“เพราะชาวปากน้ำโพเห็นตรงกันว่าเราไม่อยากให้นครสวรรค์เป็นแค่เมืองผ่าน จึงมาหารือร่วมกันกับเทศบาลนครนครสวรรค์ว่าเราควรจะกำหนดทิศทางให้เมืองของเราเป็นไปในทางไหน
ตอนที่คุยกันตอนนั้น เทศบาลได้ร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการในเมืองและภาคส่วนต่างๆ จัดตั้งกฎบัตรนครสวรรค์ เพื่อเป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาเมืองแล้ว เราได้สร้างพาสานเป็นแลนด์มาร์คใหม่บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว และได้ฟื้นฟูพื้นที่บริเวณเกาะญวนให้กลายเป็นสวนสาธารณะในชื่อคลองญวนชวนรักษ์แล้ว ก็มาพิจารณาจากต้นทุนและศักยภาพที่เรามี จนได้คำตอบว่าเมืองของเราที่ส่วนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยชาวไทยเชื้อสายจีน และอีกส่วนก็มีความเป็นพหุวัฒนธรรมค่อนข้างสูง ก็ควรจะเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
เมื่อตกลงกันได้แบบนั้น ทุกคนก็เห็นตรงกันว่าเรามีที่ดินราว 3 ไร่เศษด้านหลังพาสาน ที่ผู้ประกอบการปากน้ำโพร่วมลงขันกันซื้อที่ดินไว้และยกให้เทศบาล ก็ประชุมกันแล้วตกลงจะทำ ‘อุทยานวัฒนธรรมต้นน้ำเจ้าพระยา’ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว แลนด์มาร์ค สวนสาธารณะ และพื้นที่การเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของเมืองนครสวรรค์ในแห่งเดียว พร้อมกันนั้นด้วยเงื่อนไขของเจ้าของที่ดินคนก่อน ที่ยกพื้นที่ให้เทศบาลโดยขอให้ทางเราจัดสร้างรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวบูชา ซึ่งภาคประชาชนก็ได้ระดมทุนจัดสร้างองค์เจ้าแม่จากหินแกรนิตขาวสูง 26 เมตร ไว้ด้านหลังพาสาน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการแกะสลักองค์เจ้าแม่ที่เมืองจีน
องค์เจ้าแม่จะประดิษฐานอยู่บนอาคารความสูง 4 ชั้น มีความสูงรวม 45 เมตร ตั้งอยู่ด้านหลังพาสาน สิ่งนี้ไม่เพียงเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมือง แต่ยังเป็นอนุสรณ์สถานของความร่วมแรงร่วมใจของชาวปากน้ำโพ ในการร่วมลงขันเงินได้มากถึง 38 ล้านบาท โดยเทศบาลไม่ได้ใช้เงินตัวเองเลยสักบาท เพียงแค่ช่วยอำนวยความสะดวกให้โปรเจกต์ขนาดใหญ่นี้ลุล่วง แต่เทศบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับทำสะพานข้ามแม่น้ำในรูปแบบของสะพานคนเดินเชื่อมย่านตลาดเก่าข้ามแม่น้ำปิงไปสู่อุทยานวัฒนธรรมแห่งนี้ รวมถึงสร้างสะพานจากเกาะยม (ที่ตั้งของพาสาน) เชื่อมไปยังวัดปากน้ำโพใต้ กลายเป็นการเชื่อมเส้นทางเดินเท้าจากย่านตลาดเก่าของปากน้ำโพสู่อีกฝั่งแม่น้ำ ซึ่งอยู่ใกล้กับบึงบอระเพ็ดด้วย นี่จะเป็นโครงการนำร่องของเทศบาล ที่จะทำให้นครสวรรค์เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้าให้ได้มากที่สุด
และด้วยความตั้งใจให้นครสวรรค์เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผู้มาเยือน และเป็นเมืองน่าอยู่ที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้าสำหรับคนในเมือง เราจึงมีแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง เพื่อชักจูงให้คนในตลาดหรือคนที่มาจับจ่ายในตลาดได้เดินเท้ามากขึ้น ถ้าคนออกมาเดิน การค้าขายก็จะดีขึ้น ปัญหาที่จอดรถก็ลดลง และที่สำคัญคือสุขภาพของคนในเมืองจะดียิ่งขึ้น
เรื่องสุขภาวะของคนในเมือง เป็นอีกประเด็นที่ทางเทศบาลให้ความสำคัญ เพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบันเทศบาลนครนครสวรรค์มีผู้สูงอายุค่อนข้างมาก ตรงนี้อาจเป็นข้อเสียเปรียบ แต่ถ้ามองอีกมุม เรามีสถาบันทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสูงหลายแห่ง รวมถึงการมีทำเลที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จึงสามารถยกระดับให้เมืองเป็น wellness hub ในระดับภูมิภาคได้ โดยอาจจะเริ่มจากการประสานกับโรงพยาบาลเอกชนทำโปรแกรมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ รวมถึงแผนการออกแบบคอร์สสุขภาพต่างๆ ที่ดึงดูดให้คนจากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาใช้บริการ ทั้งนี้ ด้วยเส้นทางรถไฟรางคู่สายใหม่ที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งจะผ่านมาที่นครสวรรค์ ถ้าเมืองของเราพัฒนาบริการด้านสุขภาพให้พร้อม นั่นหมายถึงเม็ดเงินของการลงทุนและการจับจ่ายใช้สอยจะเข้ามาในเมืองของเรามากกว่านี้อีกเยอะ
นอกจากนี้ ด้วยแผนการพัฒนาเมืองในกรอบของสมาร์ทซิตี้ เราก็หวังสร้างแพลทฟอร์มที่พร้อมให้คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานชาวปากน้ำโพกลับบ้านเกิดมาสานต่อกิจการของครอบครัว หรือลงทุนทำธุรกิจใหม่ๆ มาช่วยพัฒนาบ้านเกิดของเรา อย่างผมเองถึงจะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีมาหลายสมัย แต่ผมก็ทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาลทั้งนั้น เพราะหลายเรื่องผมก็ไม่ทันความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ก็ต้องปรึกษาและพึ่งพามุมมองของพวกเขา
ซึ่งตรงนี้แหละที่เป็นเหมือนภาพแทนของการพัฒนาเมือง การทำงานร่วมกันของคนสองรุ่น ผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ และคนรุ่นใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยีและโลกทัศน์ใหม่ๆ เมืองเราจะยั่งยืนได้ ก็เพราะการร่วมแรงร่วมใจของคนทุกรุ่นเช่นที่ว่านี้”
จิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ
นายกเทศมนตรีนครสวรรค์
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…