อาจเรียกได้ว่าเป็นทุกขลาภของเมืองอุตสาหกรรมอย่างระยอง เพราะแม้จะเป็นจังหวัดที่มี GDP สูงที่สุดในประเทศ หากก็ต้องแลกมาด้วยมลภาวะทางอากาศจากจำนวนโรงงานที่มีมากถึง 4,000 แห่ง (ข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง) อย่างไรดี ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างสมดุลหนุนเสริมคุณภาพชีวิตของชาวระยอง คือการที่เมืองอยู่ติดชายทะเล และการมีป่าโกงกางพื้นที่กว่า 500 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางเมือง คอยซับมลภาวะ เป็น ‘ปอด’ สำคัญของคนระยอง
ไม่เพียงเท่านั้นป่าโกงกาง (หรือป่าชายเลน) ยังเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัด ผืนป่าที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำระยอง ทอดยาวขนานไปกับตัวเมืองแห่งนี้ แต่เดิมเป็นป่าที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนระยองในด้านการเป็นแหล่งทรัพยากรทางอาหารจากการจับสัตว์น้ำ ก่อนที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบป่า ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นพื้นที่สีเขียวผืนใหญ่ จึงร่วมกับเทศบาล จังหวัด และบริษัทเอกชนหลายแห่ง บูรณะพื้นที่ให้กลายเป็นสวนสาธารณะใจกลางเมือง
จากสะพานไม้ที่พาผู้คนเข้าถึงความบริสุทธิ์ในผืนป่าที่ชาวบ้านสร้างขึ้นตามจุดต่างๆ เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบาย ‘ป่ากลางเมือง’ รณรงค์ให้มีการจัดทำสวนป่าในตัวเมือง เมื่อปี 2561 สะพานตามจุดต่างๆ ก็เชื่อมเข้าหากันกลายเป็นทางเดินระยะทางถึง 7 กิโลเมตร สร้างสถิติสะพานไม้ภายในป่าโกงกางที่ยาวที่สุดในประเทศ รวมถึงการทำประตูทางเข้าเชื่อมจุดต่างๆ ของเมืองเข้าสู่ผืนป่าแห่งนี้ถึง 7 ประตู ทำให้คนระยองสามารถเดินทางมาสูดอากาศบริสุทธิ์ ชมสัตว์ป่า และความสมบูรณ์ของผืนป่าได้เพียงอึดใจ
หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของป่าแห่งนี้ คือ ‘พระเจดีย์กลางน้ำ’ เจดีย์สีขาวทรงระฆังที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำระยองแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2416 ในสมัยพระยาศรีสมุทรโภคชัยชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) เป็นเจ้าเมืองระยอง เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวเรือหรือผู้โดยสารเรือที่เดินทางบริเวณนั้นได้ทราบว่าได้มาถึงระยองแล้ว (เนื่องจากสมัยโบราณ ระยองมีเพียงการเดินทางทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลักเส้นทางเดียว)
สันนิษฐานกันว่าเจดีย์แห่งนี้สร้างภายใต้แนวคิดเดียวกับพระสมุทรเจดีย์ ในฐานะสัญลักษณ์ให้บรรดานักเดินเรือได้ทราบว่าใกล้ถึงกรุงเทพฯ แล้ว ทั้งนี้ ปัจจุบันบริเวณเจดีย์กลางน้ำเป็นที่ตั้งของศาลาการเรียนรู้ จุดเริ่มต้นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติ (ศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ) รวมถึงท่าเทียบเรือชมป่า
นอกจากนี้บริเวณทิศตะวันออกของพระเจดีย์กลางน้ำ ยังเป็นที่ตั้งของ ‘หอชมเมือง’ (หอชมวิวเฉลิมพระเกียรติ) ซึ่งจัดสร้างโดย IRPC เป็นจุดที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปชมทิวทัศน์ของปากแม่น้ำระยอง อ่าวไทย และพื้นที่บางส่วนของเมืองในมุม 360 องศา อย่างเต็มสายตา
ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำเปิดให้เข้าชมทุกวัน 6.00 น. – 18.30 น. ไม่มีค่าเข้าชม หากขอความร่วมมือให้ผู้มาเยือนเคารพสถานที่และรักษาความสะอาดขณะเยี่ยมเยือน
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…