บ้านเรียน (Homeschool) การเรียนที่บ้านแต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเรียนแต่ที่บ้านอย่างเดียว

“ตอนอยู่ในโรงเรียน หนูเรียนและทำข้อสอบได้ดี ซึ่งครูหลายคนก็บอกว่าเราน่าจะไปเรียนต่อสายวิทย์ ไปเรียนต่อหมอได้แน่ๆ ซึ่งตอนนั้นเราอายุแค่ 9 ขวบเอง ไม่ได้คิดอะไร จนวันหนึ่งแม่มาบอกว่าจะให้ออกจากโรงเรียนมาเรียนที่บ้านเป็นเพื่อนน้อง หนูก็ดีใจนะ เพราะไม่ต้องตื่นเช้าไปโรงเรียนแล้ว (หัวเราะ)

แต่เอาเข้าจริง อึดอัดมากๆ ค่ะ เพราะเราเรียนอยู่บ้าน ก็ย่อมขี้เกียจเป็นธรรมดา ต้องใช้เวลาปรับตัวอยู่สักพักเพื่อให้เรารับผิดชอบต่อบทเรียน เรียนคือเรียน พักคือพัก ซึ่งต่อมาหนูพบว่าจริงๆ การเรียนที่บ้าน ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเรียนแต่ที่บ้านอย่างเดียว หลายครั้งแม่ก็พาเราไปร่วมกิจกรรมนั่นนี่ ไปห้องสมุด ไปจนถึงเข้าห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนด้วย เพราะแม่เห็นว่าเราสนใจวิทย์ ก็ไปขอให้ครูหรือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยช่วยสอน ก็ได้ทดลองจนหายอยากเลย

จุดเปลี่ยนจริงๆ ตรงที่หนูพบว่าเราชอบเรียนศิลปะ ซึ่งไม่ใช่แค่การวาดรูปให้เหมือน แต่เป็นการใช้จินตนาการ หรือการเอาความคิดในหัวออกมาเป็นภาพ ซึ่งหนูชอบที่จะได้คิดและพบว่าพอได้เรียนวิชานี้แล้วหนูไม่เบื่อเลย อยู่บ้านเฉยๆ ไม่อ่านหนังสือก็วาดรูป เวลาทำโครงงานกับเพื่อน เราก็อาสาเพื่อนว่าจะวาดรูป ทำงานออกแบบ หรือจัดองค์ประกอบศิลป์ให้ ก็ค้นพบตัวเองว่าจริงๆ เราชอบทำงานศิลปะ

ไม่ได้มองว่าตัวเองจะเป็นศิลปิน หรือจะเรียนจบเพื่อเป็นศิลปินเลยนะ เราแค่อยากใช้ศิลปะในการทำงานมากกว่า ซึ่งความที่เราสนใจเรื่องไอทีหรือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย เลยคิดว่าน่าจะไปทางนี้ เราชอบใช้โปรแกรม Blender ทำงานสามมิติ อยากทำงานพวกออกแบบเกมหรือแอปพลิเคชั่นอะไรแบบนี้ พอเรียนจนเทียบชั้น ม.6 ได้ หนูก็เลยตัดสินใจจะไม่สอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่สมัครคอร์สเรียนออนไลน์พวกทักษะหรือหลักสูตรเฉพาะด้านนี้เพื่อเก็บ certificate ไปพร้อมกับพัฒนาทักษะ และสะสมพอร์ทฟอลิโอ หนูคิดว่างานด้านนี้ต้องการทักษะและความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย แนวทางนี้จึงน่าจะตอบโจทย์กว่าการเรียนปริญญาค่ะ”

อเล็กซ์ – อเล็กซานดร้า วรรษชล ชลอร์

#WeCitizensTh #LearningCity #ChiangMai

หมายเหตุผู้เรียบเรียง: ช่วงปี 2563 อเล็กซ์ได้ร่วมกับเพื่อนๆ ที่เป็นเด็กบ้านเรียนด้วยกันทำโปรเจกต์ Ancestral Lens แอปพลิเคชั่นส่งเสริมการเรียนรู้ระดับนักเรียนในด้านประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ผ่านการทำ AR แลนด์มาร์คทางประวัติศาสตร์อย่าง วัดเชียงมั่น วัดเจดีย์หลวง และวัดพระสิงห์ ซึ่งอเล็กซ์รับหน้าที่เป็นดีไซน์เนอร์ปั้นโมเดลสามมิติของสถาปัตยกรรมในวัดทั้งสามแห่ง ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้เข้ารอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 hours ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

6 days ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

7 days ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

1 week ago