ผมคิดว่าถ้ามีคนรุ่นใหม่กลับมาเชื่อมโยงกับคนรุ่นก่อนเพื่อช่วยกันออกแบบวิธีการ มาช่วยกันสร้างธุรกิจใหม่ๆ หรือหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ชุมชนเราก็อาจจะดีกว่านี้

“ผมเกิดและโตที่ชุมชนท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ช่วงเรียนมอหนึ่ง ป้าต้อย (สดศรี ขัตติยวงศ์) เริ่มก่อตั้งกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งผมมีโอกาสเป็นอาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่น จากที่ผูกพันกับชุมชนอยู่แล้ว พอได้ร่วมกิจกรรม ได้เข้าอบรม และได้นำนักท่องเที่ยวชมย่านก็รู้สึกสนุกดี แต่ตอนนั้นผมคิดว่าเป็นแค่การใช้เวลาว่างแบบหนึ่ง ไม่ได้คิดอะไรจริงจัง

ผมเรียนด้านสิ่งแวดล้อม เรียนเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างพลังงานแสงอาทิตย์ หรือรถไฟฟ้าทำนองนั้น แต่จุดเปลี่ยนจริงๆ คือช่วงจบปริญญาตรี ผมมีโอกาสไปฝึกงานที่สถาบันรามจิตติ ซึ่งทำงานด้านเด็กและเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงนั้นผมมีโอกาสได้ฝึกทำสารคดี งานเขียนบท ถ่ายทำวิดีโอ และตัดต่อ ไปอยู่ที่นั่นหนึ่งปี ก็ได้ทักษะเหล่านี้กลับมา จากนั้นก็เรียนต่อปริญญาโทที่มหิดล โดยระหว่างที่ผมกลับมาอยู่บ้านเพื่อทำเรื่องจบ พี่นักข่าวที่ไทยพีบีเอสซึ่งรู้จักกันสมัยที่ผมฝึกงานที่สถาบันรามจิตติ ชวนให้ผมทำสกู๊ปข่าวเกี่ยวกับชุมชนท่ามะโอ ความที่ผมคุ้นเคยกับทรัพยากรทางวัฒนธรรมของย่านดีมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยรับงานนี้มาทำ ไปๆ มาๆ พี่เขาก็ชวนทำข่าวต่อเรื่อยๆ กลายเป็นว่าทุกวันนี้ไม่ได้ทำงานที่เรียนมาเลย กลายมาเป็นคนทำสื่อให้บ้านเกิดตัวเองเต็มตัว (ยิ้ม)

ก่อนที่ผมจะกลับมาลำปางครั้งที่สองนี้ ผมมีโอกาสไปทัศนศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศจีนอยู่พักหนึ่ง ไปทั้งซีอาน ปักกิ่ง และเฉินหยาง ไปดูบ้านเมืองเขา และได้เห็นเมืองเก่าหลายแห่งที่เขายังคงเก็บสถาปัตยกรรมหรือพื้นที่ที่เป็นมรดกของเมืองไว้ได้ดี ขณะที่หมู่บ้านบางแห่งที่ถูกปัจจัยบางอย่างทำให้ต้องถูกรื้อทำลาย ทางการเขายังสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยรูปแบบดั้งเดิมได้ ตรงนี้แหละที่จุดประกายแก่ผมมากทีเดียว คือของเก่าที่เมืองจีนเขามีอายุเป็นพันๆ ปี เขายังรักษาได้ ทำไมวัดในลำปางที่มีอายุสองร้อยกว่าปี หรือหมู่บ้านเราที่มีประวัติมาร้อยปี สั้นกว่าเขาเยอะ การอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ไปพร้อมกับทำให้เมืองยังเติบโตต่อไปพร้อมกับยุคสมัยทำไมจึงเป็นไปไม่ได้

แล้วจะทำอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ผมคิดและทำได้ทันทีก็คือการเผยแพร่ของดีของบ้านเกิดตัวเองสู่สาธารณะให้มากที่สุด เราหาแง่มุมที่น่าสนใจของเมืองเราเพื่อบอกเล่าผ่านสื่อที่เราทำ ประชาสัมพันธ์ออกไปเพื่อช่วยดึงดูดผู้มาเยือน ดึงดูดโอกาสใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ชุมชน โดยมุมมองแบบนี้ ผมไม่ได้คิดเองคนเดียว เพราะภายหลังผมกลับบ้านมาทำสื่ออยู่เพียงลำพังพักหนึ่ง เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ รุ่นราวคราวเดียวกับผมก็ทยอยกลับมาอยู่บ้าน บางคนทำธุรกิจส่วนตัว บางคนเป็นบล็อคเกอร์ บางคนเป็นฟรีแลนซ์ พวกเขาก็มาช่วยผมทำงานสื่อต่างๆ ซึ่งทำให้ผมไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป

ช่วงที่ผมกลับมา ทางชุมชนสามารถดีลกับทางจังหวัดและองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในการบูรณะและเปิดบ้านหลุยส์เป็นแหล่งท่องเที่ยวของเมืองได้พอดี ผมจึงมีโอกาสได้ใช้ทักษะการทำสื่อทำนิทรรศการภายในบ้าน จากนั้นก็มีโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของอาจารย์ขวัญ (ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง) ซึ่งผมได้รับมอบหมายให้ทำ AR Guidebooks นำชมภายในบ้านเก่าที่เป็นมรดกของย่านซึ่งก็เป็นอีกแนวทางการนำเสนอชุมชนภายใต้เงื่อนไขจากโควิด-19 และล่าสุดก็ได้รับทุนจากกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ทำวิดีโอสารคดีเชิงลึกเกี่ยวกับวิถีคนขับรถม้าในจังหวัดลำปาง พร้อมไปกับได้ทำโครงการเชิงมีเดียแล็บของ Spark U Lanna ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ผมนำทรัพยากรมาจากชุมชนท่ามะโอ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ในลำปางมาหมดเลยนะ สิ่งนี้ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าแม้ลำปางจะเป็นเมืองเล็กๆ แต่ก็ยังมีแง่มุมให้เล่าอีกมากมายไม่รู้จบ

ถ้าถามว่าอยากเห็นอะไร ผมอยากเห็นคนรุ่นใหม่กลับมาช่วยกันพัฒนาเมืองครับ คือเข้าใจแหละว่าที่คนส่วนใหญ่ไม่กลับมา เพราะที่นี่ไม่มีงานอะไรให้ทำนัก คือถ้าคุณไม่รับราชการ คุณก็อาจไปทำงานการไฟฟ้าที่แม่เมาะซึ่งเป็นงานที่มั่นคง แต่คนทำงานสื่ออย่างพวกผมเนี่ยไม่มีงานประจำให้ทำโดยสิ้นเชิงเลย แต่นั่นล่ะ โลกสมัยนี้เทคโนโลยีมันไปไกลจนทำให้เราไม่ต้องเอาตัวเองไปอยู่เมืองใหญ่ๆ อย่างเดียวแล้ว เราก็ต้องหาแนวทางกันต่อว่าจะทำอย่างไรที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพกลับมาบ้านเกิด ทำอย่างไรให้เมืองมีพื้นที่ทางเศรษฐกิจรองรับคนรุ่นใหม่

แล้วทำไมต้องอยากให้คนรุ่นใหม่กลับมาใช่ไหมครับ? ผมคิดว่านี่เป็นโจทย์เดียวกับชุมชนท่ามะโอบ้านเกิดของผมเผชิญอยู่ตอนนี้ คือชุมชนผมเนี่ยได้รับรางวัลทั้งจากการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจากหน่วยงานต่างๆ มากมายนับไม่ถ้วน คือเราได้รับแต่โล่กับใบประกาศ แต่คนในชุมชนก็หาได้มีรายได้เข้ามาเท่ากับรางวัลที่ได้รับเลย

เราจะทำยังไงให้ชุมชนมีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้สมกับที่ได้รับรางวัล นี่แหละที่ผมคิดว่าถ้ามีคนรุ่นใหม่กลับมาเชื่อมโยงกับคนรุ่นก่อนเพื่อช่วยกันออกแบบวิธีการ มาช่วยกันสร้างธุรกิจใหม่ๆ หรือหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ชุมชนเราก็อาจจะดีกว่านี้ หรือในอีกทาง แทนที่หน่วยงานรัฐจะหาวิธีกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยการมอบรางวัลแบบเดิม อาจจะมีการกำหนดยุทธศาสตร์หรือนโยบายสักอย่างที่ดึงดูดให้คนรุ่นใหม่กลับมาทำงานที่บ้าน เพื่อช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาบ้านเกิด ผมว่าถ้าเป็นเช่นนั้น สิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นได้ดีกว่าการประกาศรางวัลอีกครับ”

สรวิชญ์ หงษ์พาเวียน

นักทำสื่อสร้างสรรค์ และตัวแทนคนรุ่นใหม่จากชุมชนท่ามะโอ

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago