ผมและน้องไม่มีครอบครัว ก็เลยคิดไม่ออกเหมือนกันว่าหมดรุ่นเราแล้วจะเอายังไง ก็อาจต้องปิดไปนะถ้าไม่มีใครมาสานต่อ

“กาดบริบูรณ์ปราการเป็นหนึ่งในตลาดแรกๆ ของลำปาง ที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้า คนลำปางจะมาซื้อพวกเสื้อผ้า ชุดนักเรียน ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องมือการเกษตร ไปจนถึงเบ็ดแหที่นี่ เขาเรียกกาดแห่งนี้ว่า ‘กาดมืด’ เพราะตลาดมันอยู่ในพื้นที่หลังตึกแถวกลางเมืองโดยมีโครงสร้างหลังคามาคลุมทับอีกที เป็นตลาดในร่มที่แรกของเมือง ได้ยินมาจากเตี่ยว่าแต่เดิมตลาดนี้ทันสมัยที่สุดในเมืองแล้ว แต่ความที่มันดูมืดๆ คนเลยเรียกติดปาก

ผมขายก๋วยเตี๋ยวที่นี่กับน้องสาวมาสามสิบกว่าปีแล้ว รับกิจการต่อมาจากเตี่ย ซึ่งเตี่ยเปิดร้านมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2500 เตี่ยรับกิจการมาจากอากงอีกทอด อากงกับเตี่ยมาจากเมืองจีน มาถึงลำปางก็ขายก๋วยเตี๋ยวเป็นอาชีพ ร้านของทั้งอากงและเตี่ยไม่มีชื่อ พอผมเปิดร้าน ผมก็เลยไม่คิดจะตั้งชื่อ คนลำปางก็จะรู้กันว่าก๋วยเตี๋ยวเจ้าเก่าในกาดบริบูรณ์ บางคนก็เรียกก๋วยเตี๋ยวร้อยปี เพราะนับอายุมาตั้งแต่รุ่นอากง

เมื่อก่อนขายดีมาก เพราะอย่างที่บอกว่าตลาดแห่งนี้เคยเป็นศูนย์การค้า แถมยังเป็นคิวรถไปอำเภอแจ้ห่มและอำเภออื่นๆ คนก็เลยมารวมกันที่นี่ จนภายหลังเริ่มมีตลาดกระจายไปทั่วเมือง แถมยังมีห้างสรรพสินค้าอีก พ่อค้าแม่ค้าก็เลยพากันไปขายที่อื่น ทุกวันนี้ก็เลยดูวังเวงอย่างที่เห็น แต่ความที่ผมขายมานานเลยมีลูกค้าประจำเยอะ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นคนลำปางในตัวเมือง คือเขาไม่ได้มาตลาดนี่เพื่อซื้อของ ส่วนหนึ่งมาก็เพื่อมากินก๋วยเตี๋ยวร้านผม และร้านที่อยู่ติดกันในละแวกนี้

ผมเริ่มขาย 8 โมงเช้าไปจนถึง 4 โมงเย็น เมื่อก่อนตอนตลาดยังรุ่งเรือง พอตกบ่ายของก็หมดแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ปิดตามปกติ ยิ่งช่วงโควิดนี่ลำบาก คนไม่ค่อยออกจากบ้านกัน แล้วผมกับน้องก็อายุมากแล้ว ให้ทำแบบสั่งอาหารออนไลน์ก็ทำไม่เป็น อาศัยว่ามีลูกค้าประจำมากินบ้าง แต่ช่วงนี้ก็กลับมาดีขึ้นหน่อย

เมนูที่ลูกค้าสั่งบ่อยคือบะหมี่เกี๊ยวหมูแดงแห้ง มีนักข่าวชอบมาถามว่าก๋วยเตี๋ยวร้านผมพิเศษยังไง ผมก็บอกว่าไม่รู้ มันก็เหมือนกันหมดนั่นแหละครับ (หัวเราะ) ผมเรียนห่อเกี๊ยวและลวกเส้นมาจากเตี่ย หลายๆ ร้านในลำปางที่เป็นลูกหลานคนจีนก็มีสูตรคล้ายๆ กัน ผมจึงให้คำตอบไม่ได้ แค่ว่าผมกับน้องตั้งใจทำ ใช้ของสด และขายไม่แพง ขนาดทุกวันนี้ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ผมก็ยังคงราคาไว้เลย เพราะเห็นว่าลูกค้าหลายคนก็ลำบาก ช่วยกันได้ก็ช่วยกันไป

ผมและน้องไม่มีครอบครัว ก็เลยคิดไม่ออกเหมือนกันว่าหมดรุ่นเราแล้วจะเอายังไง ก็อาจต้องปิดไปนะถ้าไม่มีใครมาสานต่อ แต่ตอนนี้พวกเรายังแข็งแรงดีอยู่ ได้พูดคุยกับลูกค้าประจำ และได้คุยกับพ่อค้าแม่ค้าในตลาดที่เหลือไม่มากแล้ว ก็มีความสุขดี ใจหายแหละครับที่เห็นตลาดมันซบเซา แต่ผมก็ไม่รู้ทำยังไงเหมือนกัน ก็ขายของเราต่อไปให้ดีก็พอ”

ภูวดล โกศลศาสตร์
เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวเจ้าเก่าในกาดบริบูรณ์ปราการ

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

1 week ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago