พอไม่ค่อยดีก็ต้องแปลงอาชีพแล้วล่ะ ก็มาขายไม้ใบ ไม้ป่า พวกต้นสาละ แล้วก็ทำไม้ดัด (ไม้ประดับตัดแต่งเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่ดัดด้วยโครงเหล็ก) ขายควบคู่ ทำหลายอย่าง อันไหนเวิร์กสุดก็ทำอันนั้น ที่มาทำพืชเศรษฐกิจไม้ดัดกับไม้ต่อยอดก็ตามเพื่อน ตอนนั้นก็มีไม่กี่สวน เห็นต้นไทรเขาทิ้ง ต้นไทรไม่อยากให้ปลูกในบ้าน ชาวบ้านไม่เอา ก็ไปขอเขา แต่เดี๋ยวนี้ต้องซื้อกิ่งแล้วนะ ไม่มีให้ขอแล้ว ไทรมีตั้ง 5-60 กว่าชนิดที่เอามาทำได้ แต่ก่อนก็ใช้พวกต้นข่อย ตะโกด้วย เราก็เอามาเสียบต่อยอด มาเปลี่ยนใบใหม่ ตัดแต่งทรง ซ่อมกิ่ง เพิ่มหัว อย่างต้นนี้มีแค่เจ็ดหัว มีตาออกมาเราไม่ตัดมันก็งอกเป็นแปดหัว เพิ่มหัวก็เพิ่มตังค์ได้อีก
การทำสวนไม้ดัดต้องใช้เวลา ทุกอย่างต้องใช้เวลาหมด ลงทุนเวลา งานมือทั้งนั้น การทำก็เริ่มจากใช้ลวดชุบ มันอยู่ได้เป็นสิบปี ไม่ค่อยเป็นสนิม เอาลวดมาดัดให้ตรง ตอนแรกผมก็ใช้มือแหละ ตอนหลังถึงได้ดัดแปลงทำรางลูกล้อมาเป็นเครื่องรีดเส้นลวด แล้วก็ใช้ประแจมือเบอร์ 17 ดัดไปตามแบบ ทรงกลมมั่ง เหลี่ยมมั่ง ปิรามิดมั่ง แบบก็ดูเอารอบตัวนี่แหละ อย่างพวกสิงสาราสัตว์ ช้าง ม้า สิบสองนักษัตร ผมอยากได้ก็นั่งวาดแบบลงบนกระดาษก่อน หาสัดส่วน ไม่งั้นมันเข้าไม่ได้ เดี๋ยวเบี้ยว ถ้าไม่มีสัดส่วน สิบอันมันก็ไม่เหมือนกันเลย สมมติลูกค้าอยากได้ช้างร้อยตัวเราต้องทำทั้งชุดให้เหมือนกัน พอเราดัดลวดเป็นโครงแล้วก็เอามาปักลงกระถางปลูกต้นไม้ ส่วนใหญ่ก็ใช้ต้นชาฮกเกี้ยนปลูกลงไปแล้วก็รอโต ระหว่างนี้ก็คอยตัดแต่ง เอาเชือกล็อกกิ่ง ดัด ๆ ไปเดี๋ยวก็เนียน เดี๋ยวก็สวย ต้นพวกนี้เราซื้อมาจากคลอง 15 กระจายรายได้ไป ไม่ใช่ทำคนเดียวเหมาหมด กระถางก็ให้เพื่อนหล่อมาให้ เดิมผมจะคิดทำกระถางนะ แต่โหย เหนื่อยเหลือเกิน งานปูนเป็นงานที่เหนื่อยและหนัก บางอันไม่มีผมก็ทำเอง ตอนบ่ายนี่อย่าขึ้นปูนเชียวนะ เที่ยงคืนไม่ได้นอน กว่าปูนจะแห้ง กว่าจะปล่อยมือได้
ผมเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 และเป็นส.ท. (สมาชิกสภาเทศบาล) หลายสมัย ก็เป็นคนในพื้นที่ สวนเราก็เป็นแหล่งผลิตด้วย ขายด้วย มีคนนั้นคนนี้มาเที่ยว เลยทำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตั้งเป็นศูนย์อยู่ข้างเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ คนเข้ามา เราก็ขายของได้ คนแถวนี้มีขนม มีผัก ก็มานั่งขายอยู่กับเรา นักท่องเที่ยวมาก็ไปตามสวนในชุมชนเรา สวนที่คลอง 11 คลอง 12 หลัก ๆ ก็มาที่ผม เพราะผมต้องไปแอ็กชั่น ดัดลวดให้เขาดู ตอนเที่ยงเขากินอาหารเราก็นั่งดัด เอาไปรีด ดัดจนเสร็จตัวนึง นักท่องเที่ยวที่มาก็มาดู ๆ แล้วก็ไป ไม่ค่อยซื้อ เพราะจะซื้อทีก็ต้องคิดด้วยว่าจะเอาไปตั้งตรงไหน บางคนก็มาดูก่อน มองสถานที่ไว้ จะซื้อไม้ฟอร์มไหนไปตั้ง เราก็ต้องมีหลากหลาย อันไหนที่ตลาดไม่ต้องการผมก็ไม่ทำ ต้นทุนเราทั้งนั้น ทำอันที่ขายได้ คนซื้อก็หลากหลาย บางคนเจอสวยแล้วซื้อก็มี แต่เราไม่ได้รีบว่าคุณต้องซื้อผมนะ ไม่ซื้อไม่เป็นไร ขอให้มานั่งคุยกัน
โซนสนั่นรักษ์เป็นแหล่งความรู้ท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยากรู้เรื่องเด็ดยอด ลวดดัด อยากรู้ว่าทำยังไง ? ผมก็บอกหมด ทำลวดดัดให้ดู เด็ดยอดต่อกิ่งให้ดู บางคนบอกเสียดายกิ่งหัก ผมบอกพี่จะเสียดายอะไรก็จับปักสิ เขาบอกได้ด้วยเหรอ ? เขาไม่รู้ไง ไม้นี้มาหักทิ้ง ปักไปมันก็ขึ้นแล้ว เราก็ไปใส่กระถาง เป็นไม้แคระ เป็นบอนไซ ได้ตังค์กลับมาอีกนะ บางทีเราตัดทิ้ง ๆ ว่าง ๆ ก็เอามาเสียบ ขายได้กระถางละยี่สิบบาทแล้ว ถ้าคุณทำสักร้อยกระถางเป็นเงินเท่าไหร่ล่ะ ? บางอันมันตีเป็นราคาได้ เราก็ให้ความรู้เขาไป เขาจะเอาไปทำหรือไม่ทำก็แล้วแต่เขา บางคนบอกเราไปสอนเดี๋ยวเขาก็ทำแข่งกับเราสิ ผมไม่เคยกลัวเรื่องจะมีคู่แข่ง ต่างคนต่างขาย ทางใครทางมัน เหมือนเวลาคนจีนเขาอยู่ใกล้กันทำไมเขาขายได้ ยิ่งทำเยอะยิ่งดี ลูกค้าได้มีตัวเลือก แค่อย่ามาขัดกันแล้วกัน อย่างในหมู่บ้านบางคนอยากทำ ผมก็บอกให้เขาทำ เขาบอกพี่ต้องหาหน้าร้านให้หนูด้วย ผมบอกจะไปหาทำไม ? ทำรวมเป็นกลุ่ม เดี๋ยวนี้ขายออนไลน์กันเยอะแยะ ตั้งบ้านใครบ้านมัน บ้านนึงห้าต้นสิบต้น เราก็สอนให้ฟรี บางคนบอกผมว่าทำไม่ได้ ตังค์ไม่มี ต้องไปซื้อรถหกล้อ ไปหาเช่าที่ โน่นนี่นั่น ผมบอกผมมาทีแรกผมมีปิ๊กอัพคันเดียวเอง คุณไม่ต้องเริ่มใหญ่ แต่เขาเห็นเราเป็นรูปเป็นร่างแล้วไง เราทำสวนไม้ดัดมาประมาณ 22 ปีแล้ว แต่ตอนเริ่มต้นเขาไม่เห็น เราทำชักรอกรถพัง อาจารย์ก็ไม่มีมาสอนนะ ลองผิดลองถูกเอง ต้องลงมือทำจริง ๆ จัง ๆ เลย เอาให้ได้ จะมาทำเล่น ๆ ไม่ได้ อยากได้อะไรก็ไปหา ดูกระต่ายตัวนี้สิ ผมก็เอามาจากกระสอบปุ๋ย ตรามันเป็นลายกระต่าย ผมก็เอามาเป็นแบบ ทุกอย่างมันอยู่ที่เรา เรียนรู้ได้ ความรู้มันเรียนไม่จบหรอก”
ณรงค์ อู่ผลเจริญ
สวนผู้ใหญ่อ้วนไม้ดัด คลอง 12
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…