“นครสวรรค์มีศักยภาพในระดับครัวของภาคเหนือตอนล่าง ถ้าเราส่งเสริมเรื่องวัตถุดิบปลอดภัยเข้ามาอีก ครัวของเราจะมีมูลค่าเพิ่มได้อีกเยอะ”

“เราลาออกจากงานประจำในบริษัทที่กรุงเทพฯ และกลับบ้านมาทำสวนผักและผลไม้ที่นครสวรรค์ราวปี 2560 ปลูกฝรั่ง มะม่วง ส้มโอ มะนาว กล้วย ฯลฯ ตั้งชื่อว่า ‘ไร่อุดมสุข’

ที่หันมาทำการเกษตร จะว่าเป็นเทรนด์ก็ใช่ และเราก็มีที่ดินที่บ้านเป็นต้นทุนอยู่แล้ว เราก็อยากอยู่บ้านด้วย จึงคิดว่าถ้าทำตรงนี้ได้ก็น่าจะมีความยั่งยืนกว่า ขณะเดียวกัน ก็มาคิดว่าถ้าเราสามารถทำฟาร์มเกษตรที่สามารถผลิตอาหารปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคได้ เมืองของเราก็น่าจะยั่งยืนไปด้วย ก็เลยศึกษาข้อมูลเรื่องนี้ รวมถึงประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่สนับสนุนการทำเกษตรปลอดภัยมาตั้งแต่เริ่มอาชีพใหม่

จนมาปี 2562 เราได้ยินข่าวจากเทศบาลนครนครสวรรค์ว่าจะมีการจัดตั้งกฎบัตรนครสวรรค์ เราไม่รู้ว่าสิ่งนี้มันคืออะไร แต่ในรายละเอียดของกฎบัตร มีคำว่าอาหารปลอดภัย กับคำว่าพัฒนาเมืองอยู่ด้วย ก็เลยตัดสินใจไปร่วมประชุมกับเขาที่สำนักงานเทศบาล

พอไปประชุมก็ได้รู้จักอาจารย์ฐาปนา (ฐาปนา บุณยประวิตร เลขานุการกฎบัตรไทย) คุยกับเขาว่าเราพอมีเครือข่ายที่สนใจการทำเกษตรปลอดภัย รวมถึงกลุ่มที่อยากทำเกษตรอินทรีย์อยู่ ในเมื่อกฎบัตรนครสวรรค์มีกิจกรรมการออกแบบสมาร์ทฟาร์มแล้ว เราจะขอขึ้นกลุ่มเกษตรและอาหารปลอดภัยด้วยได้ไหม อาจารย์ฐาปนาก็บอกว่าดีเลย เพราะคุณสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ประธานสภาเทศบาลนครนครสวรรค์ เขาก็อยากให้มีสาขานี้ด้วย เพียงแต่ภายในเขตเทศบาลนครไม่มีกลุ่มเกษตรกรอยู่เลย

กฎบัตรนครสวรรค์เป็นส่วนสำคัญที่เชื่อมให้กลุ่มของเราได้รู้จักหน่วยงานต่างๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เข้าถึงผู้ประกอบการที่กำลังมองหาพืชผักปลอดภัยไปใช้กับธุรกิจ เราก็รวมกลุ่มเกษตรปลอดภัยจาก 15 อำเภอทั่วจังหวัด นำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับกลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นภัตตาคารอาหารจีนเล่งหงษ์ที่ทำคอร์สอาหารสุขภาพและอาหารคลีน ครัวของโรงพยาบาลศรีสวรรค์ที่ต้องการเสิร์ฟผักอินทรีย์แก่คนไข้ รวมถึงกิจการอื่นๆ เป็นต้น

นอกจากเกษตรกรอย่างพวกเราได้เจอตลาด กฎบัตรยังเชื่อมให้เราได้มีโอกาสบุกเบิกพื้นที่การเรียนรู้อีกด้วย

นั่นคือการร่วมมือกับ คุณตุ้ย-ธนาเทพ ถึงสุ เจ้าของโรงแรมแกรนด์ฮิลล์ ที่เขามีที่ดินเปล่าที่อยากพัฒนาเป็นฟาร์มเกษตรอินทรีย์ในตัวเมือง เขาได้แบบการปรับปรุงพื้นที่เป็นสมาร์ทฟาร์มจากทางกฎบัตรมาแล้ว แต่เขาต้องการกลุ่มเกษตรกรเข้าไปจัดการพื้นที่ เพื่อปลูกผลผลิตออร์แกนิกส่งให้กับโรงแรม ขณะเดียวกันก็ใช้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจทำเกษตรอินทรีย์ โดยตั้งชื่อว่า ‘ฟาร์มสุขสมใจ’

เราก็เลยใช้ฟาร์มสุขสมใจของคุณตุ้ยเป็นทั้งพื้นที่ที่เปิดให้คนมาเรียนรู้เรื่องการเกษตร และพื้นที่กึ่งๆ สำนักงานของกลุ่มกฎบัตรเกษตรและอาหารปลอดภัยของพวกเรา ซึ่งตอนนี้เรามีสมาชิกราว 20 กว่าคนทั่วจังหวัด

บทบาทของเราคือการรวมผลผลิตจากสมาชิกเพื่อส่งให้โรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาลที่ต้องการวัตถุดิบปลอดภัย ส่วนที่เหลือ ก็แล้วแต่สมาชิกจะนำไปขายตามตลาดนัดต่างๆ ทั้งนี้เราไม่ได้ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางแต่อย่างใด ใบสั่งซื้อจากลูกค้ามาเท่าไหร่ ก็เท่านั้น เราไม่ได้กำไรอะไรจากตรงนี้ เพียงแค่อยากส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการขายให้พี่น้องเกษตรกร และกระตุ้นให้เกษตรกรรายอื่นๆ หันมาทำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์กันมากๆ

นครสวรรค์เป็นเมืองอาหารการกินค่ะ เรามีทั้งแหล่งผลิตวัตถุดิบชั้นเลิศ และร้านอาหารท้องถิ่นที่เสิร์ฟแต่เมนูรสเลิศ เรามีศักยภาพในระดับครัวของภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนได้ ถ้าเราส่งเสริมเรื่องวัตถุดิบปลอดภัยเข้ามาอีก ครัวของเราจะมีมูลค่าเพิ่มได้อีกเยอะ และที่สำคัญคือสุขภาพของผู้บริโภคก็จะดีขึ้น เพราะอาหารการกินที่ดีคือยาบำรุงสุขภาพกลายๆ นั่นเองค่ะ”

รัตนาภรณ์ ทองแฉล้ม
ประธานกฎบัตรสาขาเกษตรและอาหารปลอดภัย จังหวัดนครสวรรค์
เจ้าของไร่อุดมสุข

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

6 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago