“บางคนตื่นเต้นที่รู้ว่าผมตั้งโรงงานอยู่ที่นี่ ผมก็บอกเขาไปว่าคุณควรรู้สึกประหลาดใจมากกว่าที่เจริญใดๆ ก็แล้วแต่ในประเทศนี้ ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ”

“ราวๆ 50 ปีที่แล้ว ผมเป็นเด็กอยู่ชุมชนบ้านเกาะ ความบันเทิงของคนที่นั่นคือการฟังเพลงจากเครื่องไฟ ทีนี้หลายคนมักเจอปัญหาเดียวกัน คือเพลงไหนที่มีเสียงแหลมๆ คอยล์ในลำโพงจะชอบขาด คอยล์เป็นอะไหล่นำเข้าจากอเมริกา พอมันขาดทีนึง ก็ต้องเสียเงินซ่อมไปหลายร้อย ซึ่งสมัยนั้นคือแพงมาก

ความที่ผมเคยทำงานโรงสีข้าวและโรงบดแร่มาก่อน ก็พอมีความรู้เรื่องกลไกและเครื่องจักร เลยทดลองแกะไดอะแฟรมออกมาและพันขดลวดใส่เพื่อใช้แทนคอยล์ นั่นคือเมื่อราว 30 กว่าปีก่อน ที่ผมหาวิธีผลิตไดอะแฟรมคนแรกมาขาย ขายแผ่นละ 20 บาท จากขายเองเล็กๆ ก็เริ่มทำโรงงาน เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ก่อนจะผลิตคอยล์ ผลิตกระดาษ ผลิตชิ้นส่วนให้งานซ่อมลำโพงทั่วไป จนมาผลิตดอกลำโพงเป็นผลสำเร็จ กลายเป็นโรงงานส่งออกดอกลำโพงให้กับแบรนด์ลำโพงเจ้าใหญ่ๆ ทั่วโลกในทุกวันนี้

เอาเป็นว่าผมพูดถึงแบรนด์ใหญ่ๆ ที่คุณรู้จัก กว่าครึ่งเขาใช้ดอกลำโพงที่ผลิตจากโรงงานในนครสวรรค์ของผม ลำโพงที่ใช้เสียงตามสายในชุมชนทั่วประเทศก็ใช้ดอกลำโพงที่มาจากโรงงานนี้ ซึ่งเอาเข้าจริงถ้าเฉพาะลำโพงเสียงตามสายในชุมชน ในโลกนี้มีผู้ผลิตดอกลำโพงเพียง 3 เจ้าที่ติดตลาด คือแบรนด์จากญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศไทย ซึ่งอันหลังนี่คือแบรนด์ของผม 

ผมไม่ได้เรียนวิศวกรรมศาสตร์มา เป็นแค่คนที่ชอบเรียนรู้และไม่หยุดแสวงหาความรู้ใหม่ๆ พอเราจับทางได้ว่าจะทำอะไหล่ลำโพง ก็ไปค้นคว้าเรื่องวัสดุศาสตร์ สนามแม่เหล็ก การสั่นสะเทือนของเสียงอะไรพวกนี้ จนโรงงานเติบโต ก็จ้างนักวิจัยเก่งๆ ในบ้านเรา รวมถึงจากญี่ปุ่น และชาติอื่นๆ มาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผมเริ่มจากการเป็นช่างก่อน จนถึงระดับหนึ่งก็พาโรงงานตัวเองไปสู่งานวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างนวัตกรรม ซึ่งสิ่งนี้มันละเอียดอ่อนมาก ลำโพงว่าไปก็เหมือนยางรถยนต์ ดูเหมือนแค่คุณมีโรงงานก็ผลิตออกมาได้ใช่ไหม แต่คุณลองไปเลียนแบบยางรถยนต์แบรนด์ดังๆ สิ คุณทำเหมือนเขาไม่ได้หรอก ถ้าไม่ได้ทำการวิจัยอย่างลงลึกมาก่อน

ถามว่าผมส่งอะไหล่ให้แบรนด์ลำโพงเจ้าใหญ่ๆ ทำไมไม่ผลิตลำโพงแบรนด์ของตัวเอง? ไม่หรอก ลูกค้าของผมคือบริษัทที่ทำตู้ลำโพงขาย ผมจะทำตู้ลำโพงมาแข่งกับลูกค้าตัวเองทำไม มันก็เหมือนกับที่ทำไมโตโยต้าจึงไม่ผลิตยางรถยนต์ของตัวเอง หรือกู๊ดเยียร์ไม่ผลิตรถยนต์เองนั่นแหละ ผมมองว่านี่คือความรับผิดชอบในเทคโนโลยีของแต่ละคน และนี่คือเศรษฐกิจของการแบ่งปัน (sharing economy) บ้านเมืองเราไม่มีทางเจริญหรอก ถ้าคุณจะผูกขาดทุกอย่างไว้กับตัวเองคนเดียว

เมื่อก่อนโรงงานผมอยู่ในตลาดปากน้ำโพเลย อยู่มาหลายสิบปีเหมือนกัน แต่พอโรงงานขยายขนาดเข้า มันก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก็เลยย้ายมาอยู่นอกเมืองตรงนี้ ตอนแรกยังเป็นการประกอบมือเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องใช้พนักงานมากถึง 300 คน แต่ตอนนี้ก็ใช้เครื่องจักรช่วย เลยลดการจ้างงานลงมาพอสมควร

ถามว่า ส่งออกมากขนาดนี้ แถมมีลูกค้าจากกรุงเทพฯ เกือบ 100 ราย ทำไมถึงไม่ไปอยู่กรุงเทพฯ ผมก็บอกว่าไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่ต้องย้ายไปที่นั่น ที่นี่สะดวกกว่าเยอะ เอางี้ ถ้าโรงงานคุณอยู่พระราม 2 คุณมีออร์เดอร์ส่งของเข้ากรุงเทพฯ คุณอาจต้องเจอรถติด ซึ่งเผลอๆ ใช้เวลาเท่ากับการขับรถจากนครสวรรค์เข้าไปอีก แน่นอน อยู่ที่นี่ต้นทุนค่าน้ำมันอาจสูงกว่า แต่ก็ไปหักกับค่าทำสำนักงานอยู่กรุงเทพฯ ที่สำคัญ ถ้าทุกคนคิดว่ากรุงเทพฯ คือประเทศไทยนะ บ้านเมืองเราไม่มีวันโตหรอก

ขนาดเมียนมาร์ที่ล้าหลังกว่าเราเยอะ ความเจริญเขาไม่ได้อยู่แค่ที่ย่างกุ้ง แต่เป็น มันดาเลย์ มะละแหม่ง แล้วมาดูจีน ญี่ปุ่น หรืออินเดียสิ ศูนย์กลางเศรษฐกิจเขากระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งนั่นหมายถึงความเจริญมันก็กระจายอย่างทั่วถึง บางคนตื่นเต้นที่รู้ว่าผมตั้งโรงงานอยู่ที่นี่ ผมก็บอกเขาไปว่าคุณควรรู้สึกประหลาดใจมากกว่าที่ทุกวันนี้ ความเจริญใดๆ ก็แล้วแต่ในประเทศนี้ ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ

ที่สำคัญ นครสวรรค์เป็นเมืองที่มีประสิทธิภาพในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและขนส่งในระดับภูมิภาคอยู่แล้ว คุณสังเกตกายภาพเราสิ ทางหลวง 117 เหมือนเป็นแม่น้ำน่าน ถนนพหลโยธินเปรียบเหมือนแม่น้ำปิง ทำเลของจังหวัดเป็นเหมือนสะดือของประเทศ เป็นแหล่งลุ่มชุ่มน้ำที่เหมาะแก่การกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ เกษตรเราก็เยอะ เหมาะแก่การทำอุตสาหกรรมเกษตร ที่สำคัญคนบ้านเราทำขนส่งเก่งมาก สมาคมขนส่งทางบกของประเทศก็มาตั้งอยู่ที่นี่ เพราะเป็น hub ทางหลวง 225 จากอีสานก็มาจบตรงนี้ ไหนจะรถไฟเส้นใหม่จากแม่สอดที่เชื่อมพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนฝั่งตะวันตกอีก

ผมไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นเลย เพียงแต่ก็อยากให้ทุกภาคส่วนที่ผมก็รู้ว่าตระหนักในสิ่งที่ผมพูดอยู่นี้เหมือนกัน มาช่วยกันทำให้คนบ้านเราเข้าถึงโอกาสเติบโตกันให้มากกว่านี้ รวมถึงกลุ่มนักวิจัยที่ช่วยทำให้งานของพวกคุณรับใช้ชาวบ้านมากกว่านี้ อย่าเอาแต่ทำไปตาม TOR พอเสร็จแล้ว ก็เย็บเล่มเก็บเข้าห้องสมุดเฉยเลย”   

วิรัช ตั้งประดิษฐ์
ประธานกรรมการ บริษัท นครสวรรค์สยามโนวา (
1985) จำกัด
และประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

6 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago