ผมเป็นบาริสต้า แฟนทำขนม ให้แม่มาเป็นแม่ครัว เราก็คิดว่า ถ้าเราทำงานอื่น เราไม่ค่อยได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว

“จุดเริ่มต้นของร้าน Deep Root Café คือการปั่นจักรยานมาเจอ นึกว่าคุ้นๆ นะ เป็นทางเดินกลับบ้านเราเองตอนยังเด็กมาก บ้านผมอยู่สำเพ็ง ฝั่งโน้น ผมเรียนโรงเรียนแสงอรุณ จากวัดซางตาครู้สเดินผ่านทางนี้ ก็ร้างๆ อยู่แล้วล่ะ พอมาเห็นรู้สึกสงสารพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างมาเป็นห้าสิบปี รู้สึกว่าเราพอจะทำอะไรบางอย่างได้มั้ย อีกข้อนึง ผมทำงานในตัวเมืองโซนสยามสแควร์ เราอยากหนีความวุ่นวาย อยากให้มีพื้นที่รีแลกซ์สำหรับคนในเมืองที่วุ่นวายกับชีวิตในวันหนึ่งๆ

ความคิดแรกคือทำร้านกาแฟ แต่หลักๆ ผมอยากเห็นคอมมิวนิตี จุดเริ่มต้นของคอมมิวนิตีก็คือ เราลืมอะไรไปหรือเปล่า ในความเป็นรูตจริงๆ หมายถึงการเอาสิ่งที่ไร้ค่า ให้กลับมามีคุณค่าได้ยังไง หรือเราใส่คุณค่าให้มันยังไงได้บ้าง โดยการใช้ศิลปะกับดีไซน์เพื่อให้มันฟื้นฟูบางอย่างที่หล่นหายหรือถูกมองข้ามกลับมาอีกครั้ง การทำร้านของผม ก็จะใช้ของที่ถูกทิ้ง ถูกมองข้ามไป เอากลับมา เด็กเองก็เหมือนกัน ผมมองเด็กเป็นผู้ใหญ่คนนึง ให้เขาทำตัวเป็นผู้ใหญ่ไปเลย เรามีเด็กๆ เป็นพนักงาน เรียกว่าเป็นครอบครัว เริ่มมาจากตอนโควิด เด็กต้องเรียนออนไลน์ เราให้เด็กๆ แถวนี้มาอยู่ในความดูแลของเรา เราจะสามารถช่วยเขาได้ ป้อนสิ่งที่เป็นแง่บวกให้เขา ซึ่งลูกค้าก็น่ารัก เขาเอ็นดูเด็ก แล้วเขาก็ได้รับพลังงานดีๆ ซึ่งผมอยากหว่านเมล็ด เป็นการส่งต่อ เพราะนอกเหนือจากการเปิดร้านกาแฟ มันคือการมองเห็นการเติบโต ซึ่งอาจเป็นความสุขที่อยู่กับเราได้นานกว่าความสุขแบบอื่นก็ได้

ผมเป็นบาริสต้า แฟนทำขนม ให้แม่มาเป็นแม่ครัว เราก็คิดว่า ถ้าเราทำงานอื่น เราไม่ค่อยได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว วัยของผมคือต้องยุ่งวุ่นวายหาเงินสร้างเนื้อสร้างตัว พอมีเงินแล้วเราจะไม่มีเวลา ผมมองว่าเราต้องมีบาลานซ์ในทุกช่วงเวลาของชีวิต ต้องมีเวลาให้ครอบครัว ซึ่งการทำงานกับครอบครัวก็โชคดีที่เราได้เจอกันทุกวัน แล้วก็เพิ่งรู้ว่ามีปัญหาเหมือนกัน ก่อนหน้านี้ก็รู้สึกไม่น่าให้เขามาทำเลย สงสารเขาทำงานหนัก บางทีเขาโกรธตัวเองที่หลงๆ ลืมๆ เครียดตัวเอง ช่วงนี้เลยให้คุณแม่พัก แล้วเขาอยู่ว่างไม่ได้ ต้องมีอะไรทำ เพื่อให้ตัวเองมีคุณค่า แต่ก็ต้องไม่เครียดเกินไป ต้องกำลังดี บางครั้งเราไม่รู้ตัวเหมือนกันนะ ผมเองยังขี้หลงขี้ลืม ทุกคนเป็นหมด แต่พอมาทำงานด้วยกัน ก็เป็นความทรงจำที่ดีนะ

ร้านผมเปิดวันที่ 2 เดือน 2 ปี 2020 เปิดปุ๊บปิดเมืองเลย ตอนแรกอาจจะมองว่าเป็นโชคร้าย จังหวะไม่ดี แต่ตอนนี้กลับมองว่าเป็นข้อดีนะที่เรามาลองเปิดดู เราอยู่กับแง่ลบไม่ได้หรอก เพราะทุกคนก็มีอุปสรรค ยิ่งช่วงโควิด เราได้เห็นบางคนไม่สบายใจ แต่พอมาตรงนี้ เราได้แลกเปลี่ยนกัน แล้วเขาดีขึ้น มันก็ไม่ใช่แค่กาแฟละ มันคือการส่งพลังงานดีๆ ออกไป สมมติเห็นผมวันปีใหม่ แทนที่ว่าทำไมไม่ไปเที่ยว มาชงกาแฟ ผมไม่ได้ชงกาแฟนะ ผมรินความสุขให้คุณอยู่ ผมเลยคิดว่าสิ่งที่ส่งต่อและอยากให้เกิดขึ้นในคลองสาน ที่ทำ “สวนสานธารณะ” นี่ดีมากๆ เลยนะ การสานกัน ผมมองว่า นี่แหละ การแข่งขันมันไปได้ไกล แต่การร่วมมือกัน ไปได้ไกลกว่า ในคำว่าคาเฟ่ ร้านอาหาร ระยะเวลาการเจ๊งมันมีอยู่ สองสามปีก็จะเริ่มแผ่ว แต่อะไรที่อยู่ได้นานกว่านั้นล่ะ อย่างพื้นที่สวนสานธารณะตรงนี้อยู่ในช่วงการเยียวยาและฟื้นฟู กำแพงใหญ่เรื่องของขยะ เราอยู่ในพื้นที่ก็ช่วยเก็บขยะบ้าง มองว่าตรงนี้เราทำเป็นไม้แรก ต่อๆ ไปก็จะมีคนตามมาทำต่อ

ภาพสตรีตอาร์ตตรงกำแพงนี้ อาจจะมีความหมายมากกว่านี้ เมื่อผ่านไปสิบปี เด็กๆ ที่อยู่ตรงนี้ เขาได้โตเป็นผู้ใหญ่ ได้กลับมาเห็นภาพวาดที่เขาวาดไว้ เพื่อให้คนมาเที่ยวชุมชนของเขา ผมว่าตรงนั้นเป็นความสุขลึกๆ ที่อยู่ได้นานกว่าความสุขทุกแบบเลย คือความสุขในการทิ้งอะไรบางอย่างไว้เพื่อส่งต่อ คือหัวใจของ Deep Root เลย แต่เราจะมาตรงนั้นปุ๊บมันเข้าใจยากนะ ผมเลยคิดว่าเริ่มจากความรู้สึกในแต่ละครั้งก่อนดีกว่า ถ้าเขาชอบกาแฟ ผมก็ป้อนเขาด้วยกาแฟ เพราะกาแฟเข้าถึงง่ายกับทุกคน เมื่อก่อนเรามีสภากาแฟคือการพูดคุย แต่สภากาแฟในยุคนี้ ยิ่งโควิดมันเร่งการเติบโตบางอย่างขึ้นมา ทำให้คำว่าสภากาแฟยุคนี้เข้มข้นขึ้น เพราะเราเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น เราถึงได้แบบ พี่ทำงานแกะสลัก โควิดไม่มีงานเลย พี่วาดรูปอยู่บ้าน งั้นมาทำด้วยกันมั้ยล่ะ ผมมีที่ว่าง พื้นที่ตรงนี้เป็นอะไรได้อีกเยอะเลย คนคนเดียวทำอะไรไม่ได้หรอกถ้าไม่ร่วมกันทำ คนในพื้นที่เขาก็รักพื้นที่แหละแต่เขาเห็นทุกวันอาจจะชิน ถ้าคนข้างนอกมาเห็นแล้วบอกต่ออะไรดีๆ ไปเรื่อยๆ อนาคตเป็นอะไรที่เกินจินตนาการได้อีกเยอะ ต่อให้ผมไม่ได้อยู่ตรงนี้แล้วก็ตาม เพราะทุกคนได้เริ่มแล้ว ได้มาเห็นอะไรบางอย่างแล้ว พลังของการบอกต่อมันแรง ปากต่อปาก ทำให้คนมาร้าน ชุมชนรอบๆ ตอนแรกอาจจะบอกว่าตรงนี้แต่ก่อนมั่วสุม แต่พอคนมาถามหาร้านเรา เขาภูมิใจนะ เขาเริ่มรู้สึกว่าบ้านเขาดี คุณมาเดินเที่ยว มาลองทำกิจกรรมบางอย่างที่นี่ มาถ่ายรูป ได้มานั่งเล่น ฟังเสียงธรรมชาติ เสียงนก มีพลังงานดีๆ เป็นพื้นที่ลับที่คุณสามารถบอกต่อสิ่งดีๆ ได้”

ฐานพงศ์ จิตปัญโญยศ
เจ้าของร้าน Deep Root Café

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

6 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago