ประเด็นก็คือค่าเช่าตึกในตัวเมืองกาฬสินธุ์หลายตึก มีราคาสูงพอๆ กับค่าเช่าในเมืองใหญ่อย่างขอนแก่น พอราคามันสูงแบบนี้ คนรุ่นใหม่ที่อยากเริ่มธุรกิจก็ไม่กล้าเช่า

ผมเป็นคนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ครอบครัวผมปลูกกาแฟมาตั้งแต่ปี 2529 แต่สมัยก่อนผมไม่เคยคิดที่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟเลย

ผมเรียนหนังสือในระบบตามปกติที่กรุงเทพฯ จบมาก็ได้ทำงานโรงงานของแบรนด์สุราเจ้าหนึ่ง เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายโรงงานต่างจังหวัด โรงงานมีทั้งหมด 12 แห่งทั่วประเทศ ผมก็จะเดินทางไปตรวจสอบโรงงานละ 2 เดือน หมุนเวียนไปแบบนี้ทั่วประเทศ ผมทำงานนี้มา 5 ปีแล้ว จนรู้สึกไม่อยากเดินทางบ่อย พอดีได้แฟนเป็นคนกาฬสินธุ์ ก็เลยขอย้ายมาประจำโรงงานที่ขอนแก่นใกล้ๆ ทำอีกสักพัก ก็คิดอยากมีธุรกิจของตัวเอง เลยลาออกมา

ผมเริ่มธุรกิจน้ำดื่มที่กาฬสินธุ์ก่อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ช่วงนั้นคือราวๆ ปี 2545 ก็คิดกับแฟนว่าเราจะเปลี่ยนมาทำธุรกิจอะไรต่อไปดี แล้วมันก็มีความคิดหนึ่งแทรกเข้ามาว่าอยากกลับบ้านที่เชียงราย ไอ้ความคิดนั้นแหละที่จุดประกายผมว่า ในเมื่อบ้านเราปลูกกาแฟ ทำไมถึงไม่เอากาแฟที่บ้านมาขายที่กาฬสินธุ์

ความต้องการนี้สอดคล้องกับปัญหาที่ครอบครัวผมกำลังเจอพอดี เพราะเขาปลูกกาแฟส่งร้าน แต่บางครั้ง ร้านเขาไม่ได้รับซื้อทั้งหมดที่เราปลูก เช่นบางสัปดาห์เขาอาจจะรับผลผลิตเราแค่ 3 วัน ส่วนอีก 4 วันเขาไม่ซื้อ กาแฟเราจึงเหลือ ถ้าผมเปิดร้านกาแฟ ก็จะได้ช่วยจัดการต้นทุนให้ที่บ้านได้


อีกอย่างหนึ่งคือ ช่วงนั้นกาแฟดอยช้างเริ่มเป็นที่นิยมแล้ว ตามเมืองใหญ่ๆ ก็เริ่มมีร้านที่ขายกาแฟสดผุดขึ้น แต่ที่กาฬสินธุ์ยังไม่มี ผมก็เลยตัดสินใจกลับบ้านไปเรียนรู้เรื่องกาแฟใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง และกลับมาเริ่มธุรกิจร้านกาแฟสดในคีออสเล็กๆ หน้าบ้านของแฟนบนถนนกาฬสินธุ์ ใกล้ๆ วัดกลาง ในปี 2553  เป็นร้านกาแฟสดร้านแรกของกาฬสินธุ์

ใช้เวลานานอยู่เหมือนกัน กว่าจะให้คนที่นี่รู้จักว่ากาแฟสดคืออะไร น่าจะ 2-3 ปีได้นะที่ธุรกิจอยู่ตัวและมีกำไร มาปี 2556 ก็ขยับขยายด้วยการเปิดโรงคั่วของเราเอง และจากคีออสเล็กๆ ก็ขยับมาเป็นคาเฟ่จริงจังในบ้านของแฟนเมื่อปี 2560

เริ่มแรกผมขายกาแฟแก้วละ 25 บาท ขายดีเลยครับ แต่พอตอนหลังมาร้านกาแฟเริ่มเยอะขึ้น ส่วนแบ่งตลาดก็มากขึ้น และพอมาพิจารณาต้นทุน ราคานี้ก็แทบไม่เหลือกำไร จึงขยับราคาขึ้นมา และนำสตอรี่ของไร่กาแฟบนดอยช้างที่บ้านมาเป็นจุดขาย รวมถึงแบ่งประเภทการเสิร์ฟตามการแปรรูปเมล็ด เพื่อสร้างความแตกต่าง สอดรับกับที่คนดื่มกาแฟเริ่มให้ความสนใจกับแหล่งที่มาของเมล็ดหรือกระบวนการต่างๆ พอสมควร ร้านเราก็เลยมีจุดขายที่ชัดเจน

ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดกับนักท่องเที่ยวครับ ราวๆ 80% ส่วนอีก 20% เป็นคนท้องถิ่น ซึ่งเข้าใจได้ เพราะเมืองเราเป็นเมืองเล็กๆ แต่ก็พอมีลูกค้าประจำในตัวเมืองบ้าง ส่วนลูกค้าต่างจังหวัด เรามักจะได้จากการที่เขามาทำธุระที่เมืองกาฬสินธุ์ หรือบางคนอาจขับรถไปสกลนคร มุกดาหาร หรือนครพนม ซึ่งสามจังหวัดนี้การไปมาหาสู่กันต้องผ่านจังหวัดเรา พวกเขาก็จะแวะเข้าเมืองมาดื่มกาแฟที่ร้าน

ทุกวันนี้ในตัวเมืองกาฬสินธุ์น่าจะมีร้านกาแฟรวมคีออสเล็กๆ ด้วย ราวๆ 50-60 ร้านครับ ถามว่าแข็งขันกันสูงไหม ก็พอสมควร แต่เราอาศัยเปิดมาก่อน และมีลูกค้าประจำติดแล้ว จึงพอไปได้

ถามว่าชอบอะไรในเมืองนี้? ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นบ้านเกิดของแฟน เลยมีต้นทุนที่ดี อีกเรื่องคือเมืองมันเงียบสงบ ปลอดภัย และผู้คนมีมนุษยสัมพันธ์ดี

แต่มองอีกมุม ข้อดีที่ผมว่ามามันก็เป็นข้อเสียด้วยนะ เพราะพอเมืองมันไม่หวือหวา มันเลยไม่ค่อยมีการลงทุนใหม่ๆ แล้วถ้าคุณสังเกตในย่านใจกลางเมืองตรงนี้ จะเห็นอาคารพาณิชย์ปิดไว้และแขวนป้ายให้เช่าหลายหลัง แต่ก่อนอาคารเหล่านี้ก็เป็นร้านค้านั่นแหละ แต่พอเจ้าของกิจการอายุมาก เขาก็ไม่ขายของแล้ว และไม่ได้ส่งเสริมให้ลูกหลานสานต่อกิจการ คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่พอไปเรียนที่อื่น เขาก็ทำงานที่อื่นด้วยเลย

ประเด็นก็คือค่าเช่าตึกหลายตึกในย่านนี้ มีราคาสูงพอๆ กับค่าเช่าในเมืองใหญ่อย่างขอนแก่นเลยนะครับ พอราคาเช่ามันสูงแบบนี้ คนรุ่นใหม่ที่อยากเริ่มธุรกิจก็ไม่กล้าเช่า เพราะไม่รู้จะคุ้มต้นทุนหรือเปล่า หลายตึกจึงหาผู้เช่าไม่ได้สักที เพราะถ้าผมเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีตึกอยู่ที่นี่ ผมก็คงเลือกไปเช่าที่ขอนแก่น ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขายดีมากกว่า

คิดว่าถ้าหน่วยงานไหนอยากฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจให้เมือง การสร้างความร่วมมือและทำความเข้าใจกับเจ้าของอาคารในย่านก็เป็นสิ่งสำคัญครับ”

สิงห์คำ วาสีอนุรักษ์
เจ้าของร้านโรงคั่วกาแฟสิงห์ฟาร์ม (SingFarm Coffee Roaster)
https://www.facebook.com/profile.php?id=100046379663842

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 hours ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 hours ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 hours ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 hours ago

[The Insider]<br />จักรพงษ์ แสงบุญ

“ไม่ว่าเชียงรายจะพัฒนาสู่เมืองในนิยามใดเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าผู้คนไม่รู้จักเรียนรู้ต้นทุนของเมือง และไม่รู้จักปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง” “เวลาพูดถึงเครื่องมือการพัฒนาเมือง ความยากของเชียงรายคือ เราต้องรับมือกับความท้าทายหลายมิติ และไม่อาจละทิ้งประเด็นใดได้เลย เชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (Brown City) ที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเหมือนหลายเมืองทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับสังคมสูงวัย (Silver City) รวมถึงภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม…

9 hours ago

[The Insider]<br />ดร.สุจิรา พุทธวีวรรณ

“เราหวังให้ที่นี่เป็นมากกว่าห้องสมุดแต่เป็นพื้นที่กลางให้ผู้คนทุกช่วงวัยได้มีความสุขร่วมกัน” “ห้องสมุดเสมสิกขาลัย เกิดจากดำริของ ศ. นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นายแพทย์คนสำคัญผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินของท่านซึ่งมอบให้เทศบาลนครเชียงรายนำไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์ห้องสมุดเปิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่าน (เกิดปี 2454…

9 hours ago