“ผมชอบกระบวนการสร้างสรรค์มังกรตัวนี้เป็นพิเศษ เพราะนี่เป็นผลจากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการของเมืองแห่งการเรียนรู้”

“ผมเริ่มทำประติมากรรม ‘โคยกี๊ก้อน’ ราวปี 2564 ซึ่งเป็นประติมากรรมรูปมังกรสีเหลือง คลุมทับท่อน้ำบริเวณเขื่อนริมแม่น้ำแม่กลองตรงตลาดโคยกี๊ ที่เลือกทำมังกรตัวนี้ก็เพราะเมื่อทีมงานมัณฑนศิลป์ร่วมกับชาวชุมชนสร้างสรรค์งานศิลปะในที่สาธารณะบริเวณริมแม่น้ำตามจุดต่างๆ ตัวแทนชุมชนเห็นว่าท่อน้ำตรงนี้มีทัศนะที่ไม่น่ามอง เราเลยตกลงกันว่า งั้นทำงานศิลปะปิดมันไปเลยดีกว่า

นั่นล่ะครับ มังกรตัวนี้จึงยาวเป็นพิเศษ เพราะจะได้คลุมทับท่อน้ำ และเป็นที่นั่งพักให้กับผู้สัญจรไปมาด้วย

ผมชอบกระบวนการสร้างสรรค์มังกรตัวนี้เป็นพิเศษ เพราะนี่เป็นผลจากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการของเมืองแห่งการเรียนรู้ ซึ่งผมชวนนักศึกษาที่ผมสอนร่วมลงพื้นที่กับเยาวชนและตัวแทนชุมชนในเมืองราชบุรี เรียนรู้เรื่องการทำเซรามิกด้วยกัน และเราก็นำเซรามิกที่ได้จากเวิร์คช็อปนี้แหละ มาให้ทุกคนช่วยกันประกอบเป็นเกล็ดของเจ้าโคยกี๊ก้อน

หลังจากโคยกี๊ก้อนแล้วเสร็จ ผมก็ได้งบประมาณจากโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้มาพัฒนาพื้นที่ต่อ โดยคราวนี้ผมเห็นว่าผนังด้านบนของประติมากรรมยังเป็นผนังเปล่า ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมกับทางเท้าด้านบน จึงคิดถึงการทำจิตรกรรมฝาผนังประดับ โดยหยิบลวดลายของผ้าซิ้นตีนจกคูบัวที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เป็นต้นแบบและใช้ดินที่ปกติใช้สำหรับปั้นโอ่งมังกรเป็นวัสดุหลัก ตัดดินให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต เคลือบทาเนื้อดิน ก่อนนำไปเข้าเตาเผาจนเกิดเป็นแผ่นกระเบื้องเซรามิก จากนั้นก็นำชิ้นงานที่ได้มาจัดเรียงตามลวดลายของผืนผ้า และได้รับความร่วมมือจากชาวชุมชนตลาดโคยกี๊และเจ้าของโรงงานรุ่งศิลป์ผลิตภัณฑ์ดินเผา ช่วยกันติดตั้งบนพื้นที่จริงจนแล้วเสร็จ

เมื่อมองเผินๆ งานชิ้นนี้จะดูเหมือนจิตรกรรมฝาผนัง แต่จริงๆ แล้วเป็นชิ้นงานที่ประกอบขึ้นจากเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมาจากดินและเทคนิคการผลิตเดียวกับช่างปั้นโอ่งมังกร ขณะเดียวกันลวดลายของชิ้นงานก็ถอดมาจากผืนผ้าที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นสำคัญของชาวบ้านคูบัว

ซึ่งนอกจากเป็นงานศิลปะตบแต่งพื้นที่สาธารณะ การนำสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้มาเล่าเรื่อง ยังเป็นสื่อที่ช่วยหล่อหลอมความสนใจของชาวเมืองราชบุรี ให้พวกเขาได้เห็นว่าเมืองของพวกเขามีรากเหง้าที่ทรงคุณค่า และขณะเดียวกัน อัตลักษณ์ดังกล่าวก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนหรือถูกประยุกต์ใช้ให้สอดรับกับยุคสมัยได้เช่นกัน”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธาตรี เมืองแก้ว
รองคณบดีพระราชวังสนามจันทร์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นักวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ราชบุรี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago