“บึงจึงจะสวยที่สุดตอนคืนเดือนหงาย เพราะมีพระจันทร์ 2 ดวง บนฟ้ากับกลางบึง”

“ผมเป็นคนบ้านโต้น เข้ามาหางานในเมืองขอนแก่นตอนอยู่อายุ 18 ความรู้เรื่องตัดผ้า ผมมาหัดเอาตอนมาทำงานเป็นลูกจ้างเขา จนสามารถเปิดร้านตัดผ้าของตนเองปี 2516 ตอนนั้นเป็นแผงลอยอยู่แถวธนาคารออมสิน ก่อนจะย้ายมาตั้งที่นี่ตอนปี 2521 ชื่อร้าน ‘ฮาร่า’ ผมก็เอาชื่อจากโรงงานชื่อดังยุคนั้น ถ้าใครรู้สึกคุ้นๆ หู ก็เข้าใจถูกแล้ว เป็นชื่อของโรงงานตัดผ้าที่กรุงเทพ ที่มีการรวมตัวสหภาพแรงงานนั่นแหละ 

          ทีแรกผมเองก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะมาเป็นช่างตัดผ้าหรอก ถามว่าชอบไหมก็คงต้องบอกว่าชอบ เพราะทำมานานแล้ว เพลินจะหยุดก็หยุดไม่ได้แล้ว (หัวเราะ)  ปีนี้อายุก็ 80 แต่ยังพอทำได้ก็ทำไป ที่ร้านยังมีลูกค้าประจำแวะมาตลอดส่วนใหญ่เป็นพวกข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ งานเลยจะหนักไปทางพวกเครื่องแบบ ตำรวจ ทหาร ชุดข้าราชการ และก็มีสูท ทั้งสูทตัด กับสูทที่มีปักตราองค์กรตรงกระเป๋าหน้าอก จริงๆ ร้านที่เก่ากว่าร้านของลุงก็มีอยู่นะอยู่ในตลาดเทศบาล แต่ที่นี่คนก็จะรู้จักกันอยู่เพราะเราเปิดอยู่ริมบึงแก่นนครมาตั้งแต่ถนนยังไม่ดีแบบนี้

ตอนที่มาทำร้านตรงนี้ ที่นี่มีบ้านอยู่แค่ 9 หลัง มีแต่ไฟฟ้า น้ำประปาไม่ต้องถามถึง ริมบึงไม่ได้เป็นสวนสวย ๆ แบบนี้ จะมีก็เพียงเก้าอี้ไม้ผุ ๆ ให้นั่งรับชมวิวช่วงเย็น ๆ ริมบึงจะมีคนหาปลา ทอดแหก็มี เมื่อก่อนจะมียอขนาดใหญ่อยู่ตามมุมบึง ถึงหน้างานเทศกาลริมบึงก็จะคึกคักขึ้นมาที อย่างงานลอยกระทง งานสงกรานต์ โดยเฉพาะงานสงกรานต์ หนุ่มสาวจะพากันลงเล่นน้ำกันในบึงสนุกสนานเฮฮากันมาก  

รู้ไหมว่าบึงแก่นนครสวยที่สุดตอนไหน ในสมัยที่ไฟฟ้ายังมีไม่มาก บึงจึงจะสวยที่สุดตอนคืนเดือนหงาย เพราะมีพระจันทร์ 2 ดวง บนฟ้ากับกลางบึง ยิ่งช่วงลอยกระทงเดือน 12 จะยิ่งสวยเป็นพิเศษ  เพราะน้ำในบึงจะขึ้นมาถึงถึงขอบตลิ่ง เด็กๆ จะออกมาขี่จักรยาน ผู้ใหญ่ออกมาเดินเล่นรับลม ถ้าเป็นช่วงวันลอยกระทงคนจะยิ่งแน่น เรียกเดินแทบไม่ได้ เมื่อก่อนที่บึงจะมีการลอยกระทงปีหนึ่งสองหน คือ ลอยกันวันออกพรรษาเดือน 11 และลอยวันลอยกระทงเดือน 12 อีกหน  บึงแก่นนครสมัยก่อนน้ำใสกว่านี้ เป็นความใสที่ไม่ได้ใสแบบใสแจ๋ว แต่เป็นใสแบบมีสีเหลืองขุ่นๆ และสะอาด คนใช้อาบ ซักเสื้อผ้า และใช้ทำอาหาร พอหน้าน้ำน้ำก็เยอะจนล่นปริ่ม พอหน้าแล้งก็มีสันทรายขึ้นให้เราเดินข้ามไปบ้านฝั่งนู้นได้เลย ปลากับกุ้งชุกชุม เดี๋ยวนี้น้ำไม่เหมือนแต่ก่อนแล้วเพราะบ้านเรือน โรงแรม ร้านอาหารตั้งอยู่ริมบึงกันเยอะ พอการพัฒนาเข้ามาอะไรก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เรียกว่ามีทั้งที่เจริญขึ้น บางอย่างก็เสื่อมลง ลุงกับป้าก็รอดูอยู่นะ เห็นว่าจะมีรถรางมาวิ่งรอบบึง เห็นเขามาประชุมเอาแผนเอาภาพมาให้ดู เราก็รอดูคิดว่ามันน่าจะดีกันการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจแถวนี้”

สุเทพ และเพ็ญศรี เงาพระฉาย
เจ้าของร้านฮาร่า ร้านตัดเสื้อริมบึงแก่งนคร

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago