“ผมเป็นคนขอนแก่น เรียนที่ขอนแก่นตั้งแต่โรงเรียนสาธิต จนไปจบ ป.โท เรียนวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ก็ที่มข. บ้านผมทำร้านกระจกอลูมิเนียม ผมช่วยที่บ้าน แล้วก็มีร้านหมูกระทะชื่อบุญดีหมูกระทะ ก่อนหน้าที่จะมาทำร้านหมูกระทะ ผมเคยสนใจเรื่องการเมือง หนึ่งปีก่อนเกิดโควิดเคยไปเดินแจกแมสกับทางนายกธีรศักดิ์ ตอนนั้นคือนายกชวนมาลง สท. แต่พอไปทำแบบนั้นก็รู้สึกไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็เลยตัดสินใจว่าทำมาธุรกิจเต็มตัวจะดีกว่า ส่วนเพื่อนๆ ที่ทำ YEC มาด้วยกันระยะหนึ่งที่เขามีความพร้อมจะลงเป็นประธาน ก็พากันไปลงเป็น สท. เหลือแต่ผม ก็อาสาเข้ามารับหน้าที่ประธาน YEC
ถ้าให้เล่าถึงภาพรวมสภาพเศรษฐกิจของเมืองขอนแก่น ผมขอเล่าจากมุมพี่น้อง ๆ YEC จำได้ว่าในช่วงโควิด สมาชิกส่วนใหญ่ประมาณ 90 % จะบอกว่าไม่ค่อยได้รับผลกระทบ เหตุผลที่ไม่กระทบเพราะว่า ขอนแก่นมันเป็นเมืองที่แบบซื้อขายกันเอง เป็นเมืองที่แบบเราไม่ต้องไปพึ่งข้างนอก ไม่เหมือนอุดรฯ หรือ หนองคายที่ธุรกิจนั้นเชื่อมกับฝั่งลาว หรืออย่างโคราช หรือเขาใหญ่ที่ต้องพึ่งพากรุงเทพ ขอนแก่นเป็นเมืองที่เงินวนๆ กันในเมือง แถมด้วยมีคนนอกมาเติมทุกปีอย่างเด็กมหาวิทยาลัยขอนแก่น และอีก 4 มหาวิทยาลัยในพื้นที่ เศรษฐกิจจึงไปได้ด้วยตัวมันเอง บางรายก็ผลิตสินค้าไม่ทันออร์เดอร์ก็มีมาแล้ว อย่างพี่ๆ ที่เขาทำธุรกิจผลิตแห และอวน ซึ่งน้อยคนจะรู้ว่า จังหวัดขอนแก่น คือ จังหวัดที่ส่งแหอวนเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของโลก มีอย่างน้อยๆ 60 ประเทศทั่วโลกใช้แหอวนจากเรา และหลัง ๆ มีการแตกไลน์ธุรกิจไปทำงานตาข่าย จนถึงการผลิตแปรงสีฟัน
ประโยชน์อย่างหนึ่งของการมาเป็น YEC คือ เราก็ได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้ใหญ่เก่ง ๆ หลายท่าน และได้รู้จักคนรุ่นราวคราวเดียวกัน มี Meeting มีกินข้าว ซื้อขายเป็น Partner มันคุยกันง่ายขึ้น และส่วนหนึ่งคือเราได้โอกาสทำงานใหญ่ๆ เพื่อช่วยเศรษฐกิจบ้านเราไปด้วย รวมไปถึงงานพัฒนาเมืองตามแนวคิด กับโครงการต่างๆ ซึ่งทางผู้ใหญ่ของหอการค้าขอนแก่น ก็เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้อยู่ อย่างปีที่ผ่านมาทางพี่ๆ ผู้ใหญ่ก็ดึงอีเว้นต์เข้ามามาเยอะมาก เพื่อกระตุ้นให้เมืองกลับมาคึกคัก เราก็เข้าไปช่วยงาน ผมมักจะบอกเพื่อนๆ และน้องๆ YEC ว่าผู้ใหญ่ในขอนแก่นโคตรดีเลย ดีมากๆ คือเวลามีงานอะไรเขาก็จะเข้ามาเป็นทีมงานเดียวกับเรา ชวนเราคิด และแบ่งงานกัน “น้องทำไหม เอาไหมงานนี้ งานนี้ YEC ควรทำนะ อยากได้อะไรบอกพี่นะ พี่ๆ ช่วยเต็มที่” แล้วคอยถามอยู่เสมอว่าคนนี้เก่งด้านไหน ทำอะไร หาช่องทางให้ได้ช่วยกัน น้องๆ ได้ใจก็จะมาช่วยใหญ่ เลย เพราะผู้ใหญ่แอคทีฟ เวลาช่วยก็ช่วยจนสุดไม่ได้ช่วยเเบบช่วยแล้วปล่อย ผมไม่รู้เมืองอื่นเป็นยังไง แต่ขอนแก่นเป็นแบบนี้ทุกคนจับมือแพ็คช่วยกันเหนียวแน่น
ผมจึงมองว่าความพร้อมของขอนแก่นมีสูงมาก เพราะไม่ว่าคนรุ่นใหญ่ หรือรุ่นเล็ก คุยกันได้ ช่วยกันและลงแรงลงทุนกันจริงจัง แถมตัวเมือง ทั้งเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน ก็ยังขยายได้เรื่อยๆ ความแตกต่างที่สังเกตง่ายๆ ได้เลยสำหรับคนที่มาอีสาน ให้ลองไปดูจังหวัดอื่นช่วงหัวค่ำ ไม่เกินสองสามทุ่ม ถนนเงียบกริบคนปิดร้านเข้านอนกันหมดแล้ว แต่ที่ขอนแก่นไม่เป็นแบบนั้น ร้านอาหาร สถานบันเทิง เปิดกันคึกคักมาก ยิ่งเดียวนี้กระแสธุรกิจกลางคืน พวกเราผับบาร์กำลังมาแรง เปิดกันเยอะและคนก็แน่น ก็คือคนจากจังหวัดใกล้เคียงนี่แหละขับรถกันมา 30-40 นาที เพราะที่บ้านเขาไม่มีแบบนี้ พวกเราคนทำธุรกิจก็กำลังพยายามสร้างให้เมืองขอนแก่นเป็นเมือง 24 ชั่วโมง คือ มีธุรกิจเปิดค้าขายทั้งกลางวันกลางคืน ซึ่งถ้าทำได้จริงมันจะดีกับเมืองมากๆ
เช่นเดียวกับโครงการรถรางเบา หรือการพัฒนา Smart City ก็เป็นความพยายามที่จะผลักดันร่วมกัน พี่ๆ หอการค้าก็เข้ามาช่วย กับทางเทศบาล จังหวัด สภาอุตสาหกรรม กลุ่มนักวิชาการมหาวิทยาลัย จริง ๆ อยู่ว่ามันจะเกิดขึ้นได้จริงวันไหนก็ยังกะเกณฑ์ลำบากเพราะเป็นเรื่องการลงทุน ไหนจะต้อง IPO ระดมทุนอีก แต่เราก็พยายามให้กำลังใจกันเอง และริเริ่มทำเรื่องง่าย ๆ ที่ทำได้ไปก่อน เพราะว่าอย่างน้อยเราดันกันมาขนาดนี้แล้วมันไปไกลแล้วที่จะไปให้ถึง ผมเองก็อยากให้มีเพราะมีไม่นานลูกผมที่กำลังจะเกิด และต้องโตที่เมืองนี้ ผมก็อยากให้เขาได้อยู่บ้าน ได้อยู่เมืองที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งมันเป็นไปได้ และสร้างได้ เตรียมได้ในวันนี้เลย จะมีเมืองไหนอีกที่นักธุรกิจจากหอการค้าอายุ 60-70 แล้วก็ยังสนใจเรียนรู้เรื่อง Blockchain และมีบทบาทสำคัญช่วยดันให้เกิดเหรียญดิจิตอล KGO สร้างมาให้ใช้ให้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในเมือง หนุนให้คนรุ่นหลังได้ทำงานเต็มที่ ศักยภาพแบบนี้ ความพร้อมอย่างนี้ไม่มีที่ไหนแล้วครับ”
วงศธร เรืองโชติพัฒน์
ประธาน YEC หอการค้าจังหวัดขอนแก่น
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…