ตั้งอยู่ในอำเภอแกลง ห่างจากเทศบาลนครระยองราว 57 กิโลเมตร ตำบลปากน้ำประแสเดิมเคยเป็นหมู่บ้านประมงพาณิชย์ที่แสนคึกคักและรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในแถบภาคตะวันออก หากปัจจุบันด้วยกฎหมายการประมงที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้การประมงแบบเดิมซบเซาราวพลิกฝ่ามือ อย่างไรก็ตาม ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และประวัติศาสตร์ที่เชื่อมร้อยกับพื้นที่และชุมชน ทำให้ปากน้ำประแสเปลี่ยนโฉมหน้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด สถานที่ที่คุ้มค่าแก่การขับรถมาเยือนจากตัวเมืองระยองเพื่อดื่มด่ำกับบรรยากาศของการพักผ่อนที่ไม่เหมือนที่ไหน และเหล่านี้เป็นเหตุผลว่าทำไม
สะพานประแสสิน
สะพานประแสสินมีสถานะกลายๆ ของการเป็น ‘ประตู’ ทางเข้าเมือง (ตำบลปากน้ำประแส) สะพานที่ทอดยาวซึ่งมาพร้อมทางจักรยานและทางเดินเท้าแห่งนี้ เป็นจุดชมวิวชุมชนปากน้ำประแสและท้องทะเลอันกว้างใหญ่สุดสายตา ตบไฟเลี้ยวและจอดรถข้างทาง เดินลงมาสูดอากาศ ชมทิวทัศน์ และสัมผัสบรรยากาศสุดผ่อนคลายก่อนเข้าไปชมชุมชนอันสงบงามด้านใน
อนุสรณ์เรือรบหลวงประแส
อดีตเรือรบของราชนาวีที่เข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี ภายหลังที่เรือถูกปลดประจำการ เรือลำนี้ก็ถูกนำมาจอดเทียบท่าที่ปากน้ำประแส เป็นอนุสรณ์สถานที่เชื่อมร้อยประวัติศาสตร์ระหว่างไทยและเกาหลี ซึ่งเปิดให้ทุกคนเข้าชมและถ่ายรูปด้านใน ทั้งนี้ยังสามารถชมวิวของอ่าวไทยจากมุมสูงบนตัวเรือได้ด้วย
เส้นทางศึกษาธรรมชาติทุ่งโปรงทอง
เส้นทางศึกษาธรรมชาติทุ่งโปรงทอง เป็นสะพานไม้ที่ทอดยาวเข้าไปภายในป่าโกงกางทุ่งโปรงทองพื้นที่ 6,000 ไร่ เดินชมต้นโกงกางน้อยใหญ่ที่ร่มรื่นและรายล้อมทางเดินราวกับอุโมงค์ธรรมชาติอย่างไม่ทันหายเหนื่อย ก็จะพบทุ่งโปรงทองแผ่กว้างละลานตาแบบที่หาจากที่ไหนไม่ได้ในระยอง
ชุมชนปากน้ำประแส 100 ปี
แม้จะมีอายุต่อท้ายชื่อชุมชนถึง 100 ปี แต่อันที่จริงชุมชนแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ชุมชนปากน้ำประแสเคยเป็นศูนย์กลางความเจริญในยุคประมงพาณิชย์เมื่อทศวรรษก่อน หากปัจจุบันชุมชนบ้านไม้ที่เรียงรายอยู่ริมน้ำแห่งนี้ กลายเป็นแลนด์มาร์คทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่เปี่ยมด้วยบรรยากาศแบบชุมชนอันงดงามในยุคก่อน ภายในชุมชนเป็นที่ตั้งของ ‘บ้านพิพิธภัณฑ์ปากน้ำประแส’ จัดแสดงภาพถ่ายชุมชนในสมัยก่อน รวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับวิถีชุมชนและความเป็นไปของปากน้ำประแส
ชิมอาหารพื้นบ้านจากร้านตำรับดังชุมชน
ปิดท้ายที่การชิมอาหารพื้นบ้านจากหลากร้านดังในชุมชน ผลิตผลจากประมงพื้นบ้านโดยชาวชุมชน ร้านเจ๊หน่องแซ่บเว่อร์ เป็นร้านเด็ดภายในชุมชน 100 ปี เสิร์ฟอาหารทะเลสดใหม่ และเมนู ‘ข้าวผัดประแส’ อาหารจานอร่อยที่ใครมาเยือนต้องไม่พลาด รวมถึงเมนูอย่าง จ๊อเคย ข้าวเกรียบเคย หมึกกระตอยผัดดำ ฯลฯ (เปิดอังคาร 10.00-20.00 น.) ร้านเจ๊มัณเรือรบ ร้านอาหารทะเลที่ตั้งอยู่ริมชายทะเลแสนชิล จากร้านยังสามารถชมทิวทัศน์ของเกาะแก่งต่างๆ ทั้งเกาะมันนอก มันใน และมันกลาง แกล้มกับเมนูเด็ดๆ อย่างหอยตลับผัดฉ่า ปลากะพงทอด ปูไข่ดอง ฯลฯ (เปิดทุกวัน 7.00-21.00 น.) และครัวย่าฉิม อีกร้านอาหารพื้นบ้านภายในชุมชนประแส เสิร์ฟอาหารทะเลจากชาวประมงประแส มีเมนูเด็ดๆ อย่าง แกงป่าปลาเห็ดโคน หมึกปลัด หมึกกะตอยน้ำดำ และแกงส้มผักกระชับ (เปิดทุกวัน 15.00-21.00 น.)
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…
“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…