“พ่อผมเป็นคนสมุทรสงคราม เป็นทหารเรือเก่าอยู่สถานีเรือกรุงเทพ แล้วก็ย้ายมาอยู่อป. (องค์การประมงทหารเรือ) ที่หัวหินนี่ ทีนี้ทหารเรือมันมีเรือเล็ก พ่อก็เอาเรือออกไปหาปลาได้มาเลี้ยงทั้งกองทัพสบาย สมัยนั้นห้องเย็นไม่มี ก็กินสด แล้วก็ทำปลาเค็มตาก นายก็เอาไปให้คนที่กรุงเทพฯ พ่อก็ว่าไม่ต้องทำแล้วพลทหาร ทำทะเล หาเรือให้ลูกซักลำนึง พี่น้องผม 15-16 คนนะ ผมเห็นพ่อออกเรือได้ปลาอินทรีย์ ปลาอะไรเยอะแยะ มันมีความดีใจ มีความชอบทะเล ก็หนีเรียน ถอดเสื้อ โยนกระเป๋า ไปลงเรือเลย ในเรือจะมีฝาห้อง เราก็ลงไปแอบก่อน พอได้ยินเสียงเรือออกเราก็ออกมา ผู้ใหญ่ก็ฮั่นแน่! ขึ้นมาอีกแล้ว! เขาจะถามว่าพรุ่งนี้วันอะไร วันอังคารวันพุธ กลับบ้านก่อน ศุกร์เสาร์อาทิตย์ไปได้ อยู่ทั้งคืนได้ เขาให้เรียนให้จบก่อน พอรับประกาศนียบัตรป.4 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน ก็ดีใจ ได้ออกเรือตามที่ชอบแล้ว
เมื่อก่อนปลามากมาย มันไม่ได้คิดอะไร เจริญเพลิดเพลิน มีกิน พ่อก็ทำ เราได้ออกเรือกับพี่ชาย จนมีเรือ 5 วา 3 ศอก เครื่อง 150 แรงม้า มันสนุก ออกเรือไดหมึกไปปั่นปลาหมึกก็สนุกนะ เดือนหนึ่งออกไปปั่นสองครั้ง ข้างขึ้น ข้างแรม อย่างเร็วเลย 3 ค่ำ หมึกมีหรือไม่มีต้องออกเรือไปก่อน ไปเฝ้าที่ เพราะหมึกมันอยู่เป็นที่ ไม่ใช่วิ่งไปจอดตรงไหนก็ได้ จุดที่เราเคยเจอหมึกเยอะ เรือมี gps เราก็จดไว้เลย ไปหามุมที่จอดเรือได้ ดูทิศทางลม ทิศทางน้ำ โยนสมอรอเลย แล้วหมึกนี่แปลก ถ้ามีขึ้นไฟมานะแป๊บเดียวได้เป็นหมื่นเป็นแสน ผมเคยเจอ มาตอน 9 ค่ำ พอสิ้นแสงตะวัน หมึกลอยขึ้นมาหน้าแหเป็นสิบๆ กิโล ครอบหมึกจนสว่าง พระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นสองร้อยกิโล กองเต็มพื้นเรือเลย
ทีนี้ ทะเลมันเปลี่ยนแปลง จากเคยได้สามสี่ห้าพันบาท สองพันห้ายังไม่ได้ ได้พันกว่าบาท ค่าน้ำมันคืนละร้อยลิตร ลูกจ้างอีกสองคนวันละสามร้อยบาท ออกเรือไป ไม่มีเงินเข้าเลย มีแต่ออก ไม่ใช่ลำเราลำเดียวนะ เป็นทั้งอ่าวเลย ข้างใต้ทะเลปลาน้อย เรือจากระยอง ตราดมา เช้าๆ สะพานปลาหัวหินคับคั่ง เรือแน่นมาก หลังๆ นี้ เขาไม่ได้อะไร ก็ทยอยกลับ ไม่ไหว ผมเองก็เลิกจากเรืออวนลากเป็นเรือปั่นไดนาโมมา 10 ปีได้แล้ว บอกขายเรือก็ยาก ต้องใช้เวลา จนเรือขายได้ ซึ่งก็โชคดี เหมือนจะไหวตัวทัน เพราะตอนยุคคสช.ที่ลงมาตรวจสอบการทำประมงผิดกฎหมาย สั่งให้เรือจอดนิ่ง ตอนนั้นผมมีใบประกอบการประมงใช้เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ก็จะโดนบล็อก แต่ผมเลิกไปก่อน มาขึ้นบก เปลี่ยนอาชีพ ทำสวนตัดต้นไม้ ทำงานรปภ.แต่ก็ไม่ใช่งานประจำ เขาเรียกเราถึงได้ไปทำ แล้วก็ช่วยพี่ชายทำปลาเค็มมั่ง ส่งปลามั่ง เวลามีเรือเข้าก็ไปเอามาจากเรือ ถ้าไม่มีเรือเข้าอย่างปลาทูแขกเอามาจากห้องเย็นจากทะเลใหญ่ลำนึง แต่ใจยังอยากลงเรืออยู่
ความที่ใจเราชอบในเอกลักษณ์ของเรือ แล้วเห็นพี่ชายคนโตทำเรือจำลอง เราชอบก็เลยทำตาม ช่วงเรือออกไม่ได้ ฤดูมรสุมเข้า เจอไม้ก็เอาไม้มา เริ่มแรกก็ไม้นุ่นก่อนเพราะมันนิ่ม แกะง่าย ใช้ไม้เนื้ออ่อนพวกไม้กระถิน หางนกยูงเนื้อสวยมาก เอามาแบ่งเส้นผ่านศูนย์กลาง เปิดหน้าไม้แล้วก็ดัดลวดโค้งๆ ใช้เครื่องมือสว่านบ้าง เครื่องมือไฟฟ้าบ้าง แล้วแต่จังหวะงาน ส่วนแรกก็ฝานก่อน พอมีศูนย์กลางเราก็นึกภาพเห็นละว่าจะไปแบบไหน ก็ค่อยๆ แกะไม้ทั้งท่อนไปเรื่อยๆ เราทำเรือตังเก เรือประมงจำลอง เรือสินค้าบรรทุกคอนเทนเนอร์แบบเรือนอกก็ทำได้ แต่เรือตังเกมีสีสัน เป็นเอกลักษณ์ ผมชอบทำ เราเล่าเรื่องได้ เป็นเรือจับปลาฝูง ปลาทู ปลาหลังเขียว ปลาโอที่ฝรั่งเขาเรียกปลาทูน่า ลำแรกที่ทำจำไม่ได้เมื่อไหร่ ตอนนั้นยังไม่มีสื่อโทรศัพท์แบบนี้ เด็กแถวบ้านเห็นก็บอก ลุงทำให้ผมมั่ง ก็ทำเล่นหลากหลายไป จากทำเรือเล่นก็ขยายมามีเครื่องมือเครื่องไม้ เรือจำลองผมแล่นได้จริงนะ ตอนแรกผมลองใส่ถ่านดูก่อน พอได้แล้วก็ขยับ สั่งซื้อชุดรีโมท ชุดมอเตอร์ มาติดตั้ง เดี๋ยวนี้สั่งซื้ออุปกรณ์จากลาซาด้ามาง่าย หาได้หมด อย่างใบพัด สั่งมาจากจีน ญี่ปุ่น น้องชายผมทำงานบริษัทอยู่กรุงเทพฯ เขาเก่ง เขาก็สั่งซื้อให้ ผมก็มาติดตั้ง ลำหนึ่งถ้าใช้เวลาทำทุกวัน 20-25 วันเสร็จแน่นอน
ช่วงระหว่างโควิดเมื่อจะสิ้นปี 2564 นายกหนุ่ย (นพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน) มาเยี่ยมชุมชน เขามาเห็นผมทำเรือจำลอง ก็ถามว่า ขายมั้ย ผมก็บอก ขายครับ แต่ไม่ใช่แค่นี้นะ เดี๋ยวผมทำให้วิ่งได้ด้วย ติดตั้งเสร็จแล้วผมก็ไปให้เขาที่ทำงาน ถ้าเรือเปล่าๆ ไม่มีวิ่งด้วย ก็เฉยๆ นะ ที่มาขายได้คือนายกหนุ่ยซื้อเป็นลูกค้าคนแรก แล้วมีสื่อมาทำรายการ เทศบาลฯ ช่วยประชาสัมพันธ์ ก็สั่งตามเว็บ ผมไม่ได้ไปวางขาย ก็ขายดี เดือนหนึ่งได้ 7-8 ลำ แล้วก็ดรอปไป ถ้าขายได้เดือนละลำสองลำก็โอเค ลำที่วิ่งได้ผมขายหมื่นห้า ช่วงโควิดก็ทำก๊อกๆ แก็กๆ ไป สถานการณ์การเป็นอยู่มันยากอยู่แล้ว พอมีโควิดก็ยิ่งยากขึ้น อย่างน้องทำงานโรงแรมก็ต้องออกมาทำสเต็กขาย ผมอายุ 59 แล้ว การศึกษาป.4 ทำงานเป็นยามประจำไม่ได้เพราะวุฒิไม่ถึง ผมก็ทำเรือจำลองดีกว่า”
มนตรี คงยนตร์
ตัวแทนชุมชนศาลเจ้าพ่อเสือ
ภูมิปัญญาเรือประมงพื้นบ้านจำลองหัวหิน
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…