“ผมเกิดปี พ.ศ. 2493 ที่กาฬสินธุ์ ก็เหมือนคนอีสานส่วนใหญ่ในสมัยนั้นที่ต้องจากบ้านไปแสวงหาความร่ำรวยที่กรุงเทพฯ บางคนไม่ประสบความสำเร็จก็ต้องกลับบ้าน บางคนอาจเสียชีวิตก่อนได้กลับบ้าน ส่วนผมประสบความสำเร็จหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ แต่คิดว่าการได้โอกาสกลับมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้าน ถือเป็นโชคดี
ผมเริ่มงานในตำแหน่งพนักงานขนถ่ายพัสดุที่การบินไทยในวันที่ 23 สิงหาคม 2523 ทำมา 25 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือเจ้าหน้าที่สำนักงาน คิดว่าก่อนร่างกายเราจะทำอะไรต่อไปไม่ไหว น่าจะกลับไปทำอะไรสักอย่างที่บ้าน เลยขอเออร์ลี่รีไทร์ออกมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2548
ก่อนจะลาออกมา ภรรยาผม (คุณสมพร คงสมของ) ทำร้านอาหารอีสาน ก็คุยกับเขาว่าอยากกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิดแล้ว ตอนแรกภรรยาผมเขาก็ไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะธุรกิจเขากำลังไปได้สวย แต่ผมก็บอกว่ากรุงเทพฯ ไม่เหมาะให้เราใช้ชีวิตตอนแก่หรอก เรากลับบ้านไปทำสวนของเราดีกว่า สุดท้ายเขาก็ยอม กลับมาที่นี่ด้วยกันปี 2549
ผมเริ่มซื้อที่ดินตรงนี้เก็บไว้เมื่อปี 2541 ค่อยๆ ทำมาเรื่อยๆ คิดอยากทำให้ที่ดินตรงนี้เป็นป่าแบบที่เราเคยใช้ชีวิตสมัยยังเด็ก สมัยนั้นป่าเคยอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น และมีผลหมากรากไม้ให้เรากินไม่จบสิ้น อีกสิ่งที่ผมสนใจคือวัฒนธรรมคาวบอย ก็คิดอยากมาเป็นคาวบอยอีสานที่นี่ แต่ความที่ที่ดินตรงนี้ค่อนข้างแล้ง เลยฟื้นฟูยาก ผมก็ขุดสระ เอาต้นไม้มาลงค่อยๆ ปลูกกันไป และก็ไปศึกษาเรื่องสถาปัตยกรรมอีสาน เพื่อคุมช่างปลูกเรือนพื้นถิ่นทีละหลังทีละหลัง อย่างที่บอก ผมทำงานสายการบินมาทั้งชีวิต เรื่องพวกนี้ต้องมาเรียนรู้ใหม่เอาตอนแก่หมด เหนื่อยหน่อย แต่ก็เป็นได้ตามที่หวัง
ผมตั้งชื่อที่นี่ว่าสวนดอนธรรม โดยเริ่มจากเปิดร้านอาหารให้ภรรยาก่อนชื่อ ‘เฮือนกาฬสินธุ์’ ชื่อเดียวกับที่เธอเคยเปิดที่กรุงเทพฯ เปิดเมื่อราวปี 2552-2553 แล้วก็ค่อยๆ ขยายพื้นที่เอา ตอนนั้นกาฬสินธุ์ยังไม่มีโรงแรมที่นำวัฒนธรรมพื้นถิ่นมานำเสนอ ผมก็เลยเอาเรือนอีสานที่ปลูกมาทำเป็นบ้านพักแบบโฮมสเตย์ มีเรือนขนาดใหญ่ที่รองรับการจัดประชุมหรืองานแต่งงาน โดยเรือนไม้ในพื้นที่ของผมทั้งหมด ปลูกใหม่ตามรูปแบบดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมอีสาน ก็หวังไว้ไม่ใช่แค่ให้คนมาใช้พื้นที่และถ่ายรูปสวยๆ กลับไป แต่ผู้คนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ จะสามารถเข้ามาเรียนรู้สถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสานได้ด้วย
ผมฝันเอาไว้ว่าอยากให้สวนดอนธรรมเป็นพื้นที่เรียนรู้ ผมมีกำลังสร้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่าผมไม่ถนัดและมีพลังมากพอจะบริหารจัดการ ถ้ามีบุคลากรหรือหน่วยงานมาช่วย ก็คงจะดีมากๆ ผมวาดเอาไว้ว่าอยากทำพิพิธภัณฑ์ เพราะผมสะสมประติมากรรมดินเผาไว้พอสมควร และมีเพื่อนศิลปินที่ทำงานศิลปะอยู่หลายคน เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ให้คนรุ่นหลังได้รู้จักบรรพบุรุษคนอีสานที่มีส่วนสร้างบ้านแปงเมือง ทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดิน หรือสร้างแบบอย่างที่ดีให้คนรุ่นหลัง
ยกตัวอย่างเช่นเรื่องของนายฮ้อย พ่อค้าเร่ขายวัว-ควายให้ชาวนาตามหมู่บ้านต่างๆ ในอีสาน ไม่เพียงเรื่องความอุตสาหะ มานะ และความซื่อสัตย์ของนายฮ้อยที่เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลัง แต่เรายังได้เรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกรอีสานสมัยก่อน เห็นถึงวิถีชีวิตอันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของชาวบ้าน ซึ่งสมัยนี้ด้วยสังคมที่บีบให้เราต้องแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ภาพแบบนายฮ้อยจึงค่อยๆ เลือนหายไป เป็นต้น
เรื่องของนายฮ้อยยังผูกโยงกับวัฒนธรรมคาวบอยอีสาน วัฒนธรรมผสมที่ผมหลงใหลอีก ซึ่งก่อนที่ผมจะผลักดันให้สวนดอนธรรมเป็นศูนย์เรียนรู้ ขณะนี้ผมก็มีแผนจะทำลานคาวบอย สนองความชอบส่วนตัวไปก่อน (ยิ้ม)
ล่าสุด เราเพิ่งร่วมมือกับทางคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ทางนั้นเขามีโครงการเรื่องการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ มีทั้งบุคลากร องค์ความรู้ และกระบวนการ ผมก็ยินดีให้เขาเข้ามาใช้พื้นที่อย่างเต็มที่ ถ้ามันจะสร้างประโยชน์อะไรต่อคนอื่น
เราสองคนไม่มีลูก แต่ก็มีหลานมาช่วยดูแลกิจการ ผมกำชับเขาว่าขอไม่ให้หลานขายสมบัติชิ้นนี้ ถ้ากิจการที่ทำอยู่ไม่เหมาะกับยุคสมัยก็ให้เปลี่ยนไปทำอย่างอื่น ขอไว้อย่างเดียวคือขอให้คนอื่นๆ สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในที่ของเรา มาเรียนรู้ หรือมาจัดกิจกรรมอะไรก็ตามที่ช่วยพัฒนาทักษะหรือชีวิตพวกเขาได้ ผมอยากให้ที่นี่เป็นสมบัติของคนอีสาน เป็นสมบัติของแผ่นดิน”
โชฎึก คงสมของ
ผู้ก่อตั้งสวนดอนธรรม
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…