“พอฟองสบู่แตกปี 2540 บริษัทที่ผมทำงานประจำก็ปิดตัวลง ผมเป็นคนรุ่นแรกๆ ที่เปิดท้ายนำทรัพย์สมบัติส่วนตัวมาขายจนเกิดเป็นตลาดนัด แต่หลังจากสู้อยู่สักพัก ปี 2542 ผมตัดสินใจพาครอบครัวย้ายกลับมาตั้งหลักที่บ้านเกิดที่นครศรีธรรมราช และยึดอาชีพเขียนบทความและเรื่องสั้นมาตั้งแต่นั้น
เพราะทำงานอยู่กรุงเทพฯ หลายปี เมื่อได้กลับมานครใหม่ๆ ผมพบว่าจังหวะของเมืองเชื่องช้าจนน่าตกใจ เมืองยังมีความเป็นชนบทและผู้คนอยู่กันสบายๆ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องรีบเร่งไปไหน และไม่มีบรรยากาศของการแข่งขัน แม้จะเป็นเรื่องดีต่ออาชีพนักเขียน แต่ตอนมาอยู่ใหม่ๆ ผมก็ใช้เวลาปรับตัวอยู่พอสมควรเหมือนกัน
ผมไม่มีความเป็นคนนครเลย ถ้าคุณนิยามวิถีคนนครในแบบที่ตื่นแต่เช้ามืดมานั่งร้านน้ำชาเพื่อพูดคุยกับเพื่อน หรือกินโรตีกับน้ำชาอีกรอบในตอนค่ำ อาจจะเพราะแบบนี้ ผมจึงไม่ค่อยได้มีปฏิสัมพันธ์กับเมืองมากนัก หากไม่ใช่การทำธุระ ซื้อข้าวของ หรือกินอาหารตามร้าน การใช้ชีวิตในเมืองของผมคือการใช้เวลากับการนั่งอ่านหนังสือหรือเขียนต้นฉบับที่ร้านกาแฟ และใช้เวลาตอนเย็นเดินออกกำลังกายที่สวนสาธารณะและเอาข้าวไปให้หมาและแมวจรจัดในสวน
อย่างไรก็ดี ความเป็นเมืองนครก็ถือเป็นวัตถุดิบหลักที่ผมนำมาใช้เขียนเรื่องสั้นตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นอันเรียบง่ายและวนซ้ำแต่ก็เปี่ยมไปด้วยรายละเอียดและสถานการณ์ ความเชื่อ ความศรัทธา ไปจนถึงปรากฏการณ์เกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง ที่กลายมาเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับจังหวัดจนถึงทุกวันนี้
ถ้าไม่นับช่วงเรียนหนังสือในวัยเด็ก ผมใช้ชีวิตอยู่เมืองนครมายี่สิบกว่าปีแล้ว แน่นอน เมืองเปลี่ยนแปลงไปจากที่ผมคุ้นเคยตอนที่กลับมาอยู่ใหม่ๆ อย่างเห็นได้ชัด เกิดการขยายตัว มีตึกรามบ้านช่องขึ้นหนาแน่นพร้อมสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ดีขึ้น และจังหวะของเมืองก็เร็วขึ้น แต่ถามว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ไหม ผมมองว่าที่นี่ก็เหมือนเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่ในประเทศไทย คือเป็นเมืองที่ทุกคนอยู่ได้ แต่ยังห่างไกลจากความน่าอยู่
เพราะเมืองยังคงติดอยู่กับระบบราชการที่ล่าช้า ประชาชนเข้าถึงบริการได้ลำบาก ผู้คนหลายคนยังไม่เคารพในสิทธิ์ของกันและกัน ต่างคนต่างขับรถไม่เอื้อเฟื้อ กระทั่งคุณเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย น้อยเหลือเกินที่จะมีรถจอดให้คุณเดินข้าม ยังไม่นับรวมเมืองยังขาดพื้นที่สาธารณะที่ตอบสนองกับผู้คนทุกเพศทุกวัย สิ่งเหล่านี้หาใช่สิ่งที่ผมพบในเมืองนคร แต่เป็นเมืองใหญ่ๆ แทบจะทั่วประเทศ
จริงอยู่ที่ความหนาแน่นของประชากร ตึกรามบ้านช่อง ธุรกิจ และสาธารณูปโภค ล้วนเป็นเครื่องชี้วัดความเป็นเมือง แต่สำหรับผม เมืองที่แท้จริงคือการที่ผู้คนในเมืองมีสำนึกของความเป็นพลเมือง เคารพ และมีน้ำใจต่อผู้อื่น รวมถึงมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของเมืองด้วยกัน สิ่งนี้ต่างหากคือความศิวิไลซ์ คือสิ่งที่ทำให้เมืองเป็นเมือง เมืองที่มีจิตวิญญาณ”
จำลอง ฝั่งชลจิตร
นักเขียน และศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…