นอกจากให้ความสำคัญกับการค้าขาย คนหาดใหญ่ก็ยังให้ความสำคัญกับการศึกษาไม่น้อยไปกว่ากัน

“อาตมาเป็นคนกาญจนบุรี บวชเข้าคณะสงฆ์อนัมนิกาย ตอนอายุ 17 ปี ย้ายไปเรียนที่ไต้หวัน 3 ปี และไปจำวัดที่ยุโรปอีกหลายปี ก่อนกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่มีการก่อตั้งโรงเรียนมหาปัญญา

ตอนแรกโรงเรียนมีชื่อว่าโรงเรียนถาวรวิทยาลัย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จัดการศึกษาในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย ก่อนจะมีการขยายการศึกษาไปถึงระดับพรียูนิเวอร์ซิตี้โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน โดยเราทำข้อตกลงกับสถาบันอุดมศึกษาในไต้หวันและสหรัฐอเมริกาในการส่งนักศึกษาของเราไปเรียนระดับปริญญาตรีที่นั่น เรียกว่าเราดูแลสามเณรตั้งแต่มัธยมต้นให้มาจำวัดจนถึงส่งให้ไปเรียนต่อต่างประเทศ ทุกวันนี้เราจึงมีทั้งโรงเรียนมหาปัญญา และมหาปัญญาวิทยาลัย ซึ่งเป็นชื่อที่

เจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ตั้งให้ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน

หลายคนมักเข้าใจว่าหาดใหญ่เป็นเมืองการค้าและการท่องเที่ยว แต่ในอีกมุมที่นี่คือเมืองแห่งการศึกษาที่สำคัญมาก ทั้งการศึกษาทางธรรมอย่าง มหานิกายของเรา เถรวาท ไปจนถึงโรงเรียนของศาสนาคริสต์ และอิสลาม และการศึกษาทางโลก อย่างพื้นที่ที่วัดเราตั้งอยู่ ข้ามถนนไปก็เป็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคใต้ ขณะเดียวกัน ถ้าย้อนกลับไปในพื้นที่ของวัดเราเอง ก็เคยเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนที่เปิดให้คนทั่วไปเข้ามาเรียน และคุณลองสังเกตในเมืองสิ แม้จะเต็มไปด้วยอาคารพาณิชย์และโรงแรม แต่เราก็ยังพบสถานศึกษาอยู่แทบทุกมุมถนน กล่าวได้ว่าคนที่นี่นอกจากให้ความสำคัญกับการค้าขาย ก็ยังให้ความสำคัญกับการศึกษาไม่น้อยไปกว่ากัน 

เช่นเดียวกัน หลายคนมักเข้าใจผิดว่าวัดเราเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ส่วนสำคัญเพราะเรามีมหาปัญญาพุทธสถาน ที่ประดิษฐานขององค์พระใหญ่ รวมถึงเจดีย์ 9 ชั้นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์กวนอิมพันกร ซึ่งชาวมาเลเซียและชาวจีนนิยมมากราบไหว้บูชา หลายคนเลยคิดว่านี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเราก็ยินดีต้อนรับผู้มาเยือนทุกท่าน เพียงแต่ก็อยากให้สำรวมและเคารพสถานที่ เพราะจริงๆ แล้วที่นี่คือสถานศึกษา”

องพจนกรโกศล
ประธานสงฆ์อนัมนิกายในสหรัฐอเมริกา
ผู้รับมอบหมายจัดตั้งมหาปัญญาวิทยาลัย หาดใหญ่

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

4 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago